 |
ภาษามลายูเป็นสาขาหนึ่งของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนครับ ซึ่งเป็นตระกูลภาษาที่ใหญ่มาก ใช้กันตั้งแต่ในพวกชาวเกาะแปซิฟิกตะวันตกไปจนถึงเกาะมาดากัสการ์เลยครับ (เคยมีคนเสนอว่าเผลอๆ ภาษาตระกูลไทอาจจะเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลนี้ด้วยก็ได้ ถ้าพิจารณาจากศัพท์พื้นฐาน และไวยากรณ์)
ภาษามลายูที่ใช้ในสามจังหวัดชายแดน เป็นภาษามลายูถิ่นหนึ่ง เรียกว่าบาซอนายู คนไทยเรียกภาษายาวี(ที่จริงเป็นชื่ออักษรครับ) ใช้อักษรยาวี(Jawi) หน้าตาคล้ายๆอักษรอาหรับ แต่เพิ่มบางตัวเข้ามาเพื่อแทนเสียงที่ภาษาอาหรับไม่มี เช่น ป, ง, ญ(ย ขึ้นจมูก)
ภาษามลายูที่ใช้ในมาเลเซีย เรียกว่าบาฮาซา มาเลเซีย เดิมใช้อักษรยาวี ต่อมาจึงเปลี่ยนมาใช่อักษรโรมัน A B C เรียกว่าอักษรรูมี
ส่วนภาษามลายูของอินโดฯคล้ายๆมาเลเซียครับ ต่างกันที่ศัพท์บางคำ แต่โดยรวมๆก็พูดเข้าใจกันได้
ภาษามลายูถิ่นกับมลายูมาเลย์มีศัพท์หลายคำที่ออกเสียงต่างกันครับ เช่น อิกัน(มล.กลาง)/อิแก(มล.ถิ่น) -ปลา บินตัง(มล.กลาง)/บิแต(มล.ถิ่น) -ดาว โอรัง(มล.กลาง)/ออแรฺ*(มล.ถิ่น) -คน ( * เสียงคล้ายตัว R ฝรั่งเศส)
ส่วนในภาพ คืออักษรยาวีครับ
จากคุณ |
:
กุมารสยาม
|
เขียนเมื่อ |
:
8 พ.ย. 54 12:29:28
|
|
|
|
 |