การทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิช่วงเดือนสิงหาคมปี 1945 ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญที่บีบให้จักรรวติญี่ปุ่นยอมแพ้ฝ่ายสัมพันธมิตรและเป็นการปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างสมบูรณ์ แต่ความจริงแล้ว ประวัติศาสตร์ไม่ได้ตั้งใจถูกเขียนขึ้นแบบนี้ วันนี้ผมจะเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังว่า ถ้าสหรัฐอเมริกาไม่มีระเบิดปรมาณู แล้วสงครามโลกจะจบแบบไหน เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปลายปี 1941 เพราะจักรวรรติญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ได้มีการพูดคุยกันพันธมิตรประเทศอื่น ๆ ในการทำสงครามกับฝ่ายอักษะ จนได้ข้อตกลงว่าพันธมิตรจะเอาชนะเยอรมันกับอิตาลีให้ได้ ก่อนจะเบนเข็มมาเผด็จศึกกับญี่ปุ่น นี่คือสาเหตุหนึ่งที่สงครามในยุโรปจบก่อน เป้าหมายแรกของกองทัพอเมริกาในสงครามภาคพื้นแปซิฟิกคือแย่งหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรที่ตกเป็นของญี่ปุ่นคืนมา เริ่มจากกัวตัลคาเนา นิวกีนี โซโลม่อน กวม ไซปัน ไปจนถึงฟิลิปินส์ ทหารญี่ปุ่นแม้นจะมีอาวุธที่ทันสมัยน้อยกว่าฝ่ายอเมริกาหรือฝ่ายเยอรมันแต่ด้วยเลือดนักรบบูชีโด ที่ปลูกฝังให้ไม่รู้จักคำว่าแพ้ ทำให้การสู้รบของทั้ง 2 ฝ่าย เป็นไปอย่างดุเดือด อัตรส่วนของทหารญี่ปุ่นที่ยอมแพ้แทบจะไม่มี เพราะทหารทุกนายล้วนเลือกที่จะต่อสู้จนตัวตาย ด้านยุโรปทหารสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา โซเวียต ได้ทำสงครามอันหนักหน่วงกับเยอรมนีจนได้รับชัยชนะราวเดือนพฤษภาคมปี 1945 ทีนี้เป้าความสนใจจึงหันมาที่ญี่ปุ่นตามแผนการที่วางเอาไว้ ประธานาธิปดี ทรูแมนจึงได้เรียกประชุมนายพลระดับสูงต่าง ๆ ที่ประชุมมีความเห็นแตกออกเป็น 2 ฝ่าย โดยฝ่ายกองทัพเรือสนับสนุนแผนปิดล้อมญี่ปุ่น พร้อมกับทิ้งเบิดอย่างหนักตามเมืองต่าง ๆ มีจุดประสงค์เพื่อบีบให้พลเรือนญี่ปุ่นอดตายจนต้องยอมแพ้ในที่สุด แต่ฝ่ายกองทัพบกค้านว่าแผนการนี้จะทำให้สงครามยืดเยื้อออกไปมากและก็ไม่มีหลักค้ำประกันใด ๆ ที่ญี่ปุ่นจะยอมแพ้ จึงได้เสนอแผนการยกพลขึ้นบกบนเกาะญี่ปุ่น ท้ายที่สุดประธานาธิปดีทรูแมนได้ตัดสินใจให้ดำเนินแผนการบุกเกาะญี่ปุ่น แผนการบุกเกาะญี่ปุ่นมีชื่อทางการว่าปฎิบัติการดาวน์ฟอล โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกมีชื่อว่าปฎิบัติการโอลิมปิก เป็นปฎิบัติการยกพลขึ้นบกบนเกาะคิวชู ซึ่งตั้งอยู่ตรงด้านตะวันออกที่สุดและเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในประเทศญี่ปุ่น ทหารอเมริกันตั้งใจจะเข้ายึดตัวเกาะเพียง 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยระหว่างทำการรบ จะใช้กองกำลังสนันสนุนที่เข้มแข็งทางอากาศ ซึ่งมีฐานอยู่ที่เกาะโอกินาวา แผนการนี้ถูกกำหนดให้วันที่ 1 พฤศจิกายน 1945 เป็นวันออกตี หลังจากยึดเกาะคิวชูได้แล้ว ก็จะเข้าสู่แผนการช่วงที่ 2 ซึ่งมีชื่อเรียกว่าปฎิบัติการโคโรเนต ปฎิบัติการนี้ตั้งใจจะยกพลขึ้นบกที่ ๆ ราบคันโต อันเป็นที่ตั้งของเมืองโตเกียว หมายจะเผด็จศึกในครานี้ การยกพลครั้งนี้จะได้รับการสนับสนุนกำลังทางอากาศจากเกาะคิวชูที่ถูกยึดได้ก่อนหน้า แผนการนี้ถือได้ว่าจะเป็นการยกพลครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เท่าที่โลกเคยพบเห็นมาก่อน พูดง่าย ๆ ก็คือใหญ่กว่าการยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดีที่ประเทศฝรั่งเศสถึง 2 เท่า กองทัพกำหนดให้วันที่ 1 มีนาคม 1946 เป็นวันออกตี มีการประมาณการณ์ถึงความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น ว่าทหารอเมริกันจะเสียชีวิตจากการรบราว 1 ล้านนาย และจะมีทหาร รวมถึงประชาชนชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้สูงถึง 10 ล้านคน ความสูญเสียที่สูงขนาดนี้ ไม่ได้เกินเลยความจริงเลยนะครับ เพราะไม่เพียงแต่ทหารญี่ปุ่นที่จะต่อต้านผู้รุกรานเท่านั้น ประชาชนทั่วไปก็จะพร้อมใจลุกฮือขึ้นมาสังหารชาวต่างชาติที่หมายจะยึดประเทศพวกเขา เป็นเคราะห์ดีของทหารอเมริกันกับประชาชนชาวญี่ปุ่นที่อยู่นอกเมืองฮิโรชิมากับนางาซากิ ที่ระเบิดปรมาณูได้ผลิกฉากจบของสงครามโลกครั้งที่ 2 ปฎิบัติการดาวน์ฟอลหรือแผนการบุกเกาะญี่ปุ่นจึงเป็นแผนการที่มีขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งไม่เคยเกิดขึ้น
จากคุณ |
:
หูเจินฟา
|
เขียนเมื่อ |
:
10 ก.พ. 54 20:40:31
|
|
|
|