Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
พบครูภูมิปัญญาไทยทั่วประเทศเหลือเพียง 315 คน ติดต่อทีมงาน

วธ.13 ม.ค.- กระทรวงวัฒนธรรม เร่งสำรวจข้อมูลครูภูมิปัญญาไทย หลังถูกลืมจากสังคมไทย  ด้านสำนักเลขาธิการสภาการศึกษา เผยตัวเลขครูภูมิปัญญาที่ถูกยกย่องทั่วประเทศ เหลือเพียง 315 คน โดยสาขาโภชนาการ  น่าเป็นห่วงที่สุดเหลือเพียง 8 คน

นายสมชาย  เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)  กล่าวถึงกรณีที่ นายมนัส ปานขาว ครูภูมิปัญญาไทย ในฐานะปราชญ์ชาวบ้านด้านความเชื่อท้องถิ่น เปิดเผยเนื่องในโอกาสวันที่ 16 มกราคม เป็นวันครูแห่งชาติว่า  ครูภูมิปัญญาถูกลืมจากระบบคำว่าครู โดยเฉพาะหน่วยงานราชการไม่ให้ความสำคัญ ว่า ยอมรับว่าครูภูมิปัญญาถูกลืมจากสังคมจริง ซึ่งมีความเป็นห่วงเรื่องนี้ โดยเคยหารือกับ  ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส  ซึ่งแนะนำว่ากระทรวงฯ ควรรื้อฟื้นครูภูมิปัญญาให้กลับมาเป็นที่ยอมรับของสังคม  เช่น จัดทำแผนที่ครูภูมิปัญญา เพื่อส่งเสริมให้เป็นเส้นทางภูมิปัญญา ให้นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว ได้ไปเรียนรู้  นอกจากการสอนในโรงเรียนเป็นบางชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ครูภูมิปัญญาได้ถ่ายทอดความรู้ และเป็นที่รู้จักของสังคมมากขึ้น  อย่างไรก็ตามขณะนี้ได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เร่งสำรวจข้อมูลครูภูมิปัญญาไทยไปแล้วว่าขณะนี้มีจำนวนมากน้อยเพียงใด

ด้าน ดร.นพมณฑล สิบหมื่นเปี่ยม นักวิชาการศึกษา สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กล่าวว่า สภาการศึกษาได้ยกย่องครูภูมิปัญญาไทยทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี 2544-2552 มาแล้ว จำนวน 6 รุ่น รวม 341 คน เสียชีวิตแล้ว 26 คน เหลือ 315 คน  จำแนกตามสาขา เหลือสถิติครูภูมิปัญญาไทย สาขาเกษตรกรรม 49 คน  สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม 25 คน  สาขาการแพทย์แผนไทย 30 คน  สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 26 คน  สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน 23 คน สาขาศิลปกรรม 93 คน  สาขาภาษาและวรรณกรรม 30 คน สาขาปรัชญา ศาสนา และประเพณี 31 คน และสาขาโภชนาการ เหลือเพียง 8 คน เท่านั้น

ขณะที่ นายแดง มาราศรี อายุ 62 ปี ครูภูมิปัญญาไทยด้านการฝึกควายไถนาและฝึกเกษตรกรไถนา โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ จ.สระแก้ว  กล่าวว่า  ครูภูมิปัญญาไทยด้านนี้ถูกลืมไปแล้วกว่าร้อยละ 70  เนื่องจากเกษตรกรหันไปใช้เทคโนโลยี  เช่น รถไถนา แทนการใช้ควาย  ส่งผลให้ภูมิปัญญาด้านนี้ลบเลือนไปจากความทรงจำของผู้คน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงครูภูมิปัญญาไทย  โดยเฉพาะครูสอนควาย  ครูสอนไถนาว่าจะไม่มีผู้สืบทอดและหายไปจากสังคมไทย  จึงทรงมีพระราชดำริตั้งโรงเรียน "กาสรกสิวิทย์" ขึ้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว เพื่อใช้ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการทำนา การใช้แรงงานควายเหมือนสมัยโบราณ ให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ .- สำนักข่าวไทย



http://news.impaqmsn.com/articles.aspx?id=390106&ch=gn1

จากคุณ : หมาป่าดำ
เขียนเมื่อ : 13 ม.ค. 54 17:00:17




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com