 |
เห็นมีหลายท่านพูดถึงประเด็นการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ในฐานะที่มีส่วนรับรู้กับหลักสูตรการศึกษาปี 2544, กับฉบับปรับปรุง 2551 มาบ้าง อยากเรียนว่าหนังสือประวัติศาสตร์ที่ออกจากส่วนกลาง เช่นของกระทรวงฯ หรือของสำนักพิมพ์เอกชนต่างๆ ก็จะเน้น ปวศ ชาติหน่วยหนึ่ง แล้วก็มีปวศ ท้องถิ่น ด้วย
แต่ปัญหาคือ หนังสือเรียนจำกัดจำนวนหน้า จะให้บอกเล่าทุกเรื่องราวทุกภาค ทุกเมืองคงเป็นไปไม่ได้
ดังนั้น ในหลักสูตรนี้จะเน้นให้ครูมีส่วนร่วมในการสอนเรื่องราวในท้องถิ่น ในหลักสูตรจะมีเรื่องการให้ใช้วิธีการทาง ปวศ สืบค้นเรื่องราวต่างๆ ตามลำดับชั้น เช่น ป.๑ ก็เรื่องของของตนเอง ครอบครัว ป.๒ ก็ค้นเรื่องของโรงเรียน ชุมชน ป.๓,๔,๕,๖ ก็กว้างขึ้นมาเรื่อยๆ เช่น เรื่องสำคัญหรือปวศ ของอำเภอ จังหวัด ภาค โดยในหนังสือเรียนจากส่วนกลางก็มีเขียนถึงเป็นตัวอย่างให้ครูในท้องถิ่นนำไปปรับ
ปัญหาที่ตามมาคือ ครูเองมีความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นมากบ้าง น้อยบ้าง ต่างกันไป และในหลักสูตรนี้ครูต้องทำเอกสารประกอบการสอนให้เด็กอ่าน เช่น ครูที่จังหวัดบุรีรัมย์ก็ทำเรื่องบุรีรัมย์ ครูที่เชียงใหม่ก็สอนเรื่องเชียงใหม่ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะมีครูมากน้อยแค่ไหนที่ทำเช่นนี้จริงๆ
นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นๆ ที่หลายท่านกล่าวมา เช่น ความรู้เกี่ยวกับ ปวศ ท้องถิ่นมีน้อย ไม่แพร่หลาย
รวมถึงปัญหาการที่ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของบุคคลในประวัติศาสตร์ได้อย่างตรงไปตรงมา เพราะมีข้อห้ามมากมาย แม้การวิจารณ์นั้นจะเป็นการวิจารณ์ตามเหตุผล
ส่วนเรื่องที่บอกว่า ปวศ ที่เรียนๆ กันเป็นการเอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่นนั้น ก็เพราะปวศ เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างชาติ ถ้าเข้าใจความสำคัญทางการเมืองของ ปวศ ก็จะเข้าใจว่าทำไม ปวศ จึงถูกนำเสนอเช่นนี้ ทุกชาติต่างก็ใช้ ปวศ เป็นเครื่องมือสร้างชาติในแบบที่ต้องการ
อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ต้องมีในงานปวศ คือ การวิจารณ์อย่างมีเหตุผล การวิเคราะห์ปัญหา นำสิ่งดี สิ่งไม่ดี ข้อผิดพลาด ที่เกิดขึ้นในอดีต มาเป็นบทเรียน ไม่ควรเป็น ปวศ แห่งการชื่นชมเพียงอย่างเดียว
จากคุณ |
:
Bt vista
|
เขียนเมื่อ |
:
วันจักรี 54 13:06:16
|
|
|
|
 |