 |
รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เจ้านายที่มีอำนาจซึ่งล้วนแต่เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทั้งสิ้นมีสามฝ่ายด้วยกันและแต่ละฝ่ายก็มีขุนนางหนุนหลังกันมากเป็นการแบ่งอำนาจในราชสำนักไปในตัว
ฝ่ายแรก คือ สมเด็จพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง เป็นพระราชโอรสที่ประสูติแต่สมเด็จพระพันวสาใหญ่กรมหลวงอภัยนุชิต ฝ่ายนี้สิ้นอำนาจไปหลังเจ้าฟ้ากุ้งต้องพระราชอาญาสิ้นพระชนม์ ด้วยฝีมือของพันธมิตรเจ้าสามกรมเพราะแค้นใจที่ขุนนางในกรมโดนพระบัณฑูรโบยหลังด้วยข้อหามีบรรดาศักดิ์สูงเกินศักดิ์(เจ้ากรมปลัดกรมของสามกรมนี้เป็นขุน ทั้งที่เจ้ากรมของกรมหมื่น) จึงร่วมกันกราบทูลว่าพระมหาอุปราชเป็นชู้ด้วยเจ้าฟ้านิ่มและเจ้าฟ้าสังวาลย์
ฝ่ายที่สอง คือ เจ้าฟ้าเอกทัศ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี และเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต ทั้งสองพระองค์เป็นพระราชโอรสที่ประสูติแต่สมเด็จพระพันวสาน้อยกรมหลวงพิพิธมนตรี(พระพันวสาทั้งสองพระองค์เป็นพี่น้องกัน) ภายหลังเจ้ากุ้งสิ้นพระชนม์ เจ้าฟ้าอุทุมพรได้เป็นพระมหาอุปราชแทน ด้วยเหตุสองประการคือ พระราชชนกนาถทรงโปรดเจ้าฟ้าอุทุมพรและขุนนางที่หนุนเจ้าฟ้าอุทุมพรมีตำแหน่งอำนาจในราชสำนักมาก ส่วนเจ้าฟ้าเอกทัศโดนบังคับให้บวชที่วัดกระโจม จนพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสวรรคตจนลาผนวช
ฝ่ายที่สาม คือ พระองค์เจ้าสี่กรม ประกอบด้วย พระองค์เจ้าแขก กรมหมื่นเทพพิพิธ,พระองค์เจ้ามังคุด กรมหมื่นจิตรสุนทร,พระองค์เจ้ารถ กรมหมื่นสุนทรเทพ,พระองค์เจ้าปาน กรมหมื่นเสพภักดี เจ้าทั้งสี่กรมประสูติแต่เจ้าจอมมารดา ภายหลังเจ้าฟ้าอุทุมพรขึ้นครองราชย์ได้โปรดให้พระราชาคณะไปเกลี้ยกล่อมเจ้าสามกรมให้มาถวายสัตย์ซึ่งก็ยอมแต่โดยดี แต่ก็แอบส่องสุมผู้คนหนักเข้าถึงกับเอาคนมาจุกตามประตูวังและวัดพระศรีสรรเพชญ์จึงมีพระราชปรารภให้เจ้าทั้งสี่ไปบวชเสียเป็นการช่วยมิให้ต้องรบราฆ่าฟันกันมีเพียงกรมหมื่นเทพพิพิธเท่านั้นที่ยอมบวช ส่วนอีกสามกรมมีท่าทีจะก่อการรัฐประหาร จึงโดนเจ้าฟ้าเอกทัศโดยความเห็นชอบของเจ้าฟ้าอุทุมพรล้อมจับในขณะเข้าเฝ้าและสำเร็จโทษที่วัดโคกพระยา(คนที่คุมการสำเร็จโทษว่ากันว่าโปรดให้พระองค์เจ้าอาทิตย์พระโอรสในเจ้าฟ้ากุ้งเป็นคนคุมเพื่อเป็นการแก้แค้น)
จากคุณ |
:
arawadee
|
เขียนเมื่อ |
:
11 ก.ค. 54 12:31:37
|
|
|
|
 |