 |
หนังสือราชการไทยแปลเป็นอังกฤษหรือเปล่า? ถ้าใช่ มันแปลยากมากๆ ถ้าไม่ชำนาญจริงๆคำแปลภาษาอังกฤษจะออกมาเป็นภาษาอังกฤษแบบไทยๆ ตลกมากๆ ยิ่งต้องการ word-for-word translation แบบที่คุณว่าน่ะ รับรองว่าเละจนสร้างความเสียหายอย่างยับเยิน
เราเป็นหนึ่งในนักแปลที่แปลเอกสารราชการได้ชำนาญมากที่สุด มีชั่วโมงบินมากกว่า 15 ปี แปลออกมาแล้วรับรองว่าภาษาอังกฤษไม่มีกลิ่นกะปิน้ำปลาแน่ๆ
แต่จะบอกให้ว่า
พอเห็น เงื่อนไขแบบนี้
The translation must be a word-for-word translation of the original language document.
^ เราไม่รับแปลให้หรอก แฟนเราที่จบอักษรศาสตร์จุฬาและปริญญาโทการแปลจุฬาก็เคยบ่นให้ฟังว่าเคยเจอลูกค้ากำหนดเงื่อนไขนี้ เธอก็ไม่รับแปลเหมือนกัน
ลูกค้าที่ตั้งเงื่อนไขแบบนี้ "ขุดหลุมฝังศพให้แก่ตัวเอง"
เพราะอะไร?
คุณต้องเข้าใจว่าคนไทยเป็นชาติที่ใช้ meaning shift เก่งที่สุด จนพูดได้ว่า
Many Thais do not say what they mean and do not mean what they say.
เคยมีหน่วยงานระดับกรม เขียนโครงการพัฒนา software ระดับยักษ์เป็นภาษาไทยที่เต็มไปด้วย meaning shift เพื่อจ้างบริษัทข้ามชาติพัฒนา software บริษัทข้ามชาติจ้างบริษัทแปลซึ่งมีทีมงานนักแปลที่เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และเชี่ยวชาญด้านการแปลตั้งมากมายหลายคนให้มาช่วยๆกันระดมกำลังกันแปล พอแปลเสร็จ บริษัทข้ามชาติพัฒนา software ผิดพลาด กรมไม่ยอมจ่ายค่า software บริษัทข้ามชาติก็ไม่ยอมจ่ายค่าแปล พินาศวอดวายไปเป็นเงินตั้งหลายล้านบาท
ถ้าเป็นโครงการใหญ่ๆแล้วนักแปลคนไหนไปแอ่นอกรับแปลตามเงื่อนไขนี้ละก้อ แสดงว่า
"นักแปลอ่อนหัดเอาซะมากๆ"
นับได้ว่า
"นักแปลกับลูกค้าร่วมมือกันขุดหลุมฝังศพตัวเอง"
ลองไปศึกษาดูว่า นิสัยของคนไทยในการใช้ meaning shift ฆ่านักแปลที่แปล word for word ได้อย่างไร ที่กระทู้นี้
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/03/K7593415/K7593415.html
ไปดูอีกตัวอย่างหนึ่งว่า
การแปล word for word ทำให้กลายเป็น "แปลผิดอย่างจัง" ได้ยังไง ที่กระทู้นี้
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/06/K9353525/K9353525.html
^ จริงๆแล้วเรานำเรื่องนี้ไปปรับปรุงเขียนใหม่อีกรอบบน blog เราใน section เรื่องตัวอย่างการแปล ซึ่งแก้ไขไปแล้วให้ดีกว่านี้หน่อยหนึ่ง ถ้าสนใจศึกษาก็ลองไปอ่านดูได้ที่นี่ (กำลังจะเขียนต่อ แต่มัวแต่ทดสอบ software เรียนภาษาจีนอยู่)
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=fortuneteller
เราเคยไปเป็นล่ามที่ศาล ทนายฝ่ายตรงกันข้ามที่เก่งภาษาอังกฤษมากๆ รู้วิธีพูดไทยในศาลหลอกให้ล่ามแปลผิดเพราะแปล word for word ซึ่งจริงๆแล้วมันเป็น tricks ในการสู้คดีกันในศาล ที่เราเคยเจอมาแล้วอย่างแสนสาหัส กว่าจะรอดชีวิตมาได้ก็แทบแย่ เราต้องหยุดแปลแล้วประท้วงกลางศาลอย่างรุนแรงเพื่อขอให้ศาลออกคำสั่งให้ทนายฝ่ายตรงข้ามเรียบเรียงภาษาไทยใหม่ ไม่ให้มี meaning shift มากจนถึงขั้นหลอกลวงล่ามให้แปลผิด แล้วมีปัญหากับการพิจารณาตีความคำให้การของทั้งโจทก์และจำเลย!
นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความพินาศที่ได้จาก word-for-word translation
จะสาธิตให้ดูจากงานที่เราทำไปเมื่อไม่นานนี้
นักศึกษารายหนึ่งหา editor เพื่อมาตรวจแก้ thesis ของเธอที่แปลจากไทยเป็นอังกฤษ ก็มาจ้างแฟนเรา แต่แฟนเราไม่ว่าง เลยให้เรา edit (ตรวจแก้) คำแปลแทน
ภาษาไทยเป็นอย่างนี้
3. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีเพศ ระดับการศึกษาต่างกัน มีทรรศนะต่อการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาพรวมไม่แตกต่างกัน...(ยังมีต่ออีกยาว).... ^ จำไม่ได้แล้วว่านักศึกษาแปลไทยเป็นอังกฤษมาว่ายังไง แต่เราแก้คำแปลภาษาอังกฤษแล้วมันออกมาประมาณนี้
3.Hypothesis test results: Overall, the executives (เขียนแค่ executives เพราะพูดตัวเต็มไปแล้วแต่ต้น) of different sexes and educational backgrounds did not express different views on the operation of the center;(อันนี้ก็เขียน center ย่อๆเพราะพูดเต็มๆไปแล้ว)...
แล้วอาจารย์ระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์แก้ภาษาอังกฤษของเราอีกรอบหนึ่ง (เราเห็นเพราะนักศึกษาเอามาให้ข่วยแก้ไขข้อมูลที่เธอแปลเพิ่ม) อาจารย์ท่านนั้นแก้ภาษาอังกฤษเราแบบยำใหญ่ทุกบรรทัดจนเละเลย เราก็สงสัยตะหงิดๆว่าอาจารย์ท่านคงเก่งภาษาอังกฤษแบบสอนมวยเราได้ แต่...โอ้อนิจา...
อาจารย์ทั่นแก้ แล้วภาษาอังกฤษมันออกมาเป็นแบบนี้...ฮ่าๆๆๆ...เอิ้กๆๆ...
3. The hypothesis test found that the executives who were different in sex, and educational level had no different attitude towards the operation of the center;...(ยังมีต่อ (แบบแก้แล้วดูไม่ได้ ยิ่งเลวลงกว่าเดิม) อีกยาวมากๆ)
^ ลองบริกรรมดูให้ดึๆ แล้วคุณจะเห็นว่าในเชิง logic แล้วไซร้ The hypothesis test ไม่สามารถเป็น subject ทำกริยา found ในประโยคนี้ได้อย่างแน่นอน (คนที่ทำกริยา found มันต้องเป็น researcher ต่างหากล่ะ) นั่นก็หมายความว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ท่านนี้ แปลไทยเป็นอังกฤษแบบ word-for-word translation แล้วสร้างความพินาศให้แก่งานแปลอย่างยับเยิน โดยการหลับหูหลับตาแก้ภาษาอังกฤษของเราที่เราเขียนโดยพยายามหลีกเลี่ยง word-for-word translation ไปแล้วอย่างระมัดระวัง!
Therefore, the employer and the translator should think carefully about the self grave digging terms and conditions such as
"The translation must be a word-for-word translation of the original language document."
ขอให้ จขกทและนักแปลที่รับงานชิ้นนี้ รวมทั้งหน่วยงานที่ใช้งานแปลชุดนี้ จงโชคดีกันโดยถ้วนหน้า!
แก้ไขเมื่อ 28 ก.ค. 54 15:36:46
แก้ไขเมื่อ 28 ก.ค. 54 15:24:43
จากคุณ |
:
fortuneteller
|
เขียนเมื่อ |
:
28 ก.ค. 54 15:14:22
|
|
|
|
 |