 |
^ ^ เราว่า คคห 3 พูดถูกนะ
ประเด็นหลักที่พวกเรามุ่งกันก็ได้แต่ยกย่องเด็กเรียนได้คะแนนสูงๆแข่งวิชาอะไรต่อมิอะไรชนะโอลิมปิก ทั้งๆที่คนเก่งมากๆขนาดนี้ก็ไม่ได้เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศชาติ
คนที่สมองไม่เหมาะกับการเรียนรู้ด้านวิชาการก็ควรเรียนวิชาชีพ หรือถ้าไม่ได้เลย แต่ไปเป็นผู้ใช้แรงงาน ก็ควรได้รับโอกาสในสังคมบ้าง
ลองมาดูเหตุการณ์ผู้ใช้แรงงานอังกฤษปลดแอกตัวเองกัน ในสมัย Edward Heath เป็นนายกอังกฤษ ช่วง 1970-1974 ผู้ใช้แรงงานในประเทศอังกฤษตั้งแต่คนงานเหมืองถ่านหิน คนขับรถ bus คนขับรถไฟ เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ คนเก็บขยะ กรรมกรก่อสร่างทั่วๆไปฯลฯ ที่มีสหภาพแรงงานอันแข็งแกร่งระดมพลกันนัดหยุดงานและสร้างความปั่นป่วนให้ประเทศอังกฤษเป็นอย่างมาก พวกเขาเรียกร้องค่าแรงมากเท่าๆหรือมากกว่าคนเรียนจบวุฒิสูงมาซะอีก แล้วก็ได้มาในที่สุดจนกรรมกรอังกฤษสามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมได้โดยไม่ต้องโดนคนเรียนจบวุฒิสูงๆดูถูกเอา "เพราะเขาก็หาเงินได้มากเท่าเหมือนกัน"
ในช่วงระหว่างการต่อสู้ในประเทศอังกฤษระหว่างคนไม่จบปริญญาแล้วต้องเป็นกรรมกร กับคนจบปริญญาแล้วนั่งทำงานในสำนักงานหรูๆนั้น นายก Edward Heath พยายามต่อสู้กรรมกรโดยการออกกฎหมายให้การเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานกลายเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย แต่ในที่สุดมันกลายเป็นทำให้รัฐบาลของเขาต้องถึงกับล่มสลายไป (ดูข้อความข้างล่างนี้) เนื่องจากประเทศอังกฤษไม่มีประเพณีที่นายกสั่งทหารถือาวุธสงครามเข้าสลายการชุมนุม
Heath attempted to rein in the increasingly militant trade union movement, which had so far managed to stop attempts to curb their power by legal means. His Industrial Relations Act set up a special court under the judge Lord Donaldson, whose imprisonment of striking dockworkers was a public relations disaster that the Thatcher Government of the 1980s would take pains to avoid repeating (relying instead on confiscating the assets of unions found to have broken new anti-strike laws). Heath's attempt to confront trade union power resulted in a political battle, hobbled as the government was by inflation and high unemployment. Especially damaging to the government's credibility were the two miners' strikes of 1972 and 1974, the latter of which resulted in much of the country's industry working a Three-Day Week in an attempt to conserve energy. The National Union of Mineworkers won its case but the energy shortages and the resulting breakdown of domestic consensus contributed to the eventual downfall of his government.
แหล่งที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Edward_Heath
^ คราวนี้เรามาดูเหตุการณ์ที่คล้ายๆกัน ในประเทศไทย ถ้าใครเกิดทันสมัยผู้ใช้แรงงานประท้วงแบบเดียวกันในประเทศไทย ก็จะรู้ว่า รัฐบาลไทยในสมัยนั้น "ตั้งข้อหาผู้ประท้วงว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ก่อการจลาจล และข้อหาแรงๆอย่างอื่นอีกมากมาย" และรัฐบาลก็ใช้ทหารเอาอาวุธสงครามเข่นฆ่าผู้ประท้วงเพื่อสลายการชุมนุม จนในที่สุดกรรมกรไทยไม่สามารถปลดแอกตัวเองได้เหมือนในประเทศอื่นๆที่เจริญแล้ว
^ เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังลึกๆก็คือ
"ในเมืองไทยนายทุนผู้เป็นเจ้าของโรงงานที่ต้องอาศัยแรงงานราคาถูกๆเพื่อทำกำไร และนายทุนพวกนี้กับคนในรัฐบาลมีผลประโยชน์ร่วมกัน"
^ ด้วยเหตุนี้ สังคมไทยจึงยึดกับระบบเจ้าขุนมูลนายมาตลอด ผู้คนส่วนใหญ่จึงมักจะดูถูกคนที่ไม่มีปริญญาและต้องไปทำงานใช้แรงงาน ดูถูกราวกับว่าพวกเขาไม่ใช่มนุษย์
ด้วยเหตุนี้การเอ็นเข้ามหาลัยในสังคมไทยจึงดูเหมือน "การตัดสินอนาคตของเด็กไทยเกือบทุกคน"
ผลที่ออกมาก็คือ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสถาบันการศึกษาที่ต่ำกว่ามาตรฐานหลายๆแห่งออกมาผลิตบัณฑิตที่สมองและระดับการเรียนอยู่ในระดับที่ แท้จริงแล้วไปเรียนวิชาชีพจะก้าวหน้ากว่า การรองรับคนเอ็นไม่ติดมหาลัยดีๆมีอยู่สมัยหนึ่ง
"ทำให้รัฐบาลสมัยนั้นต้องจัดตั้งวิทยาลัยครูขึ้นมา เพื่อช่วยคนเอ็นไม่ติดมหาลัยดีๆไม่ให้ต้องไปเป็นกรรมกร (เพราะกรรมกรไทยไม่มีอนาคต) และ
"คนเรียนไม่เก่งพวกนี้ยังไม่ตายหมด แต่ยังคงเป็นใหญ่ในระบบการศึกษาไทย (พวกเขาถึงคิดไม่เก่งและเป็นตัวต้นเหตุของความล้มเหลวทางด้านการศึกษาไทย)"
และพวกเขาแปรรูปพรรคพวกที่ไม่เก่งออกไปเป็นมหาลัยที่ผลิตครูที่ไม่เก่งออกมาปีละตั้งมากมาย เพื่อไปสอนเด็กให้ไม่เก่งอีกตั้งมากมาย และ
"พวกครูที่ไม่เก่งพวกนี้ พอโดนคนเรียนเก่งๆสายอื่นมาแย่งงานครูก็เลยระดมกำลังกันผลักดันรัฐบาลให้รู้เห็นเป็นใจออกกฎระเบียบใบอนุญาตครูขึ้นมาปกป้องอาชีพพวกเขา"
และจำนวนบัณฑิตที่ต่ำกว่ามาตรฐานที่มาจากมหาลัย "ป้องกันคนเป็นกรรมกร" มีอยู่เกลื่อนกลาดเหล่านี้ ส่วนใหญ่มุ่งไปเป็นครูกันเพราะเงินเดือนต่ำ ไม่ต้องใช้ความเก่งด้านการเรียนแก่งแย่งกันเหมือนอาชีพอื่นๆ แม้กระทั่งคนจบมหาลัยระดับดีๆของรัฐถ้าจบมาเกรดต่ำก็ไปเป็นครู (หรืออาชีพอื่นที่รายได้ต่ำๆ) กัน เพราะแข่งในตลาดงานสู้เขาไม่ไหว
^ ซึ่งจริงๆแล้วถ้าพวกเขาไม่ยึดติดกับค่านิยม แต่หาทำเลเหมาะๆไปยืนขายของข้างทางยังจะได้เงินมากกว่าซะอีก อย่างเช่นเราเคยเห็นเด็กหนุ่มคนหนึ่งเอาหนังมาตัดเป็นเข็มขัดแล้ววางขายแบกะดิน วันหนึ่งขายไปได้ตั้งหลายๆพันบาท หรืออาหมวยคนหนึ่งขับรถราคาหลายล้านมานั่งขายบะหมี่อยู่ข้างทางแถวๆเยาวราช
หรือในทางกลับกันเคยเห็นคนจบวิศวะมาแต่ไปรับจ้างแปลเอกสารตามร้านแปลก๋วยเตี๋ยวเรือแถวๆ ถ.เพลินจิต แค่หน้าละ 150-200 บาท (ร้านแปลก๋วยเตี๋ยวเรื่องคือร้านแปลที่คิดค่าแปลหน้าร้านถูกๆประมาณหน้าละ 300-400 บาท แล้วจ้างนักแปลๆลวกๆแบบสุกเอาเผากินเพื่อกินหัวคิวนักแปล 50%)ในขณะที่นักแปลเก่งๆระดับมืออาชีพจริงๆได้ค่าแปลมากกว่านั้นตั้งหลายเท่า ซึ่งถ้าวิศวกรคนนั้นมีความสามารถจริงๆเขาคงไปทำงานวิศวะเงินเดือนๆละเป็นแสน
จริงๆแล้วความวุ่นวายต่างๆในระบบการศึกษาไทย มันก็คือ
"สร้างภาพลวงว่าถ้าใครเรียนประถมและมัธยมแล้วสอบเข้าแพทย์กับวิศวะหรือคณะอะไรที่จบมาแล้วหาเงินมากๆไม่ได้ก็ถือว่าล้มเหลว"
แต่จริงๆแล้วสังคมเราควรเปลี่ยนค่านิยม แล้วหันมาดูแลคนเรียนไม่จบปริญญาให้มากกว่านี้ ให้เกียรติ์คนเรียนด้านวิชาชีพให้มากกว่านี้ เพราะพวกเขาก็มีศักดิ์ศรีของความเป็นคนเหมือนๆกัน ....................................................................
จริงๆแล้วคนอังกฤษที่เข้ามหาลัยไม่ได้แล้วไปทำงานก่อสร้างเป็นจำนวนมากกลายเป็นเศรษฐีใหม่ไปเพราะค่าแรงก่อสร้างที่สูงมากๆ ประเทศเขาถึงไม่ต้องผลิตครูที่ไม่เก่งขึ้นมาตั้งมากมายเพื่อช่วยไม่ให้คนเข้ามหาลัยไม่ได้ ไม่ให้ต้องไปเป็นกรรมกร (เพราะเป็นกรรมกรประเทศเขาก็รวยได้)
แต่กระนั้นก็ตามคนของเขาที่ไม่ได้จบปริญญามาแต่ไปทำงานใช้แรงงาน จะกลับมาเรียนต่อรัฐบาลเขาก็ให้โอกาส เพราะ "มีเงินทุนให้คนเรียนได้ในระดับไม่เก่งกาจ" ให้เรียนจนจบปริญญาได้ หลังจากที่ไปทำงานใช้แรงงานมาแล้ว แต่จบมาก็ได้มาตรฐาน (เพราะอาศัยประสบการณ์ชีวิตมาช่วยไว้) ไม่ใช่ "จ่ายเงินครบจบแน่ๆ" เพราะถ้าไม่ได้มาตรฐานรัฐบาลอังกฤษล่มจมแน่ๆเนื่องจาก "เอาเงินภาษีประชาชนมาจ่ายเงินค่าเล่าเรียนให้นักศึกษาพวกนี้ + เบี้ยเลี้ยง เพื่อให้กลับเข้ามาเรียนรู้ด้านวิชาการได้หลังจากพลาดท่าตอนเข้ามหาลัยไม่ได้เมื่ออายุยังน้อยๆอยู่" ....................................................................
ข้อแตกต่างระหว่างไทยอังกฤษก็คือ
ในประเทศไทยคนทำงานค่าแรงน้อยๆไม่เคยลืมตาอ้าปากได้ ประท้วงไปก็โดนข้อหาหนัก
แต่ในทางกลับกัน
เด็กหนุ่มตกงานเคยฟ้องศาลสู้กับนายกอังกฤษเพื่อประท้วงให้รัฐบาลแก้ไขกฎหมายบางฉบับที่ไม่เป็นธรรมกับเขา แล้วกลายเป็นเด็กหนุ่มตกงานชนะไป เรื่องแบบนี้ก็มีด้วยในประเทศที่มีประชาธิปไตยเต็มใบ
จริงๆแล้วความสำเร็จหรือความพินาศของระบบการศึกษาในทุกประเทศมันก็โยงใยกับระดับความเป็นประชาธิปไตย (ว่าจะเต็มใบหรือไม่เต็มใบ) และกับแนวคิดของผู้คนในสังคมด้วย อย่างเช่น แทนที่รัฐบาลไทยในหลายๆสมัยจะไปพัฒนาให้เกษตรกร (ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่) ร่ำรวย ดันไปพัฒนาให้เจ้าของโรงงานร่ำรวย จนเกษตรกรไทยต้องขายที่ขายนาในต่างจังหวัดแล้วแห่กันมาทำงานโรงงานใน กทม แต่ในทางตรงกันข้ามกันในหลายๆประเทศเกษตรกรหรือชาวนาเป็นคนระดับนายทุนอันร่ำรวย .................................................................... สรุป ถ้าเมืองไทยมีประชาธิปไตยเต็มใบแบบไม่จำกัดสิทธิและเสรีภาพประชาชน แล้วผู้ใช้แรงงานระดมกำลังกันประท้วงขอค่าแรงสูงเท่าคนจบวุฒิสูงๆได้สำเร็จ โดยที่ผู้ใช้แรงงานไม่โดนรัฐบาลใดๆสั่งให้ทหารออกมาเอาอาวุธสงครามเข่นฆ่าเอาเพื่อสลายการชุมนุม
"ประเทศไทยจะหมดปัญหาเรื่องระบบการศึกษา เพราะคนเรียนไม่เก่งก็ไปทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้างจนร่ำรวยเป็นเศรษฐีใหม่ได้เหมือนๆกรรมกรอังกฤษ แล้วก็ไม่ต้องแห่กันไปเรียนครูออกมาเป็นแม่พิมพ์ของชาติที่ไม่เก่งซึ่งสอนเด็กให้โตมาไม่เก่งเหมือนๆครู"
แก้ไขเมื่อ 13 ส.ค. 54 19:26:24
แก้ไขเมื่อ 13 ส.ค. 54 14:27:00
จากคุณ |
:
fortuneteller
|
เขียนเมื่อ |
:
13 ส.ค. 54 14:02:03
|
|
|
|
 |