 |
คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) เจ้าบุรีรัตน์ คือตำแหน่งทางราชการ (1 ในตำแหน่งเจ้าขัน 5 ใบ) ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ซึ่งชาติตะวันตกเข้ามาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของเชียงใหม่ คุ้มเจ้าบุรุรัตน์หลังนี้คาดว่า สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2432-2436 ก่อนเจ้าบุรีรีตน์ (มหาอินทร์) จะถึงแก่กรรม โดยมีเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ (หลานของเจ้าหลวงคำฝั้น เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 3 เป็นเจ้าขององค์แรก และต่อมา เจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่ (เจ้าราชภาคินัย และเจ้าราชวงศ์) บุตรชายเจ้าบุรีรัตน์มหาอินทร์ เป็นผู้ครอบครองอาคารในระหว่างปี พ.ศ. 2497-2489 ประมาณปี พ.ศ. 2490 นางบัวผัน นิกรพันธ์ (ทิพยมณฑล) ได้ซื้อต่อจากเจ้าบุษบา ณ เชียงใหม่ (ภริยาเจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่) ในราคา 5,000 บาท และเป็นมรดกตกทอดจนมาถึงญาติคนปัจจุบันคือคุณเรียงพันธ์ ทิพย์มณฑล (เป็นบุตรีนางบัวผัน และเป็นพี่สาวอาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร) วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2544 ตระกูลกิติบุตรและทิพย์มณฑล มอบอาคารคุ้มเจ้ายุรีรัตน์ (มหาอินทร์) ให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ให้จัดตั้งเป็นศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ผสมผสาน ระหว่าง ลักษณะพื้นถิ่นและอิทธิพลตะวันตก เป็นอาคารสองชั้น หลังคาทรงมะนิลา มีระเบียงโดยรอบ เป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตกที่สร้างในเชียงใหม่ยุคแรก อีกทั้งยังแสดงออกถึงอิทธิพลทางการก่อสร้าง การก่ออิฐ การแปรรูปไม้ เทคนิคการเข้าไม้โครงสร้าง ที่เข้ามาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสถานะทางเศรษฐกิจของเชียงใหม่ในเวลานั้น อาคารเป็นเรือนครึ่งปูนครึ่งไม้สองชั้น บันไดอยู่ด้านนอก เสาชั้นล่างก่ออิฐหนาเป็นรูปโค้ง (Arch) ฉาบปูนเป็นระเบียงโดยรอบ ชั้นบนเป็นพื้นไม้สักมีระเบียงโดยรอบ หลังคาจั่วและหลังคมปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องดินปัจจุบันตัวอาคารยังอยู่ในสภาพดี แสดงถึงวิทยาการก่อสร้างที่แข็งแรงคงทนในอดีต
จากคุณ |
:
tintila
|
เขียนเมื่อ |
:
15 มี.ค. 54 20:46:02
|
|
|
|
 |