แต่ละที่ต่างกัน ทางเหนือ อากาศหนาวแห้ง นิยมต้ม แต่เดิมต้มทั้งชิ้นใหญ่ สุกช้า แล้วจึงหั่นบาง เสียเวลาและเชื้อเพลิงมาก เหมาะกับการเคี้ยวนานๆ หรือตุ๋น เช่น ขาหมู เนื้อวัว แพะ แกะ จามรี(เหมาหนิว) บางที่จะต้มสุกแล้วนำไปตากลม เก็บกินได้หลายวัน แล่เป็นแผ่นบาง จิ้มกับซีอิ้ว ปรากฏในเรื่อง 14blade
ต่อมาพัฒนาเป็นหม้อแรงดัน เกิดจากการเอาหินมาทับฝาหม้อ ไม่ให้หล่นจากไอน้ำและแรงลมในภาคเหนือ ทำให้เนื้อเปื่อยเร็วขึ้น และมีการเติมนมอูฐ เพื่อให้เปื่อยนุ่ม กลมกล่อมขึ้น
ต่อมาพัฒนาแล่เป็นชิ้นบางๆ กินแบบจิ้มจุ่ม หรือฮัวกัว บางแหล่งอ้างว่ามองโกลคิดก่อน ใช้ต้มเนื้อแพะ ทำให้ไม่เหม็นสาบ กินง่ายและเร็ว ประหยัดเวลาก่อไฟ เพิ่มเวลาพักผ่อน
ทางใต้ มีตั้งแต่ผัดน้ำมันหอย ทอดกรอบแล้วผัด แดดเดียว ชุบแป้งทอดราดน้ำเปรี้ยวหวาน(ตงเป่ย-อีสาน)เพราะเครื่องเทศมีมากกว่า มาจากทางเรือ
จริงๆรายการอาหารจีน เยอะมากแต่โบราณ ที่สั่งเนื้ออย่างเดียว เพราะผู้ประพันธ์ ไม่ได้ลงลึกในประวัติศาสตร์อาหาร จึงไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก
พวกบ้าพลังทั่วโลก มักนิยมกินเนื้อสัตว์ ที่ปรุงอย่างหยาบมากกว่า ปรุงอย่างประณีต ในนิยายบางเรื่องสะท้อนถึง สติปัญญาทำนอง ใช้กำลังมากกว่าเหตุผล เช่น ซี่โครงย่าง ของพวกไวกิ้ง เนื้อวัวรมควัน ของพวกคาวบอย วัวย่างทั้งตัว แบบยุโรป ไส้กรอก กินเป็นท่อนๆยาว แบบยุโรป
การประกอบอาหารอย่างที่ยกมา จะมีบางส่วนเสียไปเพราะ ไม่ได้แบ่งไปทำในรูปแบบอื่นที่อร่อยกว่า เนื่องจากได้รับความร้อนจากจุดเดียว เรียกง่ายๆว่า "เสียของ" ถ้าแปรรูปก่อนปรุง จะใช้ประโยชน์ได้เต็มที่กว่า
แก้ไขเมื่อ 21 ก.ย. 54 09:48:23
จากคุณ |
:
ต็กโกวคิ้วป้าย
|
เขียนเมื่อ |
:
20 ก.ย. 54 17:09:20
|
|
|
|