 |
คห.97
วรรณคดีเรื่องดังกล่าว รวมไปถึงวรรณคดีเรื่องอื่นๆ ที่เขาพิมพ์มาให้เด็กๆที่เป็นนักเรียนอ่าน วัตถุประสงค์ของเขาคือไม่ได้ให้เด็ก สักแต่ว่า"อ่าน"เพียงอย่างเดียว แต่เขานำมาฝึกสอน เพื่อให้เด็กได้"เรียนรู้" ในทักษะต่างๆเช่น ฝึกสอนให้เด็กศึกษาโดยผ่านกระบวนการ คิด วิเคราะห์ พิจารณา รวมไปถึงการฝึกความสามารถในการ"แยกแยะ" เรื่องถูกผิด ถึง จริยะธรรม ศีลธรรม วัฒนธรรมในยุคสมัยนั้นๆ(ร่วมสมัยกับวรรณคดี) รวมไปถึงอรรถรส และเกร็ดความรู้อื่นๆที่มีอยู่ในวรรณคดีเรื่องนั้นๆ โดยที่มีครูเป็นผู้ ฝึกสอน คอยควบคุมและ ชี้แนะ นี่คือวัตถุประสงค์ในการนำวรรณคดีเรื่องนั้น(และเรื่องอื่นๆ)มาให้เด็กนักเรียนอ่าน ไม่ได้ปล่อยให้เด็กอ่านกันไปแบบหลักลอยโดยปราศจากหลักยึด
เมื่อนำมาเทียบกับ นิยาย"ตลาดๆ"ในสมัยปัจจุบัน เด็กและเยาวชนสามารถหาประโยชน์ อะไรกับตัวหนังสือเหล่านั้นได้บ้าง ถ้าเปนไปได้กรุณาเปรียบเทียบให้ฟังเป็นวิทยาทานหน่อยเถิด
ปล. แผนการเรียนการสอน ว่าจะนำวรรณคดีเรื่องใดหรือนวนิยายเรื่องใดนั้นมาเป็นบทเรียนประกอบการเรียนการสอน บุคลกรทางการศึกษาเค้าจะประชุมวางแผนการสอนกันมาก่อนหลายขั้นตอนจากผู้ทรงคุณวุมิทางด้านการศึกษา มีกันหลายชั้นตั้งแต่คนร่างหลักสูตรจากกระทรวงกันเลยทีเดียวว่าเรื่องไหน สามารถสอนภายในห้องเรียน(ซึ่งมีครูในรายวิชานั้นเป็นควบคุม) เรื่องไหน สามารถปล่อยให้เป็นหนังสืออ่าน"นอกเวลา"ได้ ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าให้เด็กๆไปอ่านกันเอง"นอกเวลา" แล้วก็ไม่ได้ให้อ่านผ่านๆไปเปล่าๆ อ่านเอาบันเทิง
แต่เด็กจะต้องอ่าน แล้วฝึกฝนสมองของตัวเอง ด้วยการนำเอาสิ่งที่ได้รู้ จากการเรียนในชั่วโมงที่เค้าเรียนผ่านมา นั่นคือ เด็กต้องสามารถ อ่านและจับใจความได้ ว่าหนังสือเล่มนั้นเขียนเกี่ยวกับอะไร? เนื้อหาโดยรวมเป็นอย่างไร? อ่านแล้วได้ประโยชน์อะไร? และยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆอีกเช่น ผู้แต่งใช้สำนวนโวหารแบบใด ใช้คำชนิดใด มีตรงไหน เท่าไหร่ อะไร ยังไง? ให้เด็กยกตัวอย่างมา และสุดท้ายต้องเขียนแสดงความคิดเห็นว่า คนอ่านได้"ประโยชน์อะไร"จากหนังสือเล่มนั้น สิ่งเหล่านี้ ดิฉันได้เรียนมาจากชั่วโมงภาษาไทย
สมัยเรียน ป.๔,๕,๖วรรณคดีที่คุณครูนำมาเป็นแบบเรียนคือเรื่อง พระอภัยมณี,นิราศเมืองแกลง,โคลงโลกนิติ, หนังสืออ่านนอกเวลาคือ แมงมุมเพื่อนรัก,นิคกับพิม,มอม(เรื่องมอมได้อ่านตอนป.๖จำได้ว่าอ่านไปร้องไห้ไปเขียนรายงานส่งครูทั้งน้ำตา)
ส่วน ลิลิตพระลอ,ขุนช้างขุนแผน,อิเหนา ได้เรียนตอน มัธยม๑,๒,๓ ซึ่งตอนนั้นด้วยวุฒิภาวะของดิฉันก็รับรู้ได้แล้วว่า "พฤติกรรม"ของอิเหนาเป็นสิ่ง"ไม่พึงประสงค์" สำหรับยุคสมัยของดิฉัน ครูผู้สอนในวิชานั้นก็ได้อธิบาย และแนะนำว่าพฤติกรรมหรือเหตุการณ์ที่ปรากฎอยู่ในวรรณดีนั้นๆ มันเป็นเพราะอะไร การเอาวรรณคดีมาให้เด็กอ่านเค้าไม่ได้ปล่อยให้สักแต่อ่านอย่างเดียว ซึ่งมันแตกต่างจากการเอานิยายสมัยนี้ มาให้เด็กอ่านเทียบกันไม่ติดเลย แล้วถ้าจะถามว่า ทำไมถึงไม่มีการเอานิยายในสมัยปัจจุบันไปเป็นบทเรียนให้เด็กอ่านบ้าง อันนี้คำตอบก็ปรากฏอยู่ในตัวมันเองแล้วว่า นิยายเหล่านั้น มีคุณค่าอะไรบ้าง? แม้แต่จะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลา(ก็ยังเป็นไม่ได้เลย)
จากคุณ |
:
น้องจุ่น
|
เขียนเมื่อ |
:
4 มี.ค. 54 02:32:55
|
|
|
|
 |