 |
ตอบคุณหมอดู
มันเป็นเรื่องของความนิยมอ่านแบบอักษรนำ
คำที่พยางค์หน้ามีรูปสระกำกับตามหลักไม่ต้องอ่านอย่างอักษรนำ แต่ยังนิยมอ่านแบบอักษรนำ เช่น ประโยชน์ (ปฺระ-โหยด), ประวัติ (ปฺระ-หวัด), ดิลก (ดิ-หฺลก), ดิเรก (ดิ-เหรก), บุรุษ (บุ-หฺรุด), บัญญัติ (บัน-หยัด)
คำที่แผลงจากภาษาเขมร ซึ่งพยัญชนะต้นเป็นอักษรควบ พยางค์หลังจะออกเสียงวรรณยุกต์ตามเสียงวรรณยุกต์ของคำเดิม เช่น ตรวจ แผลงเป็น ตำรวจ (ตำ-หฺรวด) ปราบ แผลงเป็น บำราบ (บำ-หฺราบ) ตริ แผลงเป็น ดำริ (ดำ-หฺริ) ตรัส แผลงเป็น ดำรัส (ดำ-หฺรัด)
คำบางคำที่ไม่ได้มาจากภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาเขมรก็มักจะมีการออกเสียงแบบอักษรนำ เช่น ยุโรป ออกเสียงเป็น ยุ-โหรบ เขม็ง ออกเสียงเป็น ขะ-เหม็ง
ภาษาไทยนั้นง่ายนิดเดียว
จากคุณ |
:
เพ็ญชมพู
|
เขียนเมื่อ |
:
19 ม.ค. 54 14:51:19
|
|
|
|
 |