| |
| | | 5 (1 คน) |
| | | 4 (0 คน) |
| | | 3 (0 คน) |
| | | 2 (1 คน) |
| | | 1 (15 คน) |
| |
จำนวนผู้ร่วมโหวตทั้งหมด 17 คน |
คือผมอยากศึกษาเรื่องการแสดงความคิดเห็นต่อ สทศ (ยังไม่กล้าสรุปรวมไปถึงหน่วยงานอื่นๆ) ของคนพันทิป เพราะผมอยากรู้ว่าคนที่แสดงความคิดเห็นจะมีลักษณะไหน จากการศึกษาพบว่า
1. ในเวลา 2 วัน มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวน 17 คน
วันที่ 1 จำนวน 15 วันที่ 2 จำนวน 2 คน โดย
พึงพอใจมากที่สุด 1 คน
พึงพอใจน้อย 1 คน
พึงพอใจน้อยที่สุด 15 คน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ได้ค่าเฉลี่ย 1.2941 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.9851
2. ผู้ที่แสดงความคิดเห็นทัศนคติที่สูงสุดและต่ำสุด (ระดับ 5 และ 1) 94.12 % โดย
เป็นผู้ที่แสดงความคิดเห็นระดับต่ำสุด 88.24%
เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติ t-Test เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของผู้ที่แสดงความคิดเห็นในเว็บพันทิป กับบุคคลทั่วไป ซึ่งเก็บข้อมูลจากองค์กรภายนอก พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001
(t=11.324, df = 16, p-value = .000)
จากการศึกษาสรุปได้ว่าในการแสดงความคิดเห็นต่อ สทศ ผู้ที่แสดงความคิดเห็นในพันทิปส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความคิดเห็นอย่างสุดขั้วไปด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในด้านลบ โดยมีการตื่นตัวในการตอบมากที่สุดในวันแรกที่มีการตั้งกระทู้ และลดลงเป็นอย่างมากในวันที่สอง
ผู้ที่มาแสดงความคิดเห็นในวันแรกทั้งหมดเป็นผู้ที่มีความคิดเห็นอย่างสุดขั้ว คือประเมินในระดับ 1 และ 5 โดย 14 คนประเมินในระดับ 1 และ 1 คนประเมินในระดับ 5 จากการที่ให้ผู้ที่โหวตสามารถแสดงความคิดเห็นได้พบว่ามีผู้ที่แสดงความคิดเห็นที่แสดงถึงการประเมินแบบสุดโต่ง ดังเช่น "มี 0 ไหมครับ จะกดโหวต"
ข้อค้นพบในการศึกษา ผู้ที่มีความคิดเห็นระดับกลางๆ ไม่แสดงความคิดเห็นในกระทู้ของพันทิป (มีเพียง 5.88 %) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไม่มีความสนใจใน สทศ มากพอ หรือไม่ทราบข้อมูลดีพอ จึงไปให้ความสนใจกับกระูทู้อื่นก็เป็นได้
ข้อคิดเห็นของผู้ศึกษา ความคิดเห็นหรือเสียงของผู้ที่แสดงในพันทิปนั้น เป็นการแสดงโดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีความคิดเห็นอย่างสุดขั้ว ต่อการทำงานของ สทศ. (ซึ่งควรขยายผลการศึกษาไปยังหน่วยงานอื่นๆของรัฐบาล) ทั้งนี้อาจเป็นมาจากความไม่หลากหลายทางการศึกษา นั่นคือผู้ที่มาแสดงความคิดเห็นในกระทู้ที่มีเนื้อหาสาระที่เป็นทางการมาก ส่วนใหญ่แล้วน่าจะเป็นผู้ที่มีการศึกษาระดับสูง ตั้งแต่ระดับมัธยมขึ้นไป ดังนั้นในการประเมินผลความพึงพอใจ ไม่ควรคำนวนค่าผลการประเมินจากเว็บไซต์แต่ใช้เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อประกอบ และควรทำการตัดข้อมูลที่แตกต่างจากข้อมูลอื่นๆอย่างมาก (หรือที่เรียกว่าข้อมูลสุดโต่ง) ออกไปเพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการศึกษา
แก้ไขเมื่อ 09 เม.ย. 54 15:23:10
แก้ไขเมื่อ 09 เม.ย. 54 15:13:29
แก้ไขเมื่อ 07 เม.ย. 54 14:42:59
แก้ไขเมื่อ 07 เม.ย. 54 14:41:41