 |
ชั้นซามูไร น่าจะแบ่งตามความสำคัญของอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งในที่นี้ ชาติกำเนิดค่อนข้างมีผลมาก โดยเฉพาะในสมัยของรัฐบาลโทกุกาว่า (Tokugawa) เพราะการสืบตำแหน่งจะทำกันโดยตกทอดจากพ่อไปสู่ลูก ประเทศไม่มีศึกสงครามเช่นยุคก่อนหน้านี้ (ยุคเซ็นโกขุ - Sengoku) โอกาสที่คนชั้นล่าง ๆ จะได้เลื่อนตำแหน่งโดยการทำความดี ความชอบ ในสงครามมีน้อย ตระกูลซามูไรชั้นสูงที่ต่อมามีอำนาจในสมัยโทกุกาว่า บางตระกูลก็ได้จากการทำความดีความชอบในสงครามยุคเซ็นโกขุนี่แหละค่ะ
อย่างตระกูลยามาอุจิ (หรือยามาโนะอุจิ) เจ้าแคว้นโทสะของเรียวม่า ก็เหมือนกัน ก่อนหน้านี้ต้นตระกูลคือ ยามาอุจิ คาสุโตโยะ (Yamauchi Kazutoyo) ก็เป็นนายทหารชั้นขุนพลในกองทัพธรรมดา ในศึกเซกิงาฮาระ ที่ตระกูลโทกุกาว่ารบกับตระกูลโทโยโทมิเพื่อชิงความเป็นใหญ่เหนือแผ่นดิน คาสุโตโยะ นำทหาร 2,000 นาย ยึดปราสาทกิฟุไว้ได้ หลังเสร็จศึก ตระกูลโทกุกาว่าได้เป็นโชกุน และปูนบำเหน็จให้ทหารที่ทำความดีความชอบ คาสุโตโยะได้รับมอบหมายให้ครองแคว้นโทสะ เพราะเจ้าแคว้นก่อนหน้านี้ คือ โจโซคาเบะ โมโตจิกะ (Chōsokabe Motochika) นั้นในศึกเซกิงาฮาระ เลือกอยู่ฝั่งโทโยโทมิ เมื่อโทกุกาว่าเอาชัยเหนือโทโยโทมิได้ จึงได้ส่ง ตระกูลยามาอุจิไปปกครองแทนเจ้าแคว้นเดิม จากนายทหารธรรมดาจึง ได้เลื่อนเป็นไดเมียวก็เพราะเหตุนี้ (ชั้นพระยากินเมือง)
และนี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้แคว้นโทสะ (จ. Kochi ในปัจจุบัน) มีการแบ่ง ชนชั้นระหว่างซามูไรอย่างรุนแรงมาก จากข้าของตระกูลโจโซคาเบะ ไดเมียวเดิมที่กลายเป็นซามูไรชั้นล่าง กับข้าของตระกูลยามาอุจิที่เป็นนายใหม่ ที่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นซามูไรชั้นสูงมากกว่า เป็นปัญหาระหว่าง ซามูไรชั้นสูงกับชั้นล่างอย่างที่เราเห็นในละคร
พอดีมีหนังสือ Sakamoto Ryoma and the Meiji restoration ของ Marius B. Jansen อยู่ในมือ ในหนังสือพูดถึงการแบ่งชั้นของซามูไรใน สมัยนั้นซึ่งใช้กันทั่วไปในสมัยของโทกุกาว่าไว้ด้วย ก็เลยจะขอเอามาลง ให้ดูนะคะ แต่เราจะแปลตำแหน่งเป็นไทยไม่ได้ ก็จะคงภาษาอังกฤษไว้ แบบนั้น
ตำแหน่งซามูไรแต่ละตำแหน่ง จะมีปริมาณข้าวที่ได้ปันส่วนกันตามตำแหน่ง กำกับด้วย ซึ่งปริมาณนี้ก็ลดหลั่นกันไปตามตำแหน่งอีก ถ้าเทียบกับไทย ก็คงประมาณพอพูดถึงตำแหน่งมา ก็ต่อด้วยศักดินากี่ร้อยไร่ อะไรประมาณ นั้นน่ะคะ แต่ญี่ปุ่นจะนับเป็นปริมาณข้าว มีหน่วยเป็น โคคุ (Koku) โดย 1 โคคุ = ปริมาณข้าวที่คน 1 คน จะกินไปได้ใน 1 ปี (เขาบอกว่าประมาณ 180 ลิตร) โคคุนี้ยังเป็นดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจของแคว้นด้วย แคว้นไดมีปริมาณโคคุโดยประมาณมาก แคว้นนั้นก็มีความสำคัญมาก เป็นแคว้นอุดมสมบูรณ์ มีรายรับเข้ามามาก ซึ่งรายรับนี้ไม่ได้หมายความแค่ปริมาณข้าวที่ได้ปันส่วนจากรัฐบาลโชกุน เท่านั้น แต่ยังเหมารวมไปถึงผลประโยชน์ที่ได้จากการผลิตในแคว้นเองด้วย อย่างโทสะของเรียวม่าก็ไม่ได้ถือว่าเป็นแคว้นที่รวยมาก เพราะยามาอุจิ โยโด เจ้าแคว้นมีศักดินาเพียง 202,600 koku เท่านั้น (แคว้นรวยสุดอย่างคางะ ได้เป็น 1 ล้านโคคุ หรือซัทสึมะของท่านหญิงอัตสึได้ประมาณ 700,000 โคคุ) แต่โทสะนั้นก็มีรายรับด้านอื่นเข้ามาคือ พวกป่าไม้ อุตสาหกรรมกระดาษ ส่งไปให้รัฐบาลโชกุนแล้วยังไปขายที่โอซาก้าด้วย แล้วก็พวกประมงด้วยน่ะค่ะ
ส่วนราชการของแคว้น
A Court office (Naichokan) รับผิดชอบกิจการทั่วไปของเจ้าแคว้น
A Division of Internal Administration (Naikan) รับผิดชอบดูแลบังคับบัญชา ด้านซามูไรทั้งในแคว้นและที่เอโดะ รวมทั้งบันทึก เอกสารสำคัญ โรงฝึกซามูไรต่าง ๆ
An Outer office (Gaichokan) รับผิดชอบดูแลงานกิจการของแคว้น
ตำแหน่งบริหารสูง ๆ ของแคว้น
Commissioners Generals (Bugyo-shoku) อันนี้มันประมาณ ผู้บัญชาการหรือเปล่าคะ จะมีประมาณ 3 คน มีอำนาจและสิทธิในการบริหารแคว้นมากสุด
Assistant Ministry (Shioki-yaku) กรรมการบริหารแคว้นของ Bugyo-shoku ด้านบน นอกจากนี้ยังรับผิดชอบดูแลพวกวัด ศาลเจ้าต่าง ๆ (ที่ดินวัด ศาลเจ้า พวกนี้ก็ต้องเก็บภาษี ถือเป็นรายได้เหมือนกัน) รับผิดชอบเรื่องสำรวจจำนวน ประชากร, รับผิดชอบเรื่องการเก็บภาษี
The Great Inspectors (Ometsuke) ตำแหน่งผู้ตรวจการ รับผิดชอบดูแล ความสงบเรียบร้อยของแคว้น
ตำแหน่งบริหารระดับท้องถิ่น
District Magistrates (Kori bugyo) น่าจะประมาณนายอำเภอหรือกำนัน คอยดูแลติดต่อ บริหารระหว่างท้องถิ่นตัวเองกับ Shioki-yaku แล้ว Kori bugyo นี่ก็ยังมีผู้ช่วยอีกเรียกว่า Daikan น่าจะประมาณปลัดอำเภอ ซึ่งระดับหมู่บ้านก็จะมีหัวหน้าหมู่บ้านอีกด้วย
ตำแหน่งซามูไร
ซามูไรชั้นสูง (Joshi, Osamurai, Shikaku)
Karo (House elders) ศักดินา 1,500-10,000 koku ซามูไรชั้น karo นี้จะทำหน้าที่ในส่วนราชการชั้นสูงของแคว้น Naichokan และ Naikan ตำแหน่งผู้บัญชาการแคว้น Bugyo-shoku ก็อยู่ในชั้นนี้ รวมทั้งชั้น ขุนพลที่นำทัพ
Churo ศักดินา 450-1,500 koku พวกเจ้าหน้าที่บริหารใต้คำสั่ง karo
ซามูไรทั่วไป (Hira-zamurai)
Umamawari (Mounted guard) ศักดินา 100-700 koku เป็นข้ารับใช้ บริวารของชั้นบริหาร แล้วก็พวกกรรมการแคว้น Shioki-yaku ทำงาน เป็นบริวารร่วมกับพวก Churo
Koshokumi ศักดินา 70-250 koku เป็นบริวารให้ Umamawari
Rusuikumi ศักดินา 50-200 koku เป็นบริวารให้ Koshokumi
ซามูไรชั้นล่าง (Kashi, Kei-kaku)
Goshi ศักดินา 30-250 koku บ้านเรียวม่าก็อยู่ชั้นนี้ Yonin Kachi ศักดินา 12-17 koku Kumigai ศักดินา 10 koku Ashigaru พวก foot soldiers ทหารเดินเท้า, ทหารเลว (พลทหารชั้นผู้น้อย) ศักดินา 3-7 koku ทำงานพวกกรรมกร ใช้แรงงานให้แคว้นด้วย
ซามูไรชั้นล่างนี่ได้ส่วนปันข้าว หรือเบี้ยหวัดจากนายอีกที แต่ก็น้อยมาก ทำให้ยากจน ยิ่งช่วงปลายโทกุกาว่าที่ไดเมียวเองก็ยอบแย่บ รายได้ก็ยิ่งลง ไปอีกจนบางคนต้องขายตำแหน่งกินแบบบ้านยาทาโร่
ส่วนที่ว่าพ่อค้าเป็นชั้นล่างสุด เพราะญี่ปุ่นรับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อ ในด้านสังคม ที่แบ่งคนออกเป็น 4 พวก ซามูไร ชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า (shi-no-ko-sho) แบ่งตามหน้าที่และประโยชน์ของคนแต่ละกลุ่ม ซามูไรมีฐานะสูงสุด เพราะทำหน้าที่ปกครองประเทศ ชาวนาเป็นชั้น 2 เพราะผลิตข้าวเลี้ยงสังคม ช่างฝีมือผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ พ่อค้าเป็นชั้นล่างสุด เพราะไม่ใช่ผู้ผลิตเป็นเพียงคนกลาง นำสินค้าจากที่หนึ่งไปที่หนึ่ง
แต่ในตอนปลายของโทกุกาว่านั้น จะเห็นว่าพ่อค้าเป็นชั้นที่เริ่มเข้ามามีบทบาท ทางสังคมมากขึ้น เนื่องจากกระแสเงินตราที่ไหลเวียนเข้ามาในระบบมากกว่า การแลกเปลี่ยนสินค้าต่อสินค้า และการเกษตรกรรมแบบเดิม ที่เมืองใหญ่ ๆ อย่างโอซาก้า พ่อค้ามีอิทธิพลมาก เพราะเป็นแหล่งเงินให้บรรดาไดเมียวกู้ยืม บางตระกูลได้ตำแหน่งและชั้นยศของซามูไรด้วย
และกลุ่มพ่อค้านี้ก็เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนทางการเงินที่สำคัญของกลุ่มผู้นำ การปฏิรูปเมจิที่ล้มระบอบโชกุนด้วย
จากคุณ |
:
molecularkitten
|
เขียนเมื่อ |
:
17 เม.ย. 54 19:53:36
|
|
|
|
 |