 |
การตั้งกำแพงภาษีนำเข้าคิดว่าไม่เป็น เพราะรัฐเก็บภาษี แต่ไม่ได้ไปบังคับ invisible hand
ให้เป็นไปในทางที่ตนต้องการ จึงไม่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นการแทรกแซงการตลาดครับ
(อันนี้ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าภาษีนำเข้ามันมีอะไรพิเศษหรือเปล่า
แต่ถ้าคิดตามหลักการของเก็บภาษีสินค้าทั่วไปของรัฐบาล จะไม่ถือว่าเป็นการแทรกแซงครับ)
ส่วนการกำหนดโควต้า เท่ากับว่า รัฐบาลไป fix ปริมาณของ supply ในตลาดสินค้าไม่ให้ต่ำหรือสูงเกินไป
ทำแบบนี้ ก็เท่ากับว่าเป็นการแทรกแซงกลไกแล้วแหละครับ
ข้อ2,3 เป็นการแทรกแซงกลไกตลาดเงินแน่นอนครับ
ตามตลาดปกติจะมีการสมดุลกันระหว่างความต้องการเงินกับปริมาณเงินในระบบ(Money Demand & Money Supply)
สมดุลของสองตัวนี้จะเป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ย
(คล้ายๆกับ demand, supply กำหนดราคา แต่ในตลาดเงินจะเป็นตัวกำหนดดอกเบี้ย)
การลดดอกเบี้ยในตลาดเงิน ก็เทียบได้กับเราไปบังคับให้ราคาในตลาดสินค้ามันต่ำลงล่ะครับ
ส่วนข้อสาม การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ก็คือเราไปเพิ่ม Supply เงินในตลาดเงินนั่นเอง
(อธิบายให้เห็นภาพในแง่ของการบิดเบือนกลไกตลาดเท่านั้นนะครับ ไม่เกี่ยวกับหลักการนะครับ )
ในเคสสอง เคสสามนี้ รัฐบาลไปบังคับเจ้า invisible hand นี้เองเลย
ฉะนั้น การลดอัตราดอกเบี้ยของ FED หรือมาตรการอัดฉีดเงิน ถือว่าเป็นการแทรกแซงกลไกการตลาดครับ
จากคุณ |
:
ท่าพระมูน
|
เขียนเมื่อ |
:
9 พ.ย. 54 17:05:20
|
|
|
|
 |