 |
^^ แบบคุณพระนายไวยก็ถูกครับ แต่หากเป็นการเลื่อนตามสาย ก็ย่อมเป็นหม่อมเจ้าได้ครับ
ที่บอกแบบนี้ก็เพราะ ในช่วงรัชกาลที่ ๕ พระยศเจ้านายไม่นิ่ง มีการสถาปนาพิเศษบ่อยครั้ง
เหตุผลหลักคือ ก่อนรัชกาลที่ ๕ หลานเธอ ไม่ว่าจะแบบใด ก็เป็นหม่อมเจ้าหมด ครับ ไม่ว่าจะเป็น เจ้าฟ้าชายเสกสมรสกับหม่อมเจ้า พระองค์เจ้า หญิง หรือจะเป็น เจ้าฟ้าชาย เสกสมรสกับสามัญชนก็ตาม หลานเธอเป็น หม่อมเจ้าเสมอ
พระยศพระองค์เจ้าชั้นสอง (หมายถึง ชั้นต่ำกว่าพระองค์เจ้า ที่เป็นพระราชโอรสธิดาพระมหากษัตริย์) นั้น เป็นสกุลยศพิเศษ ใช้สถาปนาเลื่อนพระยศเป็นพิเศษ หรือเป็นพระยศสำหรับพระราชโอรสธิดาของวังหน้า (พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า) น่ะครับ
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็ทรงออกพระบรมราชโองการ สถาปนาพระโอรสธิดาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าที่ประสูติแต่พระภริยา ที่มาจากตระกูลสูง หรือ พระภริยาเจ้า ชั้นชายา หรือ พระชายา ให้เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
ต่อมา มีการสถาปนาเพิ่มเติม และด้วยความสับสน ในพระยศ จึงมีพระบรมราชโองการให้ พระโอรสธิดาของพระเจ้าวรวงศ์เธอ เหล่านั้น มีพระยศเป็นหม่อมเจ้า
ดังนั้น หากเป็นสมัยต่อๆมา หากเข้าทำนองว่า เจ้าฟ้าชาย+หม่อมเจ้า,พระองค์เจ้าหญิงแล้ว พระโอรสธิดาย่อมเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า และรุ่นต่อไปมียศเป็นหม่อมเจ้า โดยปริยาย
ตัวอย่างเช่น พระโอรสในสมเด็จฯเจ้าฟ้าฯกรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล ซึ่งประสูติหลังจากกฎต่างๆนิ่งแล้ว พระโอรส จึงเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า และ ชั้นต่อมา ก็เป็นหม่อมเจ้า โดยปริยาย โดยไม่ต้องมีพระบรมราชโองการให้เป็นหม่อมเจ้า
สรุปง่ายๆ สำหรับปัจจุบัน หากพระบิดาเป็นเจ้าฟ้า พระมารดาเป็นเจ้าหญิง พระโอรสธิดาย่อมเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ชั้นต่อมาเป็น หม่อมเจ้า โดยอัตโนมัติครับ
จากคุณ |
:
natthaset
|
เขียนเมื่อ |
:
5 ม.ค. 54 23:06:44
|
|
|
|
 |