 |
๑.หากเราแคร์(Care)สรรพสิ่งมากขึ้น ไม่แบ่งฝ่ายไม่ว่าชีวิตคน สัตว์ ต้นไม้ เขาคือเราเราคือเขา (เลี้ยงสุนัขแต่กินสุนัข จิตพิสัยและสมองแบบนี้ กฏหมายมนุษย์ด้วยกันเองคงไร้ประโยชน์) ๒.ลดช่องว่างระหว่างอัตวิสัย/วัตถุวิสัย(Subjectivity/Objectivity)ลง
๓.ช่วยกันลดความต่างศักย์ทางชนชั้นสังคม,ทางอำนาจการเมือง,ทางการศึกษา,ทางเศรษฐกิจ ๔.ลดความต่างศักย์ของความเป็นเมืองหลวง-หัวเมือง-ชนบท ลง(มีผลต่อรูปแบบกายภาพ/ความต่างแหล่งงาน-เงินเลี้ยงชีวิต/การบังคับใช้กฏหมาย) ๕.ผู้ที่มีอำนาจสร้าง/รักษารัฐธรรมนูญและกฏหมายคือ นักการเมือง-และข้าราชการ/กลไกรัฐ, ส.ส.ผู้ทำหน้าที่นิติบัญญัติ/พัฒนากฏหมาย,ฝ่ายตุลาการ ล้วนเป็นผู้มีอิทธิพลลำดับต้น ต่อประชาชน คือการเคารพกฏหมายที่เท่าเทียมเสมอกัน ยุติธรรมไม่๒มาตรฐาน(ความต่างศักย์ทางการใช้กฏหมาย?) -------------------------------------------------
เหตุการณ์เชิงประจักษ์:จากงานในองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตาม รธน.๒๕๔๐/มาตรา๖๗วรรคสอง. กรณีมาบตาพุดเป็นเรื่องคอขาดบาดตายระดับเมือง(นิคม) ก็เป็นเรื่องของการละเมิดกฏหมายของทุกฝ่าย/ไม่บังคับใช้หรือไม่อาจบังคับใช้ได้ (พรบ.ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมฯ) คือผู้ประกอบการโรงงานสารก่อมลพิษ(คนไทยและต่างชาติ), องค์การนิคมอุตสาหกรรมที่มีอำนาจควบคุมตามกฏหมาย, กระทรวงฯที่เกี่ยวข้องและราษฎรทั้งปวงที่ยากจนและร่ำรวย ต่างทยอยอพยพเข้ามาหางาน ปักหลักเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง -------------------------- ประเด็นการเคารพกฏหมาย ก็เหมือนประเด็นอื่น ไม่มีอะไรมากไปกว่าทุกคนควรปรับตัว(ปฏิรูป)ให้เร็วทันการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์
จากคุณ |
:
ขามเรียง
|
เขียนเมื่อ |
:
7 ก.ย. 54 11:41:34
|
|
|
|
 |