 |
การตั้งรับข้าศึกตามเส้นทางมีการใช้ในศึกอลองพญาและสงครามคราวเสียกรุงครับ
มีการเข้าใจกันว่ามีแค่การตั้งรับข้าในพระนครอย่างเดียว ที่จริงไม่ใช่เช่นนั้น ในศึกอลองพญา : พระเจ้าเอกทัศน์ โปรดให้ตั้งรับตามหัวเมืองต่างๆคือ
- เมืองทวาย มะริด และตะนาวศรี มีทหารราบ 7,000 นาย และทหารม้า 300 นายถูกจัดวางตามชายฝั่งตะนาวศรี ทหารส่วนนี้ต้องล่าถอยจากการโจมตีของกองทัพหน้ามังระไปรวมกับทหารไทยที่เมืองกุย
- กุยบุรี และปราณบุรี มีทหารราบ 20,000 นาย ทหารม้า 1,000 นาย และช้าง 200 เชือก ปะทะกับทัพหลวงพม่าบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยอย่างหนักจนต้องร่นถอยเพราะพม่ามีทหารกว่า 40,000 นาย และทหารม้า 3,000 ซึ่งเป็นทหารม้ามณีปุระที่เชี่ยวชาญการรบอย่างมาก แต่การรบที่จุดนี้ก็ทำให้พม่าต้องเสียหายมากมีบันทึกบอกว่า "พม่าได้รับความสูญเสียอย่างหนักเพียงแค่ต้องฝ่าออกจากคอคอดแคบ ๆ แห่งนั้น..." และต้องกินเวลากว่าสองเดือนจึงจะตีเพชรบุรีและราชบุรี
- สุพรรณบุรี มีทหารราบ 33,000 นาย รวมทั้งทหารม้า 3,000 นาย จุดนี้เป็นการป้องกันแม่น้ำจักราชเอาไว้เพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญและเป็นจุดปะทะที่ดุเดือดที่สุดเพราะเป็นปราการด่านสุดท้ายก่อนถึงพระนคร พม่าแบ่งกองทัพออกเป็นสามกองคือทัพมังระราชบุตร ทัพมังฆ้องนรธา และทัพมินลาธีรีเข้าโจมตีพร้อมกัน ปรากฎว่าถูกโต้ตอบด้วยปืนใหญ่ที่ตั้งรับอีกฝั่งหนึ่งอย่างหนัก แต่ก็สามารถข้ามแม่น้ำมาได้ และปะทะกับทัพพระยามหาเสนา ท้ายสุดอยุธยาจึงต้องเป็นฝ่ายล่าถอยกลับมา
สงครามคราวอลองพญาเป็นการรบที่อาศัยฝีมือแม่ทัพเป็นหลัก เพราะทั้งสองฝ่ายมีไพร่พลไม่ต่างกันมาก และอันที่จริงแล้วฝ่ายอยุธยากลับมีกำลังมากว่าพม่าด้วยซ้ำแต่ส่วนใหญ่ไม่ชำนาญการรบ ต่างจากทหารพม่าที่กรำศึกมาตั้งแต่รวบรวมอาณาจักร การปราบปรามมอญ ไทยใหญ่ และมณีปุระ แต่อย่างไรก็ตามในหนังสือ A History of Burma ของ Htin Aung บันทึกว่า "ทัพของอลองพญาที่สูญเสียมากจากปะทะตามแนวชายฝั่ง ทำให้พระองค์ไม่ทรงแน่พระทัยว่าจะปิดล้อมอยุธยาได้นานแค่ไหน จึงได้ส่งทูตเข้าไปเจรจาให้พระมหากษัตริย์อยุธยายอมจำนน โดยให้สัญญาว่าพระองค์จะไม่ทรงถูกปลดออกจากบัลลังก์ พระเจ้าเอกทัศทรงส่งทูตของพระองค์เองเพื่อไปเจรจา แต่พบว่าข้อเรียกร้องของพระเจ้าอลองพญานั้นไม่สามารถยอมรับได้ และการเจรจานั้นยุติลงอย่างสมบูรณ์"
จากคุณ |
:
arawadee
|
เขียนเมื่อ |
:
23 ก.ย. 54 17:10:12
|
|
|
|
 |