 |
วิธีแก้ปัญหาที่กล่าวไว้ใน คคห 3 คือการเสาะแสวงหาสื่อใหม่ๆ
นักเรียนระดับนี้ ใช้ Side by Side สอน เหมาะที่สุด
ไปดูข้อมูลได้ที่นี่
http://www.pearsonlongman.com/ae/marketing/sidebyside/
มันมี 4 ตอน มีทั้งหนังสือและ mp3
บทแรก ของเล่นแรกสอนตั้งแต่ verb to be (คือน่าจะตั้งแต่ระดับประถมไปเลย)
มันสอน conversation กับ grammar ไปพร้อมๆกัน
มีการ์ตูนให้ดูในหนังสือ น่าสนุก
วิธีการก้อคือให้เด็กฟัง audio แล้วหัดพูดตามตัวอย่างประโยค วิธีฟัง audio ครูต้องหยุดเสียงให้ถูกจังหวะ
ถ้าจะให้ดี ตอนแรกให้เด็กหัดฟังแล้วพูดตามโดยไม่ให้เด็กเห็นตัวหนังสือ (คือตอน present รอบแรก ยังไม่ให้ดูหนังสือหรือ sheets ที่ทำจากหนังสือ) ถ้าเด็กฟังไม่รู้เรื่อง ครูก้อพิมพ์ข้อความบนคอมพิวเตอร์ (ต่อกับ projector ฉายขึ้นจอ) แล้วลากเส้นโยง connected speech เพื่อ link พยางค์ทีมี elision (เสียงรวบสั้น) กับ assimilation (เสียงเปลี่ยนไป) ซึ่งจะทำได้ครูต้องมีความรู้เรื่อง phonetics and phonology บ้างพอสมควร...
จากนั้นก้อให้เด็ก improvise นั่นก้อคือ มองรูปภาพในแบบฝึกหัด แล้วมองคำศัพท์ที่ให้มาแค่ไม่กี่คำ แล้วหัดสร้างประโยคใหม่โดยการเลียนแบบประโยคตัวอย่าง โดยการเปลี่ยน subject, verb, object, modifier, etc. นี่เป็นการสอน subject and verb agreement ตั้งแต่ระดับต้นๆ เพราะขนาดเด็กมหาลัยที่อ่อนๆภาษาอังกฤษมากๆ subject and verb agreement ยังผิดเพียบเลยหละ...
การฝึก improvisation จะทำให้เด็กซึมซับ grammar ไปเองตามธรรมชาติ ถัดจากนั้นก้อต่อยอดเป็น role play หรือ dramatization คือให้เล่นละครกัน เป็นฉากๆ
การทำ improvisation ถ้าทำได้คล่องแบบแม่ประยูรกับทินกรเล่นลำตัด คือคิดได้เองสดๆ ละก้อ fluency จะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าครูเก่ง writing พอสมควร ก้อจะคิดแบบฝึกหัด และคิด scenarios เพิ่มเติมจากหนังสือได้อีกตั้งมากมาย
หนังสือ Side by Side ถ้ารู้วิธีใช้อย่างถูกต้อง สอนครบ 4 เล่ม เด็กจะรู้ grammar และ sentence structure types จนครบถึงขั้นระดับ ม.6 แต่จะไม่ได้ศัพท์มากเท่าระดับ ม.6 เว้นเสียแต่ว่าครูจะสอน reading comprehension เพิ่มโดยอาศัยสื่อจากแหล่งอื่นๆมาเสริม (เช่นตัดบทความดีๆจากเวปฝรั่งมาสอน) ซึ่งถ้าค้นคว้าหาวิธีการพลิกแพลงให้ดีๆ จะพบว่า การสอน reading กับ writing พร้อมๆกันไปเลย (หรือที่เขาเรียกว่า reading towards writing) มันเป็นไปได้อย่างแน่นอน แต่ครูที่จะสอนได้จะต้องเก่งภาษาอังกฤษสูสีฝรั่งเจ้าของภาษาที่เขียนภาษาอังกฤษเก่งๆ...
สรุปแล้ว ความสำเร็จในการสอน มันก้อไม่ใช่เฉพาะความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาของครูแต่อย่างเดียว หากแต่ว่าครูต้องออกแรง "ค้นหาสื่อดีๆ ให้เหมาะกับระดับความรู้ของนักเรียน" และรู้วิธี "เล่นแร่แปรธาตุสื่อด้วยวิธีการที่ทันสมัย" นั่นก้อคือใช้ความรู้เรื่อง computer software และ Internet
การเล่นแร่แปรธาตุ ที่ดีที่สุดในกรณีนี้ ก้อคือแทนที่จะใช้ระบบถ่ายเอกสาร เราหา หรือสร้าง ebooks ขึ้นมา แล้ว print บทเรียนออกจากคอมพิวเตอร์ทีละบทสำหรับแต่ละ session ที่สอน
แต่ตอน present ถ้าโรงเรียนเอื้ออำนวยอุปกรณ์ ครูก้อแค่แบก netbook น้ำหนักประมาณ 1 กก เข้าไปต่อกับ projector และจอ กับลำโพง ที่โรงเรียน แล้ว present ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งถ้ามีเน็ตความเร็วสูงให้ด้วย หละจะสามารถสอนข้ามจังหวัด ประเทศ หรือทวีปก้อยังได้
netbook เรามี hard disk จุถึง 300 กว่า GB (จริงๆแล้วต่อ usb hard disk ความจุสูงๆเพิ่มได้ แต่ไม่จำเป็น) ซึ่งเก็บ digital media มากพอที่จะสอนภาษาอังกฤษระดับประถมได้จนสูงถึงระดับสูงๆมากๆได้...โอ้ ซึ่งยังขี้เกียจคำนวณว่าจะสอนได้ระดับสูงมากแค่ไหน...เพราะเราหา digital media มา และสร้างขึ้นใหม่เอง (เล่นแร่แปรธาตุ) เอาไว้อีกตั้งมากมาย
เราไม่ได้เรียนเอกอังกฤษไม่ได้เรียนครู แต่เราค้นคว้าเรื่องพวกนี้แค่ to satisfy my curiosity เท่านั้นเอง
แต่พอจะลงมือสอนจริงๆเข้าเราไม่มีที่จะสอน คือไม่อยากลงทุนเปิดโรงเรียนติว อยากจะสอนในบ้านตัวเอง แต่พ่อเราไม่ชอบให้คนแปลกหน้าเข้ามา เราก้อเลยบางทีแบก netbook ออกไปสอนภาษาอังกฤษตัวต่อตัวตามห้างสรรพสินค้าเล่นๆสนุกๆ ซึ่งได้เงินไม่มากนัก จริงๆแล้วรายได้หลักของเราคือการแปลเอกสาร แต่เมื่อหลายสิบปีก่อนเราเคยประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการสอนภาษาอังกฤษ (ได้เงินเยอะมากๆ) แต่ดันทลึ่งอยากจะเป็นนักแปล ตอนนั้นเรามีโรงเรียนกวดวิชาของตัวเอง แต่ปิดไป (ทั้งๆที่ยังทำเงินได้ตั้งมาก) เพราะบ้าอยากเป็นนักแปล ด้วยความโง่
แต่ตอนนี้เราไม่อยากเล่นกายกรรมโดยการลงทุนไปเช่าที่แพงๆเปิดโรงเรียนกวดวิชาใหม่แล้วหละ แต่ถ้าเกิดพ่อเราจากเราไปแล้วทิ้งบ้านทั้งหลังไว้ให้เรา ถามว่าเราจะสอนภาษาอังกฤษด้วยวิธีการและด้วย digital media ที่เราสะสมไว้หรือไม่
คิดๆแล้วคำตอบคือ "ไม่"
เพราะเราคำนวณทางหนีทีไล่ดูแล้วเห็นว่าหมู่บ้านเรามีฝรั่งรวยๆจาก nichada thani หลงเข้ามาตั้งมากมาย
"เราเปิดสอนภาษาไทยให้ฝรั่งน่าจะได้เงินมากกว่าน่ะ...555+++..."
ฟังๆแล้วตลกว่าทำได้ไง ที่เรามั่นใจว่าได้ ก้อเพราะว่าเราโชคดีค้นเจอตำราเร้นลับ (พร้อมสื่อการสอนครบชุด) ที่ใช้สอนภาษาไทยให้ชาวต่างขาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนักภาษาศาสตร์ขั้นนำของโลกสร้างสรรค์เอาไว้ครบชุดอย่างน่ามหัสจรรย์ มีประสิทธิภาพมากๆ ซึ่งเราเชื่อว่าเราสามารถใช้ตำราและสื่อเหล่านี้สอนภาษาไทยให้ต่างชาติได้ไม่แพ้คนไทยที่เรียนจบปริญญาโทด้านการสอนภาษาไทย
^ ขยายความ แนวคิดหลักๆของเรามันก้อคือว่า
"ตัวแปรที่สำคัญที่จะทำให้การสอนประสบความสำเร็จมันมิใชวุฒิการศึกษาของครูตายตัว อย่างที่ระบบการศึกษาไทยกำหนดไว้แบบหลงผิด เหมือนคนตาบอดคลำทางไป"
หากแต่มันเป็น
precise logic and creative imaginations ที่จะทำให้ครูมีสมองพลิกแพลงในการค้นหาและสร้างสรรค์หรือตัดต่อ (เล่นแร่แปรธาตุ) สื่อการสอนที่ดีที่สุด และเหมาะที่สุดสำหรับระดับความรู้ของนักเรียน และเหมาะกับสถานการณ์จริงในการสอน อีกทั้งรู้จักวางแผนการสอน และการวัดผลอย่่างยืดหยุ่น แม่นยำ และมีประสิทธิภาพอีกด้วย...
และปัจจัยที่สำคัญที่สุดก้อคือ
"ครูต้องหมั่นศึกษาเพื่อเพิ่ม proficiency in English ของตนเองอยู่ทุกวัน โดยไม่ว่างเว้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราสามารถเรียนได้ด้วยตัวเอง"
เมื่อพิจารณาถึงเงื่อนไขต่างๆในการศึกษาแบบไทยๆ (ข้อจำกัดจากกฎเกณฑ์ต่างๆ) เราน่าจะสรุปได้ว่า
ครูที่เก่งที่สุดน่าจะเป็นครูนอกระบบที่สอนที่บ้านหรือที่โรงเรียนกวดวิชาของตัวเอง ไม่ใช่ครูในระบบที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของระบบการศึกษาแบบไทยที่มีแต่ข้อจำกัดตั้งมากมาย
แก้ไขเมื่อ 13 พ.ค. 54 10:38:43
แก้ไขเมื่อ 13 พ.ค. 54 10:32:47
แก้ไขเมื่อ 13 พ.ค. 54 10:23:33
จากคุณ |
:
fortuneteller
|
เขียนเมื่อ |
:
13 พ.ค. 54 10:10:18
|
|
|
|
 |