Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
เรื่องของพระไตรปิฎกและไทยศูนย์กลางของพุทธศาสนา ติดต่อทีมงาน

ไปคุยกับอาจารย์ท่านหนึ่งเกี่ยวกับ พระไตรปิฎกของไทย ท่านให้ความเห็นว่า พระไตรปิฎกของไทย คือ original ทีสุดจากคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ทีประเทศไทย

คือระหว่างไปอินเดียมา อาจารย์คนนี้ก็ได้คุยกับพระที่อินเดีย แล้วเหมือนกับพระเองก็บอกว่า พระที่นี่(อินเดีย)หากอยากศึกษาพระไตรปิฎกยังต้องไปเรียนที่ไทย คล้ายๆว่าอาจารย์ตั้งใจจะไปศึกษาพุทธที่เป็น original แต่กลับมารู้ทีหลังว่า original แท้จริงนั้นอยู่ที่ประเทศตัวเอง

อาจารย์มีข้อสันนิษฐานว่า ประเทศไทยนั้นได้รับพุทธศาสนามาจากลังกาวงศ์หรือก็คือศรีลังกา ซึ่งเป็นพุทธแบบเถรวาท ที่เหมือนเป็นสายตรงจากพระพุทธเจ้า โดยหลังจากเผยแพร่แล้วก็กลับประเทศไป ขณะที่ปัจจุบันพระทางนั้นที่ต้องการจะมาศึกษา ก็ต้องมาที่ไทย เพราะพระไตรปิฎกที่ไทยนี้เหลือเพียงที่เดียวที่สมบูรณ์อยู่ที่นี่ที่ตรงกับ original มากที่สุด (กลับกัน คื่อ สมัยก่อนเขาเอามาเผยแพร่ทีนี่ แต่สมัยนี้ต้องมาศึกษาที่นี่)

แต่จำรายละเอียดไม่ได้แล้วว่า ทำไมพระทางนั้นถึงไม่มีพระไตรปิฎกที่เป็น orginal อยู่ เหมือนกับว่าไทยนี่แหละคือศูนย์กลางของพระไตรปิฎก ศูนย์กลางของพุทธศาสนา

ที่ผมเล่ามานี้อาจมีคลาดเคลื่อนบ้าง เพราะเป็นการคุยแบบแลกเปลี่ยนกันไปเรื่อย ไม่ได้เล็กเชอร์อะไร บางข้อมูลที่ว่ามานี้อาจโต้แย้งได้ เพราะผมอาจจะเล่าไม่ชัดเจนได้ตรงประเด็นทั้งหมด

หลังจากนั้น ก็พูดถึงเรื่องหลักธรรม คือ อาจารย์บอกว่า พุทธนั้นไม่ใช่ปรัชญา แตกต่างจากศาสนาอื่นที่เป็นปรัชญา ในความเห็นคือ ความจริงที่พระพุทธเจ้าค้นพบนั้นคือ ปัญญา โดยอาจารย์ให้ความเห็นว่า ถ้าหากเป็นปรัชญามันจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ นั่นคือ เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ คนแก่ ต่างก็มีปรัชญาของแต่ละช่วงวัย ในวัยหนึ่งก็จะมีปรัชญาเช่นนั้นเช่นนี้ว่ากันไป ต่างจากปัญญา นั่นคือ เป็นจริงเพียงหนึ่งเดียว หากมีปัญญานี้ไม่ว่าจะอายุช่วงไหน ปัญญาเช่นนี้ก็จะยังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง

ดังเช่นคำสอนของพุทธทาสว่าด้วย... อันนี้ผมจำคำเรียกไม่ได้ แต่จำได้ว่าความหมายคือ เมื่อมีสิ่งนั้น จึงมีสิ่งนี้ นี่คือการยกตัวอย่างของปัญญาดังกล่าว ซึ่งไม่ใช่ปรัชญา เป็นความจริงที่เป็นปัญญาโดยแท้ ไม่เปลี่ยนแปลง

แล้วก็ไปเรื่องของ สันติอโศก ธรรมกาย และพุทธทาส อาจารย์บอกว่าถ้าคนเข้าใจ เราจะไม่ทะเลาะกัน ไม่บอกว่าอันไหนถูกผิด อันไหนคือดีกว่าอีกอัน เปรียบเทียบเหมือนกับ ทางเข้าบ้าน (ทางหลุดพ้น) คือ มีทางเข้าประตู หน้าต่าง จะขุดอุโมงค์เข้าหรือเข้าทางปล่องไฟ ก็ไม่ต่างกัน แต่สุดท้ายทุกคนก็มุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือเข้าบ้าน

แล้วอาจารย์ก็ยกตัวอย่างว่า ท่านพุทธทาสก็เป็นทางสายปัญญา ท่านเขียนตำรามามาก เพื่อจะแสวงหาธรรมแห่งทางปัญญา ให้รู้แจ้งเห็นจริง แต่สมาธิท่านก็ไม่เน้น ต่างจากธรรมกายที่เน้นให้นั่งสมาธิ นั่งกันอย่างเดียว เมื่อจิตเป็นสมาธิก็เกิดปัญญาได้เช่นกัน หรือสันติอโศก ก็มุ่งทางศีล เน้นวัตรปฏิบัตร จนเกิดปัญญา จากการปฏิบัติธรรม สุดท้ายก็มุ่งไปสู่หนทางเดียวกัน จึงไม่มีเหตุผลที่จะมาทะเลาะกัน ขึ้นอยู่กับว่าเราถูกกับการปฏิบัติแบบไหน

อาจารย์เล่าว่า วันก่อนไปเห็นเด็กเดินเล่นจตุจักรแล้วอยากตบเกรียนมาก คือ เหมือนเด็กคนนี้มาพูดในเชิงว่า พระพุทธศาสนามันสอนให้มีชนชั้น ต้องต่อต้าน เพราะพระทำไมต้องมียศบรรดาศักดิ์ มีเจ้าคณะอะไรแบบนั้น อาจารย์บอกว่า พุทธจริงแล้วๆเป็นเรื่องที่สลายชนชั้นโดยแท้ เด็กที่พูดคือพูดโดยไม่รู้เรื่องอะไร เพราะอินดียในยุคพระพุทธเจ้านั้น เคร่งเรื่องวรรณะที่สุด และพุทธศาสนาก็เกิดขึ้นเพื่อทำลายระบบวรรณะ ในยุคนั้น จัณฑาลมานั่งพื้น ถึงกับต้องเอานมมาล้างเพื่อทำความสะอาด พระพุทธเจ้าเป็นถึงกษัตริย์ ท่านยังลงมาเป็นจัณฑาลให้มาเล่นหัวได้ พระพุทธเจ้ากว่าจะมาเป็นพระพุทธเจ้าได้ก็เป็นมาทุกอย่าง เป็นสัตว์เดรัจฉานก็เป็นมาแล้ว คือสะสมบุญมา ไม่ได้เกิดมาแล้วก็เป็นพระพุทธเจ้าเลย แล้วจะบอกว่าพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของชนชั้น เป็นความเข้าใจที่ผิด ผิดแบบไปคนละเรื่องเลย ส่วนเรื่องเจ้าคณะอะไรนั้นมันเป็นเรื่องพิธีกรรม

คุยไปเรื่อยจนมาถึงบทสรุป ว่าจริงๆแล้วอาจารย์ ที่ผ่านมากว่าจะเข้าใจในความเป็นมนุษย์หรือมองโลกได้นั้น คือ ศึกษาธรรมะ คือตัวเองน่าจะศึกษาตั้งแต่เป็นวัยรุ่น แต่ที่ผ่านมาคิดว่าเป็นเรื่องเชย แต่พอศึกษาแล้วถึงรู้ว่าน่าจะศึกษาตั้งนาน มีกรณีหนึ่งคืออาจารย์เขียนเรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่้องแนวคิดขึ้นมาได้ และคิดว่าเป็นเรื่องใหม่มาก แต่พอไปศึกษาพุทธถึงรู้ว่า เขาคิดเรื่องแบบนี้กันมาตั้งแต่ 2500 ปีก่อนหน้านี้แล้ว คือรู้ตัวเองว่าเชยมาก

แล้วก็ยกตัวอย่างเรื่อง สัมมาทิฏฐิ และมิจฉาทิฏฐิ นั่นคือ ขณะที่เราคิดอะไรหรือคุยอะไรกันอยู่นี้ เราต้องต้องอยู่บนสัมมาทิฏฐิก่อนถึงจะคุยกันรู้เรื่องและเข้าใจ ถ้าเรามิจฉาทิฏฐิแล้วจะทำอย่างไรมันก็ไม่รู้เรื่องกันสักที เหมือนมาถามว่า 1บวก1 บวกกันได้เท่าไหร่ มันก็ต้องเท่ากับสอง เพราะมันคือปัญญา เพราะมีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้ ถ้ามาคุยกันแบบปรัชญาแบบ 1บวก1 ได้เท่ากับ1 (ปรัชญาแบบทรายรวมกันได้กองเดียว) หรือเท่ากับสาม (พ่อกับแม่รวมกันแล้วมีลูก) มันก็ไม่รู้เรื่องกันสักทีเพราะคุยแบบปรัชญาไม่ได้ใช้ปัญญา

แก้ไขเมื่อ 01 มี.ค. 54 09:08:16

แก้ไขเมื่อ 01 มี.ค. 54 08:59:50

จากคุณ : pizza hell
เขียนเมื่อ : 1 มี.ค. 54 08:53:14




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com