 |
อันนี้เป็นการสรุปของคุณ digimontamer จากเว็บดังกล่าวครับ
ความคิดเห็นที่ 51
เว็ปเวียดนามนั้นเขาเอาข้อมูลมาจาก Genographic project ของ National geographic หน่ะครับ โดยเขาสนใจว่ายีนส์ Haplogroup O2a ที่พบว่า Y chromosome นั้น ปรากฎเยอะในประชากรกลุ่มที่พูดภาษาในตระกูล ออสโตร-เอเชียติก โดยเฉพาะกลุ่มประชากรที่พูดภาษาตระกูล มอญ-แขมร์ หน่ะครับ
Haplogroup O2a พบมากในชาวกัมพูชาปัจจุบันและชาวเวียดนาม และพอสืบค้นต่อไปก็พบว่า กลุ่มประชากรในอินเดียและเอเชียใต้บางกลุ่ม ก็พบยีนส์ตัวนี้บน Y chromosome เป็นข้อบ่งชี้ว่า ประชากรที่พูดภาษาในตระกูลมอญ-แขมร์นั้น น่าจะอพยพมาจากเอเชียใต้ เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หน่ะครับ
ผมว่างานวิจัยนี้สนับสนุนว่า คนไทยบางส่วน มีบรรพบุรุษเป็นพวกที่พูดภาษาในตระกูลมอญ-แขมร์ ที่อาจจะเป็นพวกเดียวกับขอมพระนครครับ
1. มีการพบ Haplogroup O2a บน Y chromosome ในกลุ่มประชากรไทยภาคกลางเหมือนกัน แต่ในสัดส่วนที่น้อยกว่าประชากรเวียดนามใต้และกัมพูชา
ยีนส์บน Y chromosome นี่จะสืบทอดจากบิดาไปสู่ลูก และลูกชายไปสู่หลานชายครับ มันเป็นยีนส์ที่กลายพันธุ์ได้โดยใช้ระยะเวลายาวนานมาก (หลักหมื่นปีขึ้นไป) ดังนั้นจึงพอใช้บ่งบอกได้ว่า ประชากรบางส่วนในไทย น่าจะสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มประชากรเดียวกับกัมพูชา เพราะปรากฎยีนส์ Haplogroup O2a บน Y chromosome เหมือนกัน
2. อีกตัวที่พบกันมากคือ O2a1 ที่พบทั้งในประชากรไทยภาคกลาง ภาคอีสาน และประชากรกัมพูชาปัจจุบัน และเจ้านี่ก็เป็น subset หนึ่งของ Haplogroup O2a ที่น่าจะกลายพันธุ์มาตั้งแต่ต้น (คือมีความหลากหลายในด้านยีนส์อยู่แล้ว) นี่ก็พอเป็นข้อบ่งบอกได้ว่า ประชากรไทยปัจจุบันบางส่วน ยังสืบทอดยีนส์ในกลุ่ม O2a มาจากประชากรชายยุคโบราณครับ
จากงานวิจัยที่เว็ปนี้อ้างอิงไปคือ www.ncbi.nlm.nih.gov มีการพบตัวยีนส์ O2a1 ในประชากรเอเชียใต้บางเผ่าเช่นกัน แต่ในสัดส่วนน้อย ก็อาจจะบ่งบอกได้ว่า บรรพบุรุษของชาวมองโกลลอยด์ อาจจะอพยพเข้าสู่เอเชียตะวันออก ผ่านทางเอเชียใต้ครับ เพราะยังหลงเหลือกลุ่มคนที่มียีนส์ดังกล่าวในเอเชียใต้
3. ในไทยเราก็พบ Haplogroup O3 เยอะมากๆ โดยเฉพาะไทยภาคกลางแถบกรุงเทพ (อ้างอิงจากภาพในเว็ป http://www.viethoc.org/temp แต่ภาพมันเล็กมาก ดูไม่ค่อยชัดเท่าไหร่) เจ้ายีนส์ O3 นี่จะพบเยอะมากในคนจีนภาคตะวันออกครับ และเจอเยอะเหมือนกันในกลุ่มประชากรที่พูดภาษาตระกูล ซิโน-ทิเบตัน
ซึ่งข้อบ่งชี้ก็อาจจะแบ่งได้ 2 กรณีคือ
- บอกว่าคนไทยเราอพยพมาจากภาคใต้ของจีน และมีบรรพบุรุษร่วมกันมาก่อน (แต่สัดส่วนการพบยีนส์ O3 ในคนไทยภาคอีสานและคนลาวใต้กลับน้อยกว่าแถบกรุงเทพ อ้างอิงจากภาพที่สีแดงอ่อนกว่า ในขณะที่กรุงเทพจะสีม่วงเข้มเลย)
- อีกนับหนึ่งคือ เพราะแถบกรุงเทพนี่ กลุ่มประชากรเป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่อพยพเข้ามาเมื่อสัก 100 ปีก่อนเสียเยอะครับ มันเลยทำให้พอสุ่มตัวอย่างออกมาแล้ว พบแต่ยีนส์ O3 เยอะกว่าท้องที่อื่นๆตามไปด้วย
4. เราทุกคนยอมรับกันว่า ในรอบ 250 ปีมานี้ โครงสร้างประชากรของไทย โดยเฉพาะไทยภาคกลางนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลครับ
ปลายสมัยอยุธยา กลุ่มประชากรหลักของภาคกลางตอนล่าง น่าจะเป็นคนไทยผสม ระหว่างกลุ่มคนในหัวเมืองเหนือ (แถบสุโขทัย-พิษณุโลก)ที่โดนเทครัวลงมาในสมัยสมเด็จพระนเรศวร กับชาวอยุธยาเดิมที่เหลืออยู่ เนื่องจากตอนเสียกรุงครั้งแรก พม่ากวาดชาวอยุธยาไปเสียเยอะ ทั้งเชื้อพระวงศ์ คณะขุนนาง ช่างฝีมือ ชาวบ้าน และพอสมเด็จพระมหาธรรมราชาลงมาครองอยุธยา ก็พาชาวบ้านและคณะขุนนางจากหัวเมืองเหนือลงมาด้วย นั่นทำให้โครงสร้างประชากรในสมัยปลายอยุธยา กับต้นอยุธยาไม่เหมือนกันแล้วหล่ะครับ
นอกจากนี้ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเป็นต้นมา ยังมีกระแสอพยพของชาวมอญ ที่หนีสงครามจากฟากขะโน้นของตะนาวศรีเข้ามารวมด้วยอีกมากมาย และยังชาวจีนอพยพอีก แต่ก็น่าจะเป็นสัดส่วนที่ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับประชากรจากหัวเมืองเหนือผสมคนอยุธยาดั้งเดิม
แต่พอต้นรัตนโกสินทร์ ประชากรเดิมของอยุธยาตอนปลายหายไปบางส่วน แต่มีการไหลบ่าของประชากรกลุ่มใหม่มาเพิ่มอย่างมหาศาล ทั้งชาวมอญที่หลบหนีการฆ่าล้างของราชวงศ์คองบอง, คนจีนแต้จิ๋วที่อพยพเข้ามาเรื่อยๆ, ชาวมลายูจากปัตตานี และชาวลาวสารพัดกลุ่มที่ถูกกวาดต้อนลงมา
พอถึงช่วงรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา จำนวนประชากรกลุ่มอื่นๆคือลาวและมอญ น่าจะหยุดการไหลเข้ามาแล้ว แต่ประชากรจีนอพยพกลับไหลเข้ามามากขึ้นอย่างมหาศาลครับ นั่นทำให้โครงสร้างประชากรในยุครัชกาลที่ 7 เป็นต้นมานี่ ในภาคกลางตอนล่าง มีประชากรต่างถิ่นอยู่เต็มไปหมด
จึงไม่เป็นการแปลก ที่หากการพบ Haplogroup O2a ในประชากรไทยภาคกลางจะลดน้อยลง เพราะประชากรเดิมที่ถูกกวาดมาจากเมืองพระนครนั้น น่าจะหายไปบางส่วนตั้งแต่ตอนเสียกรุงครั้งแรก, และโดนผสมปนเปเพิ่มมาตลอดในช่วง 400 ปีที่ผ่านมา จนทำให้กลุ่มยีนส์ของประชากรหลักของไทยเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
ในขณะที่กัมพูชามีการไหลบ่าของประชากรต่างถิ่นเข้ามาน้อยกว่า (อย่างกัมพูชานี่มีแต่ไหลออก หุหุ) พวกเขาเลยมีการกระจายตัวของยีนส์หรือความหลากหลายของตัวอย่างประชากรน้อยกว่าไทย
5. อย่างที่เราทราบกันดีว่า Y chromosome ถ่ายทอดจากบิดาสู่ลูกชาย หรือก็คือเป็นการลำดับสายกลับไปทางบุรุษเพศนั่นแลครับ ตรงนี้แลที่ทำให้เกิดการบิดเบี้ยวได้ เนื่องจากมันถ่ายทอดทางบุรุษเพศ ซึ่งเป็นเพศที่มีอำนาจปกครองหรือทำสงครามครับ
สมมติคนเผ่าไทอพยพลงมาพิชิตพวกคนดั้งเดิมในแถบนี้ แน่นอนว่า พวกเขาคือผู้พิชิต และคนที่เป็นใหญ่ในสังคมคือผู้ชาย ผู้ชายของฝ่ายชนะจึงมีโอกาสที่จะถ่ายทอดพันธุกรรมหรือสืบทอดทายาทได้มากกว่าผู้ชายของฝ่ายที่เป็นผู้แพ้
นี่เป็นอีกสาเหตุได้หรือไม่ว่า ทำไมเราพบ O2a หรือ O2a1 ได้น้อยในคนไทย เพราะผู้ชายไทยยุคก่อนเรามียีนส์ O3 มากกว่า พอรบชนะพวกผู้ชายแขมร์หรือขอม ก็เลยได้สืบทอดยีนส์แทน
ซึ่งถ้าเราไปพิจารณา mitochondrial DNA ซึ่งสืบทอดจากเพศหญิงประกอบไปด้วย ก็จะมองเห็นผลแตกต่างหรือไม่ครับว่า คนไทยบางส่วนสืบสายเลือดจากขอมโบราณ ผ่านเพศหญิง
อย่างในกลุ่มตัวอย่างชาวจีนฮั่นนี่ ถ้าดู Y chromosone haplogruop ก็จะเห็นว่าผู้ชายจีนทั้งเหนือและใต้ มีกลุ่มการกระจายของชนิดยีนส์บน Y ไม่แตกต่างกันมากเกินไปนัก แต่ถ้าไปดู mitochondrial DNA ความแตกต่างก็จะมากขึ้น เพราะบรรพบุรุษทางเพศหญิงมีความหลากหลายมากกว่า บรรพบุรุษทางเพศชาย
จากคุณ : digimontamer เขียนเมื่อ : 11 พ.ค. 54 10:39:23
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/05/K10538938/K10538938.html
จากคุณ |
:
นกกินเปี้ยว
|
เขียนเมื่อ |
:
9 ก.ค. 54 14:34:01
|
|
|
|
 |