ในเรื่องคำว่า พ่อ มีปรากฏในพงศาวดารว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีแทนตัวพระองค์แบบนั้นครับ และทรงเรียกข้าราชการว่า ลูก
คัดจากพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม) ชำระ พ.ศ.๒๓๓๘ ให้แบบเต็มๆ จากเหตุการณ์เมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๕ ค่ำ พ.ศ.๒๓๑๗
"อนึ่ง เพลาเช้า ๕ โมงเศษ หลวงรักษ์มนเทียรมาเฝ้า จึ่งตรัสว่า ข้าราชการทั้งปวง ใช้ให้ไปทำศึกบ้านใดเมืองใด พ่อมิได้สะกดหลังไปด้วย ก็ไม่สำเร็จราชการ ครั้งนี้พ่อไปราชการสงครามเมืองเชียงใหม่ ให้ลูกทำราชการข้างหลังแลมาพ่ายแพ้แก่พะม่าให้ขายพระบาทพ่อ แล้วกล่าวโทษกันว่าอดข้าวปลาอาหาร
อันการทำศึกครั้งนี้ พ่อจะชิงชังแก่ลูกผู้ใดหามิได้ รักใคร่เสมอกัน อันเป็นกษัตราธิราชเจ้าแผ่นดิน ถ้าผู้ใดมีความชอบ มิได้ปูนบำเหน็จ ผู้ใดผิดมิได้เอาโทษ ทำฉะนี้ก็ไม่ควรแก่ราชการแผ่นดินหามิได้ อันประเวณีกษัตราธิราช ผู้ใดมีความชอบ ปูนบำเหน็จรางวัล ให้รั้งครองเมืองตามฐานานุกรมลำดับ ถ้าโทษผิดควรจะตีก็ตี ควรจะฆ่าก็ฆ่าเสีย จึ่งจะชอบด้วยราชการแผ่นดิน จะทำสงครามกับพม่าไปได้
แลพ่อเที่ยวอุตสาหะทรมานเที่ยวทำสงครามมาทั้งนี้ ใช่จะจงปรารถนาหาความสุขแต่พระองค์ผู้เดียวมิได้ อุตสาหะสู้ยากลำบากพระกายทั้งนี้ เพื่อจะทำนุบำรุงพระศาสนา ให้สมณชีพราหมณ์ประชาราษฎรเป็นสุขทั่วขอบขันธเสมา เพื่อจะมิให้มีคนอาสัจอาธรรม และครั้งนี้ลูกทั้งหลายทำการให้พ่ายแพ้แก่พม่า ครั้นจะเอาโทษก็เสียดายนัก ด้วยเลี้ยงดูมาเป็นใหญ๋โตแล้ว ผิดครั้งนี้จะยกไว้ให้ราชการแก้ตัวครั้งหนึ่งก่อน และเอาบุตรภรรยานั้นมาจำไว้สิ้นแล้ว ถ้าพะม่ายกมาตี รับรองหยุดมีชัยชำนะแล้วจึ่งพ้นโทษทั้งนายทั้งไพร่ เร่งคิดอ่านจงดีเถิด อันพ่อจะละพระราชกำหนดพระอัยการศึกเสียมิได้ ถึงมาทว่าจะเป็นนายทัพนายกองมิได้ จะพิททูลขอตัวเป็นไพร่ก็ตามสมัครใจถ้าจะทำไปได้ ก็ให่เร่งคิดอ่านแก้ตัวไปให้รอดชีวิตเถิด"
แก้ไขเมื่อ 14 ก.ย. 54 17:14:25