 |
เอกสารแรก เป็นเอกสารสำคัญที่เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของพยานประหารชีวิตนายชิต คุณสมศักดิ์ได้แสดงความสงสัยหลายประการเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของเอกสารชิ้นนี้ ผมขอยกคำพูดแกมาดีกว่า
เนื้อหาส่วนที่ผมเซนเซอร์ไปนั้น บางตอนก็ดูไม่น่าจะเป็นความจริง (แต่ผมขออภัยที่ไม่สามารถอธิบายในที่นี้) แต่ที่สำคัญที่สุดในแง่ของเนื้อหาที่ทำให้เอกสารฉบับนี้ขาดลักษณะเป็นเอกสาร จริง (authentic) คือ ตอนแรกสุดที่เป็นการเล่าของ "ชิต" เกี่ยวกับการเข้าเวรของเขานั้น ผิดความจริงอย่างสำคัญมากๆ นั่นคือ เวร ประจำห้องบรรทมของวันที่ 8 ซึ่งต่อเนื่องไปถึงเช้าวันที่ 9 นั้น เป็นของบุศย์ ไม่ใช่ของชิต (ชิตไปนั่งอยู่ที่นั่นด้วยในเช้าวันที่ 9 ทั้งที่ไมใช่เวรของตน) แต่เอกสารเขียนว่า โดยปกติ ข้าฯ(นายชิต) นายบุศย์ จะเข้าเวรสลับกันวันเว้นวัน และเป็นที่ทราบกันเองว่าอีกคนหนึ่งจะกลับได้ก็ต่อเมื่อ อีกคนหนึ่งมาถึงแล้วเท่านั้น โดยวันที่ 8 มิถุนายน 2489 เป็นเวรของข้าฯ แต่จริงๆแล้ววันนั้นเป็นเวรของนายบุศย์ แต่ข้าฯได้ขอแลกเวรกับนายบุศย์ เพื่อไปทำธุระกับคุณชูเชื้อ เมื่อช่วงต้นเดือน ทำให้วันที่ 8 มิถุนายน 2489 ตารางเวรจึงตกเป็นของข้าฯนั่นคือ ตามเอกสารนี้ ชิตเป็นเวรประจำวันที่ 8-9 มิถุนายน แม้จะเป็นเวรที่ "แลก" มากับบุศย์ก็ตาม
แต่ ความเป็นจริงคือ ตารางเวรในขณะที่เกิดการสวรรคตนั้นเป็นของบุศย์ (และเท่าที่ผมทราบ ไม่มีการแลกเวรกัน แต่แลกมาหรือไม่ ก็ไม่ใช่ประเด็น) ดังที่ชิต ได้อธิบายเรื่องนี้อย่างชัดเจนในคำให้การต่อ "ศาลกลางเมือง" เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2489 ดังนี้ นายบุศย์กับพยานเป็นมหาดเล็กห้องบรรทมในหลวงในพระบรมโกศ. . .พยานกับนายบุศย์อยู่กันคนละเวร เวรละ 24 ชั่วโมง คือเช้าวันนี้ ตั้งแต่ 11.00 น. เช้าวันนี้ ออก 11.00 น. เช้าวันรุ่งขึ้น. . .เวรวันที่ 8 คือตั้งแต่ 11.00 น. จนถึงวันที่ 9 เวลา 11.00 น.เป็นเวรของนายบุศย์ เมื่อวันที่ 9 พยานจะไปเอาหีบมาทำพระตรา พยานไม่ได้ช่วยนายบุศย์ทำงานอะไร ที่อยู่ก็เพื่อรอเอาหีบพระตราไปทำ (บันทึกการสอบสวนกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8, มูลนิธิเด็ก 2547, หน้า 70)ประเด็น นี้มีความสำคัญมากต่อการตัดสินคดีสวรรคตด้วย เพราะเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่โจกท์กล่าวหาชิต และศาลตัดสินประหารชิตเป็นคนแรกและคนเดียวในตอนแรก (ศาลชั้นต้นประหารชิตคนเดียว, ศาลอุทธรณ์เพิ่มประหารบุศย์, ศาลฎีกาเพิ่มประหารเฉลียว) ก็อาศัยเรื่องนี้นั่นเองมาอ้างว่า ชิตไม่ใช่เวรในเช้าวันที่ 9 แต่กลับไปปรากฎตัวอยู่ที่นั่น ทำให้ชวนสงสัย ("การที่นายชิต สิงหเสนี จำเลยที่ 2 ไปนั่งอยู่หน้าพระทวารห้องแต่งพระองค์โดยไม่ใช่เป็นเวรของตนนั้น ตามธรรมดาก็ส่อพิรุธอยู่ว่าจะได้ร่วมรู้เห็นเป็นผู้ร้ายด้วยกระมัง" คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ใน คดีประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8, กรุงสยามการพิมพ์ 2523, หน้า 330) เรื่องที่มีความสำคัญเช่นนี้ เป็นไปไม่ได้เลยที่ชิตจะจำผิด แม้แต่ปรีดี ถ้าเป็นผู้ทำเอกสารนี้จริง ก็คงต้องรู้ความจริงเรื่องเวรของใครนี้ นายบุศย์กับพยานเป็น มหาดเล็กห้องบรรทมในหลวงในพระบรมโกศ. . .พยานกับนายบุศย์อยู่กันคนละเวร เวรละ 24 ชั่วโมง คือเช้าวันนี้ ตั้งแต่ 11.00 น. เช้าวันนี้ ออก 11.00 น. เช้าวันรุ่งขึ้น. . .เวรวันที่ 8 คือตั้งแต่ 11.00 น. จนถึงวันที่ 9 เวลา 11.00 น.เป็นเวรของนายบุศย์ เมื่อวันที่ 9 พยานจะไปเอาหีบมาทำพระตรา พยานไม่ได้ช่วยนายบุศย์ทำงานอะไร ที่อยู่ก็เพื่อรอเอาหีบพระตราไปทำ (บันทึกการสอบสวนกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8, มูลนิธิเด็ก 2547, หน้า 70)ประเด็น นี้มีความสำคัญมากต่อการตัดสินคดีสวรรคตด้วย เพราะเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่โจกท์กล่าวหาชิต และศาลตัดสินประหารชิตเป็นคนแรกและคนเดียวในตอนแรก (ศาลชั้นต้นประหารชิตคนเดียว, ศาลอุทธรณ์เพิ่มประหารบุศย์, ศาลฎีกาเพิ่มประหารเฉลียว) ก็อาศัยเรื่องนี้นั่นเองมาอ้างว่า ชิตไม่ใช่เวรในเช้าวันที่ 9 แต่กลับไปปรากฎตัวอยู่ที่นั่น ทำให้ชวนสงสัย ("การที่นายชิต สิงหเสนี จำเลยที่ 2 ไปนั่งอยู่หน้าพระทวารห้องแต่งพระองค์โดยไม่ใช่เป็นเวรของตนนั้น ตามธรรมดาก็ส่อพิรุธอยู่ว่าจะได้ร่วมรู้เห็นเป็นผู้ร้ายด้วยกระมัง" คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ใน คดีประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8, กรุงสยามการพิมพ์ 2523, หน้า 330) เรื่องที่มีความสำคัญเช่นนี้ เป็นไปไม่ได้เลยที่ชิตจะจำผิด แม้แต่ปรีดี ถ้าเป็นผู้ทำเอกสารนี้จริง ก็คงต้องรู้ความจริงเรื่องเวรของใครนี้
จากคุณ |
:
นฤมลประการ
|
เขียนเมื่อ |
:
30 ส.ค. 54 07:07:03
|
|
|
|
 |