 |
ผมขอตอบเฉพาะเรื่องข้อเท็จจริงนะครับ ส่วนประเด็นการวิเคราะห์นั้น ท่านอื่น ๆ เช่นคุณ V_Mee น่าจะตอบได้ดีกว่า
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ทรงเสกสมรสทั้งสิ้น ๔ ครั้ง ครั้งแรกทรงเสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงลักษมีลาวัณย์ ในการนี้โปรดให้เลื่อนพระอิสริยยศเป็น "พระนางเธอ"
ต่อมาทรงแยกกันอยู่กับพระนางเธอฯ แล้ว ทรงเสกสมรสกับนางสาวเปรื่อง สุจริตกุล โปรดให้เป็นพระสนมเอก บรรดาศักดิ์ที่ "พระสุจริตสุดา" เป็นครั้งแรกที่มีการตั้งข้าราชการสตรี ให้มีบรรดาศักดิ์ (ในสี่แผ่นดิน ปรากฎเกี่ยวกับตอนนี้ว่าแม่ช้อยกระวีกระวาดอยากเป็น "คุณพระ" กับเขาบ้าง)
ต่อมาทรงรับนางสาวประไพ สุจริตกุล น้องสาวของคุณพระฯ เป็นพระสนมเอกอีกคนหนึ่ง โปรดฯ ให้มีบรรดาศักดิ์ที่ "พระอินทราณี" ต่อมาคุณพระฯ ตั้งครรภ์ จึงทรงสถาปนาให้เป็น "พระวรราชชายาเธออินทรศักดิ์ศจี" และเป็น "สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี" ในที่สุด อย่างไรก็ตาม ได้ทรงแยกกันอยู่ในภายหลัง
ต่อมาทรงรับนางสาวเครือแก้ว อภัยวงศ์ มาเป็น "เจ้าจอม" (น่าสังเกตว่ามิได้โปรดให้มีบรรดาศักดิ์) ต่อมาเมื่อคุณจอมฯ ตั้งครรภ์ จึงโปรดฯ สถาปนา้เป็น "พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี" ในที่สุด
เรื่อง "พระราชินี" ของตะวันตกนั้น หมายความว่า พระราชาธิบดี จะทรงมีพระราชินี ได้เพียงพระองค์เดียว ในเวลาเดียวกันครับ คือตามกฎหมายและตามศาสนาแล้ว ชาย และหญิง แต่ละคนจะมีคู่สมรสได้เพียงคนเดียว ดังนั้นภริยาที่ถูกต้องตามกฎหมายของชายที่เป็นพระราชาธิบดี ย่อมเป็นพระราชินี
ส่วน "พระสนม" นั้น ความจริงแล้วจะใช้คำว่า "พระสนม" ก็ไม่น่าจะถูก เพราะสถานะแตกต่างจากทางฝั่งตะวันออก กล่าวคือในประเทศที่เป็นระบบผัวเดียวหลายเมีย เช่นไทย, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี "เมีย" ทุกคน, แม้จะมีฐานะแตกต่างกัน, แต่ก็เป็นเมียที่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น บุตรที่เกิดแต่ภริยาน้อย ก็เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายทั้งนั้น อันธรรมเนียมนี้ต่างจากตะวันตก ที่บุตรที่ไม่ได้เกิดจากภริยา (โดยชอบด้วยกฎหมาย) เป็ยบุตรนอกสมรส - - bastard ทั้งสิ้น
จากคุณ |
:
ohmygodness
|
เขียนเมื่อ |
:
10 ส.ค. 54 12:43:45
|
|
|
|
 |