เขาเรียกว่า Metahpor หรือการอุปมาอุปมัย โดยการเอาสิ่งสองสิ่งที่แตกต่างกันมาเปรียบเที่ยบเคียงกัน (Analogy) ได้อย่างลงตัว และสร้างความหมายใหม่หรือสังกัป(concept) หรือความรู้ใหม่ขึ้นมาโดยมีคำเปรียบเทียบเชื่อมโยงระหว่างสองสิ่ง ชุดของการเปรียบเทียบนี้เรียกว่า การเปรียบเปรยหรือ Metaphor ซึ่งเป็นความรู้เชิงสัญลักษณ์ (Symbol) หรือความรู้ภาษาภาพรวมยอด โดยสองสิ่งที่นำมาเปรียบเทียบกันนั้น มักเป็นตัวแทนของภาพรวมแสดงนัยยะสำคัญหรือความหมายที่กว้างกว่าตัวมัน (abstract) ยกตัวอย่างการเปรียบเปรย (Metaphor) ของสองสิ่ง (Analogy) เช่น เสียงแหลมราวคมมีด ดังที่ จขกท กล่าวว่าทั้งสองสิ่งนี้ไม่อาจเปรียบเทียบกันได้เลย
-- เสียงแหลม = 1 สิ่ง(Entity) -- คมมีด = 1 สิ่ง -- ราว คือตัวเชื่อมของสองสิ่ง
ภาพความหมายที่เราได้คือ นักร้องคนนี้มีเสียงสูงมาก จนไม่สามารถหาเกณฑ์มากำหนดให้เข้าใจได้ การเปรียบเทียบกับคมมีดจะให้ความเข้าใจได้ดีกว่า
หรือ ความรักเหมือนกาแฟขม
-- ความรัก = 1 -- กาแฟขม = 1 -- เหมือน = ตัวเชื่อมโยงระหว่างสองสิ่งหรือสองความคิด
ปรัชญาที่สนใจอภิปรายความรู้เชิงเปรียบเปรยนี้ คือ ปรัชญาวิเคราะห์(Philosophical analysis) โดยเห็นว่าภาษาคือสื่อของความรู้ การศึกษาเรื่องภาษาก็คือการศึกษาและเข้าใจความรู้นั้นเอง การวิเคราะห์ภาษา (Linguistic Philosophy) ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งของการเข้าถึงความรู้
รากเหง้าของ Metaphor มีมาตั้งแต่ Plato ในเรื่อง Form และ Entity ซึ่งเป็นภาพฉายสะท้อนกันและกัน เหมือนกับภาษาที่สะท้อนให้เห็นกันและกัน
ความน่าสนใจในภาษา Metahor น่าสนใจยิ่งในการใช้ศึกษาประโยคเปรียบเทียบของวรรณกรรม ตำนาน ผญา ท้องถิ่น การค้นพบโบราณวัตถุ เมืองทรอย หรือแม้กระทั่งปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ก็ล้วนเปิดเผยถึงความมีอยู่ที่แฝงเร้นไว้ทั้งสิ้น
-- ปู่โสม = 1 -- ทรัพย์ = 1 -- เฝ้า = การเชื่อมโยงระหว่างความมีอยู่สองสิ่ง
จากนัยยะดังกล่าวความมีอยู่ หรือความรู้จึงไม่จำเป็นจะต้องมีหลักฐานแสดงความมีอยู่จริง เพียงแค่นัยยะของความหมายของคำก็สามารถสื่อต่อความรู้ไปได้อย่างไม่รู้จบ ประวัติศาสตร์จึงไม่สมควรเรียนเฉพาะเรื่องราวที่มีหลักฐานชัดแจ้ง แต่คำบอกเล่าท้องถิ่น เรื่องสิ่งลี้ลับศักดิ์สิทธ์ (Myth) ล้วนเป็นเรื่องราวบอกเล่าถึงประวัติศาสตร์มนุษย์ที่มีนั้ยยะสำคัญ ข้อเท็จจริงที่สูญหาย หรือมีอยู่จริงหรือไม่ ไม่ใช่สิ่งสำคัญ ความสำคัญอยู่ที่มนุษย์ให้ความหมาย (Meaning) อะไรไว้ และความหมายนี้แหละคือ สิ่งที่จะบอกทิศทางหรืออนาคตของมนุษย์ ตามนัยยะดังกล่าวหลักฐานทางประวัติศาสตร์จึงอาจเป็นเรืองรอง แต่จิตสำนึกร่วมของความเป็นมนุษย์เป็นเรื่องใหญ่กว่า เช่นเดียวกับตัวเชือมของของสองสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ ก็สื่อความหมายใหม่ได้โดย symbiosis เข้าด้วยกัน
ในทางจิตวิเคราะห์ Sigmond Froud ใช้ภาษา Metaphor ในงานของเขา ซึ่งรากเหง้าแท้จริงมาจากปรัชญาวิเคราะห์ทางภาษาภาพนั่นเอง
ปล อุปมาอุปมัย น่าจะตรงกับคำว่า Metaphor มากที่สุด ในขณะที่ Analogy น่าจะตรงกับ เปรียบเทียบ เปรียบเปรย
แก้ไขเมื่อ 14 ม.ค. 54 00:50:05
แก้ไขเมื่อ 14 ม.ค. 54 00:47:01
จากคุณ |
:
นกเถื่อน
|
เขียนเมื่อ |
:
14 ม.ค. 54 00:38:00
|
|
|
|