 |
ส่วนหนึ่งที่น่าพิจารณาในกรณีนี้คือ สนพ."ช" แสดงการยอมรับโดยพฤตินัยว่า ผลงานเรื่องดังกล่าวเกิดจากการลอกเลียน ด้วยการเสนอค่าชดเชยให้จำนวนหนึ่ง แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ต้องการ
โดยหลักการทั่วๆไปแล้ว กรณีอย่างนี้มีเป้าหมายหลักอยู่แค่ว่า 1 ประกาศให้สังคมรู้ว่าใครคือเจ้าของผลงานที่แท้จริง ซึ่งเมื่อได้คำตอบที่ชัดเจนแล้ว จะเกิดสิ่งใดขึ้นกับผู้ลอกเลียนก็ค่อยว่ากันไปตามกระบวนการในภายหลัง 2 ผลตอบแทนที่เจ้าของที่แท้จริงพึงได้รับจากผลงานชิ้นนั้น จะเป็นสิ่งใดก็ว่ากันไปตามอาจจะเป็นชื่อเสียง, ทรัพย์สิน หรือ ฯลฯ เป็นจำนวนหรือปริมาณเท่าใดก็แล้วแต่ความเหมาะสมของเงื่อนไขต่างๆอันเกี่ยวข้องกับกรณี
ซึ่งทั้งสองข้อ ก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปตามแต่กรณีนั้นๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการของทุกฝ่าย ซึ่งก็ไม่รู้ว่าควมต้องการของนักเขียน ซ. กับ สนพ.บ ในกรณีนี้เป็นอย่างไร จะนอกเหนือจากสองข้อดังกล่าว หรือไม่ตรงกันในรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง แต่นั่นก็เป็นสิทธิอันพึงกระทำได้ของทั้งคู่
แต่สิ่งที่พึงตระหนักก็คือ ตราบใดที่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนตามกฎหมายว่า ใคร คือเจ้าของผลงานที่แท้จริง ย่อมไม่สามารถไป "บังคับ" ให้เขากระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับสินค้าของเขาได้ เว้นแต่ว่าเขาจะเต็มใจกระทำเอง ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนหรือการเก็บคืนสินค้า
โดยแนวคิดนั้น ถ้าเขารู้เช่นนี้แล้วยังอยากขาย ก็ให้เขาขายต่อไป เจ้าของที่แท้จริงค่อยมาเรียกผลประโยชน์ตอบแทนภายหลังจากได้ข้อพิสูจน์ตามกฎหมายชัดเจนแล้ว
ลองสังเกตในต่างประเทศดูสิ กรณีอย่างนี้เจ้าของที่แท้จริงจะออกมาดำเนินการภายหลังจาก "ตลาด" ของสิ่งนั้นๆวายลงแล้ว เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ชัดเจนในขณะหนึ่ง และผลตอบแทนอันพึงได้ในอนาคต
จากคุณ |
:
หนุ่มพเนจร
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ธ.ค. 53 10:52:27
A:124.121.12.218 X: TicketID:129789
|
|
|
|
 |