โปรแกรมแปลภาษาหรือที่เขาเรียกว่า machine translation (MT)นั้น ตัองใช้เวลานานมากๆในการพัฒนา ขนาดกว่า MT จะแปลภาษาของประเทศในยุโรปที่โครงสร้างคล้ายๆกันออกมาพอใช้งานได้ก็ต้องผ่านการพัฒนานานถึง 30 กว่าปีมาแล้ว (หรือนานกว่านั้น) แต่คำแปลก็ยังต้องเอาไปให้นักแปลที่ชำนาญ edit (ตรวจแก้) อยู่ดีนั่นแหละ
กรณีพัฒนา MT สำหรับภาษาไทย คาดว่าคงเป็นงานช้างแน่ๆ เพราะ
"คนไทยเกือบทุกคนใช้ meaning shift เยอะมากๆ (คือพูดอย่างหนึ่งแต่หมายถึงอีกอย่างหนึ่ง)"
เช่น
เมนูนี้อร่อย = เมนูนี้มีรายการอาหารอร่อย ไปกดเงิน = ไปกด ATM เบิกเงิน สินค้าในตู้เรียกพนักงาน = ถ้าต้องการสินค้าในตู้ให้เรียกพนักงาน มหาลัยรามคำแหงรับปริญญาวันไหน = มหาลัยรามคำแหงมอบปริญญาให้นักศึกษาวันไหน
ทำไมเดี๋ยวนี้นักเรียนนายร้อยไม่คัดคนเก่งเเบบหัวกะทิเก่งเทพๆไปเรียนเเล้วเหรอ = ทำไมเดี๋ยวนี้โรงเรียนนายร้อยไม่คัดคนเก่งเเบบหัวกะทิเก่งเทพๆไปเป็นนักเรียนนายร้อยเเล้วเหรอ
^ เคยมีคนตั้งกระทู้ใน pantip ว่า
"ทำไมเดี๋ยวนี้นักเรียนนายร้อยไม่คัดคนเก่งเเบบหัวกะทิเก่งเทพๆไปเรียนเเล้วเหรอ"
แล้วเราเข้าไปตอบว่า
"นักเรียนนายร้อยไม่มีสิทธิ์คัดคนเข้าไปเรียน ผู้บริหารโรงเรียนนายร้อยต่างหากที่เป็นคนคัดนักเรียนนายร้อยเข้าไปเรียน"
แล้วเราก็โดน จขกท ด่าให้ตามระเบียบ...555+++...
ภาษาไทยเป็นหนึ่งในภาษาที่แปลยากมากที่สุดในโลกเพราะคนไทยชอบใช้ meaning shift ทำให้นักแปลกระดูกอ่อนๆ แปลออกมาแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง (ยิ่ง MT แปลหละรับรองว่าอ่านไม่รู้เรื่องแน่ๆ) เช่นประโยคนี้
มันเป็น meaning shift ซึ่งหลอกรองศาสตราจารย์ดอกเตอร์ท่านหนึ่งซึ่งเป็นอาจารย์สอนในมหาลัยระดับรองๆ จนพลาดท่าตกม้าตายมาแล้ว เรื่องมันก็คือ นักศีกษาแปลบทคัดย่อ แล้วเขียนภาษาไทยมี meaning shift (จริงๆแล้วมันไม่ใช่ meaning shift แต่นักศึกษาเอาประธานไปซ่อน ทำให้ตัวเองแปลภาษาไทยที่ตัวเองเขียน แล้วงง) เท่ากับขุดหลุมฝังศพให้ตัวเอง นักศึกษาเอามาให้เรา edit (ตรวจแก้) ภาษาอังกฤษ
ข้อความเป็นแบบนี้
3. ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า...(แล้วก็มีเนื้อหาว่าพบอะไร).... ^ เราแก้คำแปลภาษาอังกฤษของนักศึกษา (ซึ่งเขียนมาแบบแปลตรงตัวอ่านไม่รู้เรื่อง) พอแก้แล้วมันออกมาเป็นแบบนี้
3.Hypothesis test results:...(แล้วก็มีเนื้อหาว่าพบอะไร)....
แต่อาจารย์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดอกเตอร์ท่านโดนภาษาไทยหลอกเอา ท่านเลยเล่นแก้มาเป็นอะไรทำนองนี้ (คือแปลตรงๆตัวแบบคำต่อคำ กลับไปเหมือนเดิมเหมือนที่นักศึกษาทำมา) มันก็เลยออกมาเป็นแบบนี้
3. The results of hypothesis test found that ...(แล้วก็มีเนื้อหาว่าพบอะไร)....
^ ซึ่งในเชิงตรรกะแล้ว มันผิดแหงๆ เพราะคนที่ทำกริยา found มันต้องเป็น "นักวิจัยซึ่งเป็นมนุษย์" ไม่ใช่ "results" อย่างแน่นอน
นั่นก็หมายความว่ามันคงเป็นเรื่องยากมากๆที่ MT จะแปลภาษาไทยแบบนี้ให้ถูกต้องได้
จากประสบการณ์แปลไทยเป็นอังกฤษมา 15 ปี เรากล้าพูดได้ว่า
"ภาษาไทยเป็นภาษาศรีธนญชัย"
ถ้าอาจารย์สอนภาษาอังกฤษระดับรองศาสตราจารย์ดอกเตอร์ในมหาลัย ยังงงโดนภาษาไทยหลอกเอาได้ เวลาตรวจงานแปลไทยเป็นอังกฤษ เราเชื่อว่า MT จะต้องงงมากกว่านี้อีกหลายเท่า!
^ เราคิดเล่นๆว่าถ้านักแปลกับ computer programmers เก่งๆร่วมมือกันพัฒนา MT ขึ้นมาได้ในระดับหนึ่ง (ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานานหลายสิบปี) และจำเป็นต้องนำออกไปใช้งานแพร่หลายในหน่วยงานต่างๆ ที่สำคัญๆ สงสัยจะวุ่นวายแน่ๆ จนถึงกับรัฐบาลจะต้องออกคำสั่งให้กระทรวงศึกษาธิการ
"เขียนหลักสูตรภาษาไทยยุค MT ขึ้นมา นั่นก็คือสอนเด็กไทยมาตั้งแต่ระดับประถมให้หัดพูดและเขียนภาษาไทยโดยไม่มี meaning shift"
^ ทั้งนี้ เพื่อให้ภาษาไทยที่คนไทยยุคใหม่ใช้กัน ตรงไปตรงมามากพอที่ MT จะแปลเป็นภาษาอังกฤษได้
แก้ไขเมื่อ 04 พ.ย. 54 10:33:24
จากคุณ |
:
fortuneteller
|
เขียนเมื่อ |
:
4 พ.ย. 54 10:27:37
|
|
|
|