ผมเองเคยมีประสบการณ์เข้า facebook ไม่ได้ตอนไปเที่ยวเซี่ยงไฮ้เมื่อปีที่แล้ว ตอนนั้นผมเพิ่งเล่น facebook ได้ไม่นาน ก็กำลังสนุกกับการโพสต์รูปให้เพื่อน ๆ ดู โดยเฉพาะเวลาไปเที่ยว จึงรู้สึกอืดอัดใจอยู่บ้างที่ไม่สามารถโพสต์รูปที่เซี่ยงไฮ้ลง facebook ได้อย่างใจ
ใน ตอนนั้นพอรู้ว่าเข้า facebook ไม่ได้แล้ว ผมก็ลองอัพรูปผ่านการส่งอีเมล์แทน (personalized upload email address) เหมือนกับการที่เราอัพรูปผ่านโทรศัพท์มือถือด้วยการส่งเป็นอีเมล์ไปที่ที่ อยู่อีเมล์เฉพาะของเราบน facebook แต่อัพไปแล้วก็ไม่สามารถเข้าไปดูว่ามันขึ้นไปจริงหรือเปล่า ต้องรอให้เพื่อนมาคอมเม้นท์แล้วมีอีเมล์มาแจ้งจึงจะรู้ว่าได้ผล วิธีนี้ก็ถือว่าพอจะกล้อมแกล้มได้ แต่มันไม่ได้ "ฟีล" ของการเล่น facebook เอาซะเลย ปัญหาเข้า facebook ในจีนไม่ได้ของผมถือว่าเป็นแค่เรื่องจิ๊บจ๊อยเมื่อเทียบกับคนต่างชาติที่ ต้องเข้าไปทำงานประจำในประเทศจีน (หรือที่เรียกกันว่า Expat) ชาวต่างชาติเหล่านี้ที่ใช้ facebook รวมถึงเว็บ social media อื่น ๆ ติดต่อสื่อสารกับคนในครอบครัว เพื่อนฝูง และเพื่อนร่วมงานเป็นประจำอยู่แล้ว แต่เมื่อต้องไปทำงานในประเทศจีนแล้วพบว่าเข้าเว็บเหล่านี้ไม่ได้ ความรู้สึกคงจะแย่เอามาก ๆ อาจถึงขั้นไม่อยากไปทำงานในจีนเลยก็ได้ ผมลองค้นหาคำว่า "access facebook in china" บน Google และพบว่ามีผู้ค้นหาเรื่องนี้เฉลี่ยเดือนละ 12,000 กว่าคน และมี blog ที่เปิดขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเรื่องนี้โดยเฉพาะด้วย อย่างน้อย 2 แห่งคือ accessfacebookinchina.com และ unblockfacebookinchina.info นอกจากนี้ก็มีคำถามคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ตามเว็บต่าง ๆ เช่น squidoo, yahoo answer รวมไปถึงเวบบอร์ดของชาว Expat ในจีนเองด้วย ตัวอย่าง ล่าสุดที่ผมพบคือเมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ผ่านมานี้เอง ในเว็บบอร์ดของ Expat ที่เซี่ยงไฮ้ มีผู้ตั้งกระทู้ให้ช่วยแนะนำบริการ VPN สำหรับเล่น facebook และ youtube ในจีน เพราะเขากำลังจะต้องเดินทางไปจีนและพักอยู่ที่นั่นนานพอสมควร จาก ข้อมูลต่าง ๆ ที่ค้นหามาได้ ผมพยายามเรียบเรียงออกมาเป็นคำแนะนำสั้น ๆ ง่าย ๆ สำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปจีน จะไปเที่ยวหรือทำงานก็แล้วแต่ ถ้าคุณรู้สึกว่ามีความจำเป็นต้องเข้า facebook หรือเว็บไซต์อื่น ๆ ที่โดนทางการจีนบล็อคเอาไว้ล่ะก็ ลองพิจารณาดูนะครับ ถ้าคุณกำลังมอง หาบริการฟรีอยู่ล่ะก็ ข้อมูลจากหลายแห่งบอกตรงกันว่ามันหาไม่ได้อีกแล้ว เพราะทางการจีนเองก็พยายามตามบล็อคบริการพวกนี้เหมือนกัน กระทั่งบริการที่ต้องเสียเงินก็ยังหายากขึ้นเรื่อย ๆ ผมได้ทดลองค้นหาดูแล้วยังไม่พบบริการฟรีที่ยังใช้ได้จริง ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเก่าที่เคยใช้ได้และตอนนี้ถูกบล็อคไปเรียบร้อยแล้ว ถ้าคุณมีเวลาจะลองค้นหาดูเองบ้างก็ได้ ถ้าเจออะไรที่ฟรีและใช้ได้จริง ช่วยบอกกันบ้างก็ดีครับ ทีนี้มาดูบริการที่ต้องเสียเงินกันบ้าง อย่างน้อย blog สองแห่งที่ผมกล่าวถึงไปข้างต้นก็แนะนำตรงกันว่าบริการที่เวิร์คในตอนนี้มี Securitales กับ VyprVPN Securitales นั้นเหมาะสำหรับการใช้งานทั้งบน PC, iPhone, iPad, Android มันเป็นบริการแบบที่เรียกว่า web based service คือใช้งานได้โดยตรงบนเว็บ โดยที่คุณไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรลงไปในเครื่อง เพียงแต่เข้าอินเตอร์เน็ตได้ก็สามารถใช้งานได้แล้ว ขั้นตอนการใช้งาน Securitales มีดังนี้ - เข้าสู่หน้าทดลองที่นี่
- คลิกที่ "Try it for free"
- คุณจะเข้าสู่หน้าล็อกอินของ facebook ทดลองล็อกอินและใช้งานดู คุณมีเวลาทดลองไม่เกิน 10 นาที
- หลัง จากครบ 10 นาที คุณจะถูกส่งไปหน้าสั่งซื้อบริการ มีช่วงระยะเวลาให้เลือกตั้งแต่ 2 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี ค่าบริการขั้นต่ำสำหรับ 2 เดือนก็ประมาณ 480 บาท
- หลังจากสมัครใช้บริการแล้ว คุณยังสามารถยกเลิกได้ภายใน 30 วัน และได้รับเงินคืนด้วย
ส่วน VyprVPN เป็นบริการในกลุ่มที่เรียกว่า personal virtual private network หรือ personal VPN อย่าถามผมต่อเลยว่ามันคืออะไร เอาเป็นว่ามันทำงานด้วยการติดตั้งโปรแกรม VPN ลงไปบนเครื่องของคุณ ทำให้คุณสามารถอำพรางตัวได้ว่าตอนนี้เครื่องของคุณไม่ได้อยู่ในประเทศจีน ทำให้คุณเข้า facebook หรือเว็บอื่น ๆ ที่ถูกบล็อคได้เหมือนอยู่ต่างประเทศ ค่า บริการของ VyprVPN ขั้นต่ำก็ประมาณ 450 บาทสำหรับ 1 เดือน แพงกว่า Securitales เกือบเท่าตัว แต่ข้อดีของมันคือ มันเร็วกว่าและปลอดภัยกว่า นอกจากนี้มันยังใช้สำหรับเข้าเว็บไซต์ที่ใช้ได้เฉพาะในบางประเทศได้ด้วย เช่น Hulu, Netflix เป็นต้น ขั้นตอนการใช้งาน VyprVPN นั้นคุณต้องสมัครใช้บริการที่เว็บเขาก่อน หลังจากนั้นคุณต้องทำการติดตั้งโปรแกรม VPN บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ เวลาจะเข้าเว็บไซต์ที่ถูกบล็อคก็ต้องเปิดโปรแกรม VPN ขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นก็ใช้เบราเซอร์เข้าเว็บต่าง ๆ ได้เหมือนปกติ ผมเองไม่มี โอกาสได้ทดลองใช้จริงด้วยตัวเอง แต่แหล่งข้อมูลที่ผมนำมาเล่าให้ฟังนี้ก็ทันสมัยพอสมควร เขาเพิ่งโพสต์ไปเมื่อเดือนที่แล้วนี้เอง ก็คิดว่าตอนนี้น่าจะยังใช้ได้อยู่ แต่เรื่องแบบนี้มันไม่สามารถบอกได้ว่ามันจะยังใช้ได้ตลอดไปหรือเปล่า เพราะอย่างที่บอกไปแล้ว ทางการจีนเองก็พยายามตัดทอนช่องทางในการเจาะทะลุกำแพงบล็อคของตนเองอยู่ อย่างสม่ำเสมอเช่นกัน ใครอยู่ในประเทศจีนและมีโอกาสทดลองใช้บริการเหล่านี้ก็บอกกล่าวกันบ้างนะครับ
ที่มา ChineseWeb.info
|