ขอร่วมแสดงความเห็นของผมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนี้
ประการแรก แม้ว่าสิ่งที่คุณอุปรากรจีนกล่าวในความเห็นที่ 1 อาจมีบันทึกในเอกสารโบราณของจีน แต่ผมว่ามันก็ไม่พอที่จะสะท้อนให้เห็นถึงภาพที่ใหญ่กว่าหรือพัฒนาการของระบบการสืบตำแหน่งกษัตริย์ของจีน ทั้งนี้ หากเราสามารถเชื่อถือบันทึกประวัติศาสตร์จีนโบราณ เช่น ซ่างซู หรือสือจี้ เราก็จะพบว่าในช่วง เหยา ซุ่น ยู่ การสืบทอดอำนาจสูงสุดในการปกครอง เป็นการมอบอำนาจให้กับผู้มีความสามารถและผู้มีลักษณะพิเศษที่เอื้อต่อการเป็นเจ้าชีวิต เช่นกรณีของยู่ที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมผลกระทบของอุทกภัยเป็นต้น
ภายหลังการตายของยู่ ฉี บุตรของยู่ และผู้ก่อตั้งราชวงศ์เซี่ย แทนที่จะยอมปฎิบัติตามตัวอย่างในอดีตก็ได้ขจัดโป๋อี้ทิ้ง และวางมาตรการที่จะป้องกันมิให้อำนาจสูงสุดไม่ตกไปอยู่ในการครอบครองจองคนอื่น โดยได้ปรับให้ระบบการสืบทอดอำนาจเป็นการสืบทอดตำแหน่งภายในครอบครัว โดยรูปแบบที่ถูกพัฒนาขึ้นคือระบบ "ต๊๋สึจี้เฉิง" (ลูกชายคนโตสืบทอด) และในกรณีที่กษัตริย์ไม่มีทายาทก็ให้ใช้ระบบ "ซุงจงตี้จี้" (พีตายน้องสืบทอด) ซึ่งจนกระทั่งสมัยราชวงศ์ชิงระบบการสืบทอดอำนาจของจีนโดยทั่วไปก็เป็นไปในลักษณะนี้
ทั้งนี้ แต่ละระบบก็ต่างก็มีข้อดีและข้อเสียไม่เหมือนกัน เช่นการสืบทอดอำนาจในหมู่พี่น้องอาจจะเอื้อต่อความต่อเนื่องทางนโยบาย แต่ก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับการโอนอำนาจจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง สำหรับการเลือกบุตรชายคนโตให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจ ในกรณีที่บุตรชายคนโตไร้ความสามารถ ก็จะก่อให้เกิดความไม่พอใจบรรดาพี่น้อง ซึ่งในหลายโอกาสก็เป็นที่มาของความขัดแย้งและการแก่งแย่งอำนาจในที่สุด อาทิ ในกรณีของ หลี่ซื่อหมิน (ต่อมาเป็นพระเจ้าถังไท่จง) ที่ก่อการที่ประตูซวนอู่ สังหารพี่ชายและน้องชายของตน และบังคับให้หลี่ยวน (ต่อมาเป็นพระเจ้าถังเกาจู่) สละราชสมบัติ เป็นต้น
แม้ว่าจะเห็นได้ชัดว่าในบางโอกาสเพื่อความเหมาะสมผู้ปกครองสูงสุดของจีนก็มีการไม่ปฏิบัติตามธรรมเนียมปฏิบัติในการสืบทอดอำนาจ แต่ว่านั่นก็เป็น exception to and not the rules.
จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงมิใช่เรื่องแปลก ที่มีการสลับไปสลับมาระหว่างแขนงต่างๆ ของราชวงศ์เซี่ย
ค้นๆ เน็ตดู แล้วเจอบทความชิ้นนี้ ลองอ่านดูแล้วกันนะครับ
http://www.tianyabook.com/lishi/097.htm
แก้ไขเมื่อ 23 ส.ค. 54 23:18:39
จากคุณ |
:
Peking Man
|
เขียนเมื่อ |
:
23 ส.ค. 54 23:08:56
|
|
|
|