 |
#5 อ่านเรื่อง พระเจ้าวิฑูฑภะ สิคะ http://board.palungjit.com/f8/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%91%E0%B8%B9%E0%B8%91%E0%B8%A0%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%86%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A5-150359.html
...ฝ่ายพระเจ้าวิฑูฑภะได้ราชสมบัติเป็นกษัตริย์แล้ว อันความแค้นกระตุ้นเตือนอยู่เสมอ มิอาจทรงยับยั้งได้ จึงเตรียมกรีธาทัพไปย่ำยีพวกศากยะ
พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรวจดูสัตวโลกเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นความพินาศ จะมาถึงหมู่พระญาติ มีพระพุทธประสงค์จะทรงบำเพ็ญญาตัตถจริยา คือการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อพระญาติ จึงเสด็จไปประทับ ณ พรมแดนระหว่างโกศลกับศากยะ ประทับ ณใต้ต้นไม้มีใบ้น้อยต้นหนึ่งทางแดนศากยะ ถัดมาอีกเล็กน้อยเป็นเขตแดนแคว้นโกศลมีต้นไทรใหญ่ใบหนาร่มครึ้มขึ้นอยู่ พระเจ้าวิฑูฑภะยกกองทัพผ่านมาทางนั้น ทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาจึงเสด็จเข้าไปเฝ้า ถวายบังคมแล้วทูลว่า
"พระองค์ผู้เจริญ! เพราะเหตุไร จึงประทับใต้ต้นไม้อันมีใบน้อยในเวลาร้อนถึงปานนี้ ขอพระองค์โปรดประทับนั่ง ณ โคนต้นไทรอันมีร่มครึ้ม มีเงาเย็นสนิทดีทางแดนโกศลเถิด"
"ขอถวายพระพร มหาบพิตร! ร่มเงาของพระญาติเย็นดี"
พระเจ้าวิฑูฑภะ ทรงทราบทันทีว่า พระศาสดาเสด็จมาป้องกันพระญาติ อนึ่งพระเจ้าวิฑูฑภะทรงระลึกได้อยู่ว่า การได้รับตำแหน่งมเหสีของพระมารดา และตำแหน่งราชโอรสของพระองค์เองคืนมานั้น เพราะการช่วยเหลือของพระบรมศาสดา พระคุณนั้นยังฝังอยู่ในพระทัย คนที่มีความพยาบาทมาก มักเป็นคนมีความกตัญญูด้วยเหมือนกัน คือ จำได้ทั้งความร้ายและความดีที่ผู้อื่นกระทำแก่ตน ด้วยประการฉะนี้ พระเจ้าวิฑูฑภะจึงยกทัพกลับเมืองสาวัตถี แต่ความแค้นในพระทัยยังคงคุกรุ่นอยู่ พระองค์จึงทรงกรีธาทัพไปอีก 2 ครั้ง ได้พบพระศาสดาในที่เดียวกัน และเสด็จกลับเหมือนครั้งก่อน
พอถึงครั้งที่ 4 พระศาสดาทรงพิจารณาเห็นบุพกรรมของพวกศากยะ ที่เคยเอายาพิษโปรยลงในแม่น้ำ ทำให้สัตว์น้ำตายหมู่เป็นอันมาก กรรมนั้นกำลังจะมาให้ผล พระองค์ไม่สามารถต้านทานขัดขวางได้ จึงมิได้เสด็จไปในครั้งที่ 4...."
แล้วทำไมเด็กศากยะแรกเกิดถึงต้องมาตาย ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ทำกรรมอะไรไว้เลย พุทธศาสนาก็อธิบายว่าโดยหลักแล้ว เป็นกรรมเก่าตั้งแต่ปางก่อน ทำกรรมไม่ดีไว้ จึงได้วิบากไปเกิดในถิ่นที่ไม่ดี ช่วงเวลาไม่ดี ได้ผู้ปกครองไม่ดี
ในมหากัมมวิภังคสูตร (ม.อุ.14/62-5/397-8) พระพุทธเจ้าทรงจำแนกบุคคลเป็น 4 ประเภท โดยสัมพันธ์กับการให้ผลของกรรม จับความได้ดังนี้
บุคคลที่ 1 เป็นผู้ประกอบอกุศลกรรมบถ 10 เมื่อแตกกายภายหลังมรณะ เข้าถึงอบาย ทุกคติ วินิบาต นรก ทั้งนี้เพราะเขาได้กระทำกรรมชั่วอันจะพึงเสวยผลเป็นทุกข์ไว้ในกาลก่อน หรือในกาลหลังต่อมา หรือไม่ก็ในเวลาจะตายเขายึดถือมิจฉาทิฏฐิเข้าไว้เต็มที่, การที่เขาประกอบอกุศลกรรมบถ 10 นั้น เขาย่อมได้เสวยผลของมัน ในปัจจุบัน (ทิฏฺเฐว ธมฺเม) หรือในที่ที่เกิด (อุปปชฺเช) หรือในลำดับต่อ ๆ ไป (อปเร วา ปริยาเย)
บุคคลที่ 2 เป็นผู้ประกอบอกุศลกรรมบถ 10 เมื่อแตกกายภายหลังมรณะ เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ทั้งนี้เพราะเขาได้กระทำกรรมดีอันจะพึงเสวยผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อน หรือในกาลภายหลังต่อมา หรือไม่ก็ในเวลาจะตายเขายึดถือสัมมาทิฏฐิเข้าไว้เต็มที่, ส่วนการที่เขาประกอบอกุศลกรรมบถ 10 ไว้นั้น เขาก็ย่อมจะได้เสวยผลของมัน ในปัจจุบัน หรือในที่ที่เกิด หรือในลำดับต่อ ๆ ไป
บุคคลที่ 3 เป็นผู้ประกอบกุศลกรรมบถ 10 เมื่อแตกกายภายหลังมรณะ เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ทั้งนี้เพราะเขาได้กระทำกรรมดีอันจะพึงเสวยผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อนหรือไม่ก็ในเวลาจะตายเขายึดถือสัมมาทิฏฐิเข้าไว้เต็มที่, ส่วนการที่เขาประกอบกุศลกรรมบถ 10 ไว้นั้น เขาก็ย่อมจะได้เสวยผลของมัน ในปัจจุบัน หรือในที่ที่เกิด หรือในลำดับต่อ ๆ ไป
บุคคลที่ 4 เป็นผู้ประกอบกุศลกรรมบถ 10 เมื่อแตกกายภายหลังมรณะ เข้าถึงอบาย ทุกคติ วินิบาต นรก ทั้งนี้เพราะเขาได้กระทำกรรมชั่วอันจะพึงเสวยผลเป็นทุกข์ไว้ในกาลก่อน หรือในกาลหลังต่อมา หรือไม่ก็ในเวลาจะตายเขายึดถือมิจฉาทิฏฐิเข้าไว้เต็มที่, การที่เขาประกอบกุศลกรรมบถ 10 นั้น เขาย่อมได้เสวยผลของมัน ในปัจจุบัน หรือในที่ที่เกิด หรือในลำดับต่อ ๆ ไป
จะว่าคนรุ่นหลังรับกรรมของคนรุ่นก่อนทีเดียวก็เป็นได้ทั้งใช่และไม่ใช่ จะว่าไม่ใช่ก็ไม่ได้ จะว่าใช่ทั้งหมดก็ไม่ได้อีก เป็น probability มังคะ
จากคุณ |
:
เอเธนา
|
เขียนเมื่อ |
:
22 เม.ย. 54 18:21:08
|
|
|
|
 |