อี้จิง อภิปรัชญาจีน รากฐานแห่งปรัชญาและความเชื่อของจีน
|
 |
อี้จิงคืออะไร? นี่อาจจะเป็นสำคัญสำหรับผู้เริ่มต้นหรือแม้แต่ผู้ที่เคยศึกษาอี้จิงมาแล้ว
อี้ แปลว่าการเปลี่ยนแปลง
จิง หมายถึงคัมภีร์
อี้จิงจึงหมายถึง คัมภีร์ที่ว่าด้วยศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหมายถึงโดยทั่วไปคัมภีร์โจวอี้ซึ่งถูกรจนาขึ้นมาในสมัยราชวงค์โจว
ทฤษฎีที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งนี้ มันมีมาตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ของจีน ย้อนไปถึงยุคที่เรายังไม่มีแม้แต่ตัวอักษรใช้กัน มีการบันทึกไว้เป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น ทฤษฎีนี้ได้มาจากการเฝ้าสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ แล้วนำมาแปลงเป็นรูปแบบของสัญลักษณ์ และความหมายเชิงตัวเลข มันคือเลขฐานสองในยุคแรกๆของจีน จนต่อมาเมื่อมีการประดิษฐ์อักษร จึงได้เริ่มมีการบันทึกความหมายของหลักการนี้ไว้ให้เป็นที่ศึกษากัน
ย้อนกลับไปในยุค 3 กษัตริย์ กษัตริย์ฝูซีได้ศึกษาและสังเกตุปรากฏการณ์บนฟ้า ก้มหน้าดูการเปลี่ยนแปลงของดิน สังเกตุการอยู่กินของสัตว์ และวงจรการเติบโตของพืชพันธุ์ทั้งหลาย ฝูซีได้กำหนดทฤษฏีว่าด้วยความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งนี้ ในรูปแบบของสัญลักษณ์ โดยฝูซีได้แบ่งปรากฏการณ์และสิ่งต่างๆเป็น 8 กลุ่มแทนทิศทั้ง 8 โดยสร้างจากกลุ่มของเส้นหยิน-หยาง 3 เส้น เรียกว่าตรีลักษณ์ และสร้างเป็นแผนภูมิแปดทิศหรืออัฏฐลักษณ์ที่เรียกว่าแผนภูมิแบบก่อน สวรรค์(เซียนเทียนปากว้า)
ในยุคของฝูซีนี้มีอยู่วันหนึ่งได้มีกิเลนกระโจนขึ้นมาจากแม่น้ำ ฝูซีได้สังเกตุเห็นลวดลายบนลำตัวของกิเลนฝูซีจึงได้ทำการจดลวดลายดังกล่าว ไว้ ลวดลายดังกล่าวได้กลายเป็นแผนภูมิเหอถูหรือแผนภาพแม่น้ำ
ต่อมากษัตริย์และราชาทั้งหลายต่างใช้ประโยชน์จากหลักการแห่งการเปลี่ยน แปลงนี้สร้างสิ่งต่างๆขึ้นมา ทั้งหลักการนี้ได้ถูกนำมาอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตผ่านทาง การทำนายด้วยกระดูก เศษไม้ จึงนับได้ว่าหลักแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้เข้ามาเป็นหลักแห่งการพยากรณ์ใน ยุคต้นๆ ตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ทีเดียว
(***หลักจากนั้นมีการนำตรีลักษณ์ทั้ง 8 มาสร้างโดยจับคู่กันกลายเป็นฉักลักษณ์หรือลายลักษณ์ 6 เส้น กลายเป็นฉักลักษณ์ทั้ง 64 และมีการบันทึกไว้ดังนั้นศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลงนี้จึงถูกเรียกว่า อี้จิง หรือ คัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลง ในภายหลัง)
ต่อมาในสมัยราชวงค์เซี่ยซึ่งเป็นราชวงค์แรกของจีน ต้าอวี่ได้อาศัยความพยายามแก้ปัญหาน้ำท่วมจนสำเร็จ และได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์จากพระเจ้าซุ่น ว่ากันว่าครั้งหนึ่งมีเต่าศักสิทธิ์ผุดขึ้นมาจากแม่น้ำหลอ และบนหลังกระดองของเต่ามีเครื่องหมายขีดเขียนไว้ ต้าอวี่พบเห็นและได้จดบันทึกไว้ ซึ่งต่อมาลวดลายที่จดไว้นั้นถูกเรียกกันว่าหลอซู่ หรือบันทึกแม่น้ำหลอ
ในสมัยราชวงค์ซาง กษัตริย์องค์สุดท้ายคือโจ้วหวังจอมทรราชย์เข่นฆ่าประชาชนและคนที่ไม่เห็น ด้วยกับตนเป็นผักปลา เขาไม่วางใจในเจ้าเมืองโจว นามจีซาง จึงได้นำมากักตัวไว้ เพื่อทดสอบจีซาง โจ้วหวังได้ฆ่าบุตรชายคนโตของจีซาง นำเนื้อไปต้มแกงจืดส่งให้จีซางกิน จีซางไม่ทราบเรื่องจึงกินซุปนั้นจนหมด โจ้วหวังจึงคลายความระแวงสงสัยในตัวจีซางลง
เพื่อช่วยเหลือจีซาง เหล่าขุนนางเมืองโจวจึงส่งสาวงามไปแลกตัวจีซาง เมื่อถูกปล่อยตัวออกมาจีซางได้เจียงจื่อหยามาเป็นเสนาธิการ ซึ่งเจียงจื่อหยาได้ช่วยเหลือจีฟา บุตรของจีซางโค่นล้มราชวงค์ซางและสถาปนาราชวงค์โจวสำเร็จ ต่อมาจีซางถูกเรียกว่ากษัตริย์โจวเหวินหวัง
ในระหว่างที่จีซางถูกกักตัวอยู่นั้น เขาได้นำความรู้เรื่องอี้จิง ที่เคยศึกษามาเรียบเรียงด้วยเนื้อหาจากสถาณการณ์ทางการเมืองในสมัยนั้น โดยอธิบายฉักลักษณ์ทั้ง 64 ลาย และได้เขียนอธิบายการเปลี่ยนแปลงของลายเส้นทุกลายในฉักลักษณ์ บันทึกเป็นตำราไว้ ต่อมาตำรานี้จึงถูกเรียกว่า โจวอี้ หรือ "เปลี่ยนราชวงค์โจว" ซึ่งตำราเล่มนี้เองได้ถูกยกย่องขึ้นเป็นคัมภีร์ระดับคลาสสิคของจีน และเรียกว่าอี้จิงในกาลต่อมา
นอกจากนี้โจวเหวินหวังยังได้นำลำดับเลขของหลอซู่หรือบันทึกแม่น้ำหลอมา จัดเรียงเข้ากับลำดับของตรีลักษณ์ทั้งแปด และได้สร้างอัฏฐลักษณ์แบบหลังสวรรค์ขึ้น(โฮ่วเทียนปากว้า)
ปราชญ์ในยุคจ้านกว๋ออย่าง ขงจื้อ ก็ศึกษาโจวอี้ ขงจื้อจับต้องโจวอี้บ่อยจนเชือกที่ร้อยบันทึกไม้ของเขานั้นขาดถึง 3 ครั้ง 3 ครา ว่ากันว่าในวัย 70 ของขงจื้อได้กล่าวไว้ว่า หากเขามีอายุยืนยาวอีก 50 ปี เขาจะทุ่มเทเวลาศึกษาโจวอี้ และด้วยเหตุนี้เขาย่อมหลีกพ้นจากความผิดพลาดทั้งหลายได้ และอรรถาธิบายโจวอี้ได้กลายเป็นตำราหนึ่งในงานเขียนของขงจื้อเช่นกัน
ในปัจจุบันนี้เมื่อเรากล่าวถึงอี้จิง โดยทั่วไปจะเข้าใจว่าคือศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลง ทั้งๆที่จริงๆอี้จิงหมายถึงคัมภีร์โจวอี้ ปัจจุบันหลักแห่งอี้ได้กลายเป็นศาสตร์แขนงต่างๆของจีน ทั้งการแพทย์, วิทยาศาสตร์โบราณ, ศิลปะการต่อสู้, การทำนายหรือการพยากรณ์ ฮวงจุ้ย และแทบทุกสิ่ง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของชาวจีน สัญลักษณ์ของอี้จิงยังเป็นตราในธงชาติเกากลี เป็นเลขฐาน 2 ในคอมพิวเตอร์ เป็นรหัส DNA ของเรา รวมทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์ใน ปัจจุบันอีกด้วย
ส่วนคนทั่วไปรวมถึงนักโหราศาสตร์นิยมใช้โจวอี้มาเป็นแนวทางชีวิตโดยผ่าน ทางการทำนายและปัจจุบันได้มีการปรับปรุงรูปแบบคำทำนายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ทำให้เราสามารถใช้โจวอี้ได้ง่ายขึ้นและใกล้ชิดชีวิตเรามากยิ่งขึ้น
เครดิต http://www.thaizhouyi.com/zhouyiworld/history/76-yijing-introduction.html
จากคุณ |
:
เราเห็นตัถย์
|
เขียนเมื่อ |
:
14 พ.ย. 54 13:18:57
|
|
|
|