สอบถามเกี่ยวกับเรื่องขันทีครับ
|
 |
เพื่อนคนนึงโดยคำถามให้ผมว่า การที่ผู้ชายสมัยก่อนถูกตอนและกลายเป็นขันที กับ ค่านิยมที่มักให้ลูกชายคนโตของครอบครัว ผู้ซึ่งเป็นยิ่งกว่าหัวแก้วหัวแหวน เป็นผู้สืบทอดธุรกิจ ดิฉันอยากทราบว่าวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของชาวจีนทั้งสองอย่างนี้มีความเกี่ยวเนื่องหรือเปล่าครับ ส่วนตัวของผมคิดว่า ไม่น่าจะเกี่ยวเนื่องกันเพราะ ขันทีนี่เขามีจุดประสงค์เพื่อการรับใช้กษัตริย์และรับราชการในวัง เหตุผลที่ต้องตอนมีหลายสาเหตุ แต่หลักๆ คือ บุคคลซึ่งไม่มีลูกเมียย่อมไม่คิดสะสมทรัพย์สมบัติอะไรมากนัก และความใกล้ชิดกับกษัตริย์อยู่ตลอดเวลา รวมทั้งกษัตริย์เห็นอกเห็นใจในการเสียสละอัน "ใหญ่ยิ่ง" นี้ และก็ทรงไว้ใจอย่างยิ่งที่ไม่มีเรื่องกับบรรดานางสนมรวมทั้งมเหสี อีกทั้งมีความสงสารเป็นพิเศษอีกด้วย บางที่บอกว่ามันจะเป็นการจำกัดอำนาจไม่ให้ผู้ชายเหล่านีั้มันแข็งข้อน่ะ เพราะถ้าจัดการบริหารแผ่นดินได้นี่ สักวันก็อาจจะโค่นล้มอำนาจกันได้ แต่ถ้าตอนจู๋ไปเสียแล้ว เหล่าขันทีมันก็ไม่มีฮอร์โมนเพศชาย อนึ่ง ขันทีในเวลาต่อมากลายเป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งต่างหากจากข้าราชการทั้งหลาย มีสำนักศึกษาเอง คัดเลือกบุคคลที่ฉลาดและหน้าตาดีเข้ามาเป็น พวกนี้บางคนมีความรู้ดีมาก ไม่ยิ่งหย่อนกว่าพวกข้าราชการ ฉะนั้นก็ไม่น่าแปลกอะไรที่พวกขันทีได้มีโอกาสควบคุมราชการบ้านเมืองโดยทางอ้อมหรือทางตรง (อันนี้คัดมาจากเน็ตนะครับ) ส่วนเรื่องการให้ลูกชายคนโตค่านิยมที่มักให้ลูกชายคนโตของครอบครัว ผู้ซึ่งเป็นยิ่งกว่าหัวแก้วหัวแหวน เป็นผู้สืบทอดธุรกิจ นั้น คาดว่าเป็นค่านิยมเกี่ยวกับการมีลูกชายไว้สืบสกุลมาแต่ไหนแต่ไร ก็เหมือนๆ กับสังคมทั่วโลกที่ยกให้ชายมีอำนาจเป็นใหญ่ ดังนั้นค่านิยมเรื่องการมีลูกชายไว้สืบแซ่ สืบสกุล จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก คนจีนเชื่อว่าถ้าพ่อแม่ได้เห็นลูกชายแต่งงาน มีลูกหลานสืบสกุล พ่อแม่ก็ไม่มีอะไรต้องห่วง และเป็นสิ่งที่รับประกันว่าพวกเขาทำหน้าที่พ่อแม่ได้สมบุรณ์แล้ว ส่วนเรื่องการให้ลูกชายคนโตทำหน้าที่สืบทอดธุรกิจ อันนี้น่าจะเป็นคอมมอนเซ้นท์ว่า เป็นลูกชายคนแรกที่สวรรค์ส่งมาให้ ดังนั้นจึงต้องเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงทำงาน ดูแลน้องๆ ต่อไป อะไรทำนองนี้มั้งแก สมัยนี้ค่านิยมเรื่องนี้ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป เพราะรัฐบาลจีนออกกฎหมายให้มีลูกได้แค่คนเดียว ถ้าอยากมีคนที่สองจะต้องเสียภาษี ซึ่งแน่นอนที่ลูกคนเดียวจะเป็นที่รักและโดนสปอยด์จากพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่ ในทางกลับกันเมื่อลูกโตขึ้น ภาระทั้งหลายแหล่จะตกอยู่ที่ลูกคนเดียว ที่ต้องคอยดูแลพ่อแม่ปู่ย่าตายายยามแก่เฒ่า ตอนนี้คนจีนจึงค่อยๆ เบนความคิดมาว่ามีลูกสาวก็ดี เพราะอย่างน้อยจะได้ไม่ต้องหาเงินไปสู่ขอผู้หญิง หรือออกไปแต่งงานมีครอบครัว มีลูกสาวจะได้คอยปรนนิบัติพ่อแม่ยามชราได้เหมือนกัน นี่เป็นทัศนะของผมที่เพิ่งเริ่มเรียนภาษาจีนได้ไม่กี่ปีครับ เลยอยากถามพี่ๆ ผู้รู้ทุกคน ว่ามันมีอะไรที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันหรือเปล่า หรือว่าสมมติฐานของผมผิดหมดเลย ขอบคุณมากครับ :)
จากคุณ |
:
ปาท่องโก๋เที่ยงวัน
|
เขียนเมื่อ |
:
7 พ.ย. 54 19:35:10
|
|
|
|