 |
ขอเสริมความคิดเห็นที่ 9 ของคุณ นางพญามารเมฆไฟ ครับ
(คัดลอกจากบทความของคุณจุลลดา ภักดีภูมินทร์ ในนิตยสารสกุลไทย)
ทีนี้เรื่อง หม่อม ก็มีผู้สงสัยกันมาว่า ใช้กับใครกันแน่
ว่ากันแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเลยทีเดียว มีหลักฐานจากพระราชนิพนธ์ ในรัชกาลที่ ๕ เรื่องธรรมเนียมราชตระกูลในกรุงสยามตอนหนึ่งว่า
หม่อมนี้เขาสำหรับเรียกคนผู้ดี ๆที่มีตระกูล ไม่ว่าเป็นผู้หญิง ผู้ชาย เหมือนหนึ่งปู่พระยาภาสกรวงศ์ แลกรมหมื่นนรินทร เป็นต้น เมื่อยังไม่ได้เป็นเจ้า เป็นขุนนาง ก็เรียกว่า หม่อม
ปู่พระยาภาสกรวงศ์ คือ เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี ก่อนได้เป็นพระยาอรรคมหาเสนาในรัชกาลที่ ๑ เรียกกันว่า หม่อมบุนนาค
กรมหมื่นนรินทร คือ กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ พระภัสดา พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้ากุในรัชกาลที่ ๑ (พระองค์เจ้ากุนั้น ถึงรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็นกรมหลวงนรินทรเทวี โดยนำพระนามทรงกรม นรินทร ของกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ มาขึ้นต้นพระนามทรงกรมของพระองค์เจ้ากุ เล่าไว้เพราะมักมีผู้เข้าใจกันว่า พระองค์เจ้ากุทรงกรมเป็นกรมหลวงนรินทรเทวีก่อน พระภัสดาได้ทรงกรมทีหลัง)
กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์นั้น เป็นบุตรชายของเจ้าพระยามหาเสนาบดี (ผล) กรุงศรีอยุธยาชื่อ มุก จึงเรียกกันในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีว่า หม่อมมุก
เล่าขยายความอีกสักนิดว่า ท่านเป็นพี่ชายของเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) และเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) เป็นบิดาของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์)
กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ หรือหม่อมปิ่นท่านจึงเป็นลุงของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์)
จึงเป็นเหตุให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) คุ้นเคยสนิทสนมในพระวงศานุวงศ์ โดยเฉพาะในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ มาแต่ยังทรงพระเยาว์ เล่ากันว่าเคยอุ้มพระองค์ให้ทรงขี่คอมาแต่ยังทรงพระเยาว์ ด้วยเจ้าพระยาบดินเดชาเกิดก่อนพระราชสมภพ ๑๐ ปี (พ.ศ.๒๓๒๐) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงตรัสเรียกว่า พี่สิงห์ เมื่อโปรดฯ ให้เป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชาแล้ว ตรัสเรียกว่า พี่บดินทร์
สรุปว่า พวกผู้ดีมีตระกูลทั้งชายหญิงก่อน ๆนั้นก็เรียกกันว่า หม่อม
แต่ต่อมาจะเป็นเมื่อใดไม่ทราบ นำมาเรียกบรรดาอนุภรรยา หรือเมียน้อย ๆของพระยาพานทอง หรือพระยาใหญ่ ๆระดับเจ้าบ้านผ่านเมือง และเจ้าพระยาว่า หม่อม ในพระราชนิพนธ์เรื่องเดียวกันทรงพระราชนิพนธ์ว่า
ตั้งแต่ หม่อม แปลว่า เมีย' เสียก็กระดากกันไป
คือต่อมานอกจากเรียกบรรดาอนุภรรยาดังกล่าวว่า หม่อม แล้ว ยังเรียกพวก นางห้าม ในเจ้านายว่า หม่อม ด้วย
ในรัชกาลที่ ๔ โปรดฯ ให้มีประกาศพระบรมราชโองการเรื่องการใช้คำนำหน้าชื่อชนต่าง ๆมีเรื่อง หม่อม อยู่ว่า
ข้างในใช้ชิดของพระองค์เจ้า หม่อมเจ้าทั้งปวงที่มิใช่พระองค์เจ้า หม่อมเจ้าเีรียกว่า หม่อม ทั้งสิ้น
พนักงานข้างในปวงที่มิได้เป็นเจ้าแลราชนิกุลเรียกว่า หม่อมพนักงาน ทั้งสิ้น
ถ้าพระองค์เจ้า หม่อมเจ้าต้องโทษถูกออกจากบรรดาศักดิ์ พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า ก็เรียกว่า หม่อม
บุตรชายหญิงของหม่อมเจ้าก็เรียกว่า หม่อม เหมือนกัน
กับราชนิกุลที่ไม่มีชื่อตำแหน่ง ทั้งชายหญิงก็เรียกว่า หม่อม
เห็นจะเป็นด้วยประกาศพระบรมราชโองการฉบับนี้นี่เอง แม้เมื่อมียศหม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวงแล้ว ในรัชกาลที่ ๔ จึงมีผู้เรียกว่าหม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวงว่า หม่อม ดังเดิมที่เคยเรียกกันมา
เล่าเลยต่อไปอีกสักนิดถึงคำ่ว่า คุณหญิง และ ท่านผู้หญิง (เฉพาะที่เป็นภรรยาของพระยา เจ้าพระยา) ในสมัยก่อน
เมื่อต้น ๆรัตนโกสินทร์ คำนำหน้านามว่า คุณหญิง (รวมทั้ง คุณชาย) นั้น ใช้เรียกบรรดาราชินิกุลวงศ์เจ้าคุณนวล (เจ้าคุณพระราชพันธุ์ น้องนางในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี รัชกาลที่ ๑) ซึ่งเป็นราชินิกุลชั้นที่ ๓ และชั้นที่ ๔
กับบรรดาพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ส่วนเอกภรรยาของพระยา และเจ้าพระยาที่ถือศักดินาตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ลงมาจนถึง ๔๐๐ ก็เรียกกันว่า ท่านผู้หญิงบ้าง ท่านเฉย ๆบ้าง
ในประกาศฉบับนี้ มีพระบรมราชโองการว่าให้ ภรรยาหลวงของข้าราชการที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศตามบรรดาศักดิ์ใช้คำว่า ท่านผู้หญิง ว่า ท่าน นำหน้าชื่อ
แต่หากภรรยาหลวงนั้นมิได้รับพระราชทานเครื่องยศบรรดาศักดิ์ หรือเป็นอนุภรรยาก็ไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่ออย่างใด
คำว่า หม่อม นำหน้าชื่ออนุภรรยาของเจ้าพระยาคงจะเลิกใช้กันไปตั้งแต่เมื่อตอนนี้เอง กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ พระภัสดา พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้ากุในรัชกาลที่ ๑ (พระองค์เจ้ากุนั้น ถึงรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเป็นกรมหลวงนรินทรเทวี โดยนำพระนามทรงกรม นรินทร ของกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์ มาขึ้นต้นพระนามทรงกรมของพระองค์เจ้ากุ เล่าไว้เพราะมักมีผู้เข้าใจกันว่า พระองค์เจ้ากุทรงกรมเป็นกรมหลวงนรินทรเทวีก่อน พระภัสดาได้ทรงกรมทีหลัง)
กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์นั้น เป็นบุตรชายของเจ้าพระยามหาเสนาบดี (ผล) กรุงศรีอยุธยาชื่อ มุก จึงเรียกกันในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีว่า หม่อมมุก
สรุปว่า พวกผู้ดีมีตระกูลทั้งชายหญิงก่อน ๆนั้นก็เรียกกันว่า หม่อม
แต่ต่อมาจะเป็นเมื่อใดไม่ทราบ นำมาเรียกบรรดาอนุภรรยา หรือเมียน้อย ๆของพระยาพานทอง หรือพระยาใหญ่ ๆระดับเจ้าบ้านผ่านเมือง และเจ้าพระยาว่า หม่อม
จากคุณ |
:
ทับศานต์ใจ
|
เขียนเมื่อ |
:
10 ก.ย. 54 18:41:23
|
|
|
|
 |