 |
เราได้ยินมาจากคนที่เรียนการแปลหลายๆคนว่าพวกเขาทำงานแบบที่ จขกท กำลังทำ โดยใช้นิยายหรือหนังสือหรือวารสารเล่มใดเล่มหนึ่ง แต่เราไม่คิดว่ามันจะให้ประโยชน์มากนักในเรื่องการเรียนการสอนการแปล เนื่องจากมันไม่ครอบคลุม sentence structure types และ writing styles มากพอ
เมื่อ 2-3 ปีก่อนนั้นตอนที่เราช่วยสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งจัดทำ workshop เพื่ออบรมนักแปล เราหา texts ภาษาอังกฤษที่มีความยาวเพียงแค่ 1-3 paragraphs มาหลายๆชุด แต่เลือกเอาเฉพาะที่มันมีโครงสร้างและวัจนลีลาซึ่งหลากหลายมากๆ (ซึ่งน่าจะเป็นอุปสรรคต่อการแปล (เพราะหาโครงสร้างและความหมายที่เทียบเท่าในภาษาไทยได้ยากมากๆ))เอามาใช้เป็น materials ใน presentation ของเรา
เราใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการไล่ล่าหา texts ภาษาอังกฤษพวกนั้น โดยการเปิดหนังสือของเราแล้วอ่านกระโดดไปกระโดดมา และ google ด้วย keywords พวกนี้คือ
inversion, absolute construction, appositive, interrupting phrase และอื่นๆอีกมากมายที่เป็น topics เกี่ยวกับ syntax และ writing
และเรา filter มันอีกรอบหนึ่งโดยการสรรหาพวก similes and metaphors ที่นักเขียนฝรั่งใช้มันอย่างสติเฟื่องหลุดโลก ซึ่งหากแปลเป็นไทยโดยซื่อสัตย์ต่อต้นฉบับแล้วละก้อรับรองได้ว่า
"คำแปลภาษาไทยต้องออกมาเป็น absolute nonsense อย่างแน่นอน นักแปลจึงจำเป็นต้อง strawberry ไปแบบข้างๆคูๆหรือแบบเจ้าเล่ห์ ม่ายงั้นคนอ่านปวดหัวด่าคนแปลแน่ๆ" "
ทำไมคุณไม่ลองทำงานชุดนี้แนวนี้บ้าง เราว่าน่าจะเป็นวิธีการฉีกแนวออกไปจากสิ่งที่นักศึกษาการแปลเคยทำมาก่อนซ้ำๆกัน (ซ้ำแนวทาง แค่ไม่ซ้ำชื่อหนังสือเท่านั้นเอง)
หมายเหตุ texts ที่เราใช้ใน presentation นั้น เราcopy and paste มาจากแหล่งที่มาซึ่งบหลากหลายมากๆ เช่น web contents, commercial writing, legal documents, novels, howtos ฯลฯ
คือจริงๆแล้วแทนที่เราจะศึกษาทฤษฎีการแปลเพื่อเรียนการแปล เรากลายเป็นเรียนการแปลมาจากการศึกษาความเป็นไปได้ในการเดินหมากรุกฝรั่ง จนเราใช้ analogy แปรรูปออกมาเป็น กลไกในการก่อสร้างและรื้อถอน sentence structure ของภาษาอังกฤษและภาษาไทยกลับไปกลับมา
ลองไปอ่าน concepts ที่เราใช้ในการเรียนการสอนการแปล ซึ่งเราคิดค้นขึ้นมาได้เอง (เพราะเราเป็นนักคิดแหกคอก เราจึงเกลียดการเรียนทฤษฎีการแปลที่คนอื่นคิดไว้) ได้ที่กระทู้นี้
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/06/K7934208/K7934208.html
จากคุณ |
:
fortuneteller
|
เขียนเมื่อ |
:
6 ส.ค. 54 23:30:03
|
|
|
|
 |