 |
ฟูโกต์ไม่ได้เป็นเป็นนักปรัชญาธรรมดา งานของเขาเป็นงานเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์และสังคมวิทยาอย่างลึกซึ้ง
ฟูโกต์พูดถึงความสัมพันธ์ของ"อำนาจและความรู้"ของปัจเจกที่ความรู้มีอำนาจ
นอกจากนั้น ความรู้(ดีและเลว)ยังมีอำนาจควบคุมพฤติกรรมตนเอง ในเรื่องกามารมณ์ จริยธรรม, ความเป็นคนอื่นที่แปลกแยกจากกลุ่มสังคม...(individuals will police themselves)
ในหนังสือ"Discipline and Punish" ฟูโกต์ยกตัวอย่างนักโทษทั้งหลาย เมื่อนำไปขังในห้องขังแบบวงกลม(panopticon) ที่เปิดด้านหน้าหากัน ฝั่งตรงข้ามจะเห็นอีกฝ่ายตลอดเวลา ปรากฏว่านักโทษทุกคนจะมีความประพฤติเรียบร้อย คุมตัวเองได้ดี (ดีกว่านำไปขังเดี่ยว)
เพราะรู้ว่ามีคนอื่นรู้เห็น เฝ้ามองตนอยู่
ละครไทย ผู้ผลิตเขาดูถูก หรือรู้ว่า ส่วนใหญ่แล้วไม่มีผู้ชมคนรู้เท่าทัน ไม่มีสติปัญญาอันเข้มแข็ง ตราบใดที่ยังมีratingดีก็ทำออกมาขายต่อไป ขณะเดียวกัน ตัวเองก็ไม่ต้องใช้ปัญญาทำละครที่มันยากกว่านี้เช่นกัน
ละครน้ำเน่าคือผลผลิตที่ตอบสนอง-สมยอมกันเองแบบ"ปัญญาทึบและความอ่อนแอ"ต่างหาก...ขายเปลือกคนสวยคนหล่อและอารมณ์ เดินเรื่องให้เร้าใจ ไม่มีอุดมการณ์แฝงเร้นสูงส่งสมบูรณ์ใดๆ ที่จะมอบอำนาจแห่งความรู้ให้กับผู้ชมทั้งนั้น
คือคำตอบ เชิงCDA หากเล็งเอาวาทกรรมของฟูโกต์เป็นตัวแบบ
จากคุณ |
:
ขามเรียง
|
เขียนเมื่อ |
:
25 ก.พ. 54 11:12:53
|
|
|
|
 |