 |
1. หลักฐานของกลุ่มที่บอกว่าศิลาจารึกหลักที่ 1 เป็นของปลอมนี่ผมว่ายังอ่อนมากครับ และหลักฐานการตรวจด้วยการผุกร่อนของหลักศิลาทางวิทยาศาสตร์ และการทดสอบด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ ก็ยังให้คำตอบคลุมเครือ (เพราะช่วงเวลาที่ประมาณได้มันมีความคลาดเคลื่อนที่บวกลบกันเป็นร้อยปี) แต่หลักฐานที่โดดเด่นของศิลาจารึกหลักที่ 1 คือบทความและเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ที่ไม่ใช่องค์ความรู้ซึ่งนักวิชาการในสมัยรัชกาลที่ 3-4 จะสร้างขึ้นมาได้เลยครับ
2. การปราบปรามศัตรูเมื่อเปลี่ยนแผ่นดินในสมัยรัตนโกสินทร์ก็มีครับ อย่างตอนรัชกาลที่ 2 ทรงขึ้นครองราชสมบัติ เจ้าฟ้าเหม็นก็โดนบูชายันต์ไป 1 พระองค์ เพียงแต่พอเข้าถึงสมัยรัชกาลที่ 4 แล้ว การเปลี่ยนถ่ายอำนาจนั้นมีระบบแบบแผนมากขึ้น (น่าจะเพราะชนชั้นปกครองของเราก็เกรงว่าหากผลัดแผ่นดินทีเกิดจลาจลที อาจจะทำให้ข้าศึกจากภายนอกแทรกแซงได้ โดยเฉพาะมหาอำนาจยุโรป)
หรือไม่ต้องไปดูไกลครับ ประวัติศาสตร์หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองก็เขียนกันชัดเจนว่า เมื่อคณะราษฎร์ผลัดกันขึ้นกุมอำนาจนั้น กระทำอย่างไรกับสหายที่ร่วมกันปฏิวัติกันบ้าง หรือแม้แต่คณะราษฎร์คนสุดท้ายอย่างท่านจอมพลแปลก เจอกับอะไรบ้าง.........
3. น่าจะหมายถึงทั้งอาณาจักรหล่ะมีราวๆ 1 ล้านคนไม่ยากครับ แต่ลำพังอยุธยามีไม่ถึง 1 ล้านคนแน่นอน อย่างตอนเสียกรุงครั้งที่ 2 นี่พม่ายังกวาดต้อนชาวบ้านกลับไปได้แค่ 1.5 หมื่นคนเอง สมมติว่าคนส่วนใหญ่หนีรอดไปได้ราวๆ 2 ใน 3 ของทั้งหมด อยุธยาก็ยังมีประชากรแค่ 4 หมื่ืนเศษๆเท่านั้น
ถ้าปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์อยุธยามีประชากร 1 ล้านคน (เฉพาะในเมือง) จริงๆ ที่ราบรอบๆจะไม่พอเลี้ยงประชากร 1 ล้านคนแน่นอนครับ
ลาลูแบร์บันทึกว่า สมัยปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ลพบุรีมีประชากรแค่ 5-6 พันคน, บางกอกมีประชากร 300 ครัวเรือน, ตัวเมืองอยุธยาห่างจากเกาะเมืองไปไม่กี่ไมล์ก็เป็นป่าทึบแล้ว คำถามคือ เมืองที่มีประชากรมากถึง 1 ล้านคน ต้องใช้พื้นที่ทำเกษตรมากแค่ไหนถึงเลี้ยงประชากร 1 ล้านคนที่แออัดบนที่เดียวกันได้ ในยุคสมัยที่ผลผลิตต่อไร่ต่ำเตี้ยติดดิน, การทำนายังขึ้นกับดินฟ้าอากาศอย่างมาก และปีหนึ่งๆทำนากันได้แค่ 2 ครั้งเป็นอย่างมาก
แก้ไขเมื่อ 28 ก.พ. 54 19:33:31
จากคุณ |
:
digimontamer
|
เขียนเมื่อ |
:
28 ก.พ. 54 19:28:43
|
|
|
|
 |