เก็บประเด็นมาจากเรื่องรอยไหม ว่าด้วยผ้าซิ่นตีนจก
|
 |
ผ้าซิ่นตีนจก เป็นเอกลักษ์ของแม่แจ่ม สมัยก่อนคนแม่แจ่มจะมีการทอสิ้นตีนจก ส่งส่วยให้เจ้าเชียงใหม่ โดยที่เจ้าเชียงใหม่จะส่งดิ้นเงินดิ้นทอง มาให้จกแล้วส่งกลับคืนไป ปีละครั้ง (ถ้าเป็นซิ่นของชาวบ้านใช้ฝ้ายสีต่างๆจกนะไม่ให้ใช้ดิ้นเงินดิ้นทอง) ลวดลายตีนจกโบราณของแม่แจ่ม สีออกโทนเหลือง มีแม่ลายโบราณอยู่ ๙ ลาย คือ โกมหัวหมอน โกมฮูปนก ขันแอวอู ขันสามแอว นาคกุม นกนอน ขันเสี้ยนสำ เจียงแสนหน้อย หละกอนหน้อย ซึ่งแม่ลายนี่ช่างสามารถแตกลายแตกสีออกไปได้ การทอลายตีนจก ช่างจะคว่ำหน้าลายลง ใช้ขนเม่นหรือเหล็กแหลมควักเส้นด้ายผูกเงื่อนเก็บลายด้านบน ลายโบราณจะมีเงื่อนจก ๑๒ ถึง ๓๒ เงื่อน ซึ่งถ้ามีเงื่อนมากยิ่งจกยากและจะประณีตสวยงามมาก (ปัจจุบันซิ่นตีนจก มีเงื่อนเพีง ๖ ถึง ๑๐ เงื่อน) ผ้าซิ่นตีนจกหนึ่งผืน ประกอบด้วย หัวซิ่น ซึ่งเป็น ผ้าสีขาวอยู่บนสุด ผ้าสีแดงอยู่ล่าง ตัวซิ่น ตรงที่ทอเป็นซิ่นลายขวาง ตีนจก เป็นการเย็บส่วนนี้แบบเนาถี่ หรือ ค้น เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนหัวซิ่นหรือตีนจก
เครดิต ข้อมูลจากเล่าขานตำนานเมืองแจ๋ม
แก้ไขเมื่อ 27 ก.ย. 54 00:00:57
จากคุณ |
:
ไข่มุขราตรี
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ก.ย. 54 23:44:58
|
|
|
|