 |
2. ในด้านสังคมนั้น คงต้องบอกว่ายุ่งเหยิงครับ เพราะรากฐานอันเป็นความภาคภูมิใจของชาวจีน ที่เชื่อว่าอารยธรรมและองค์ความรู้ของชาวจงหยวนนั้นถือว่าเป็นผู้เจริญเพียงแห่งเดียวในแผ่นดิน ได้ถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรงครับ
นั่นทำให้ทั้งความเชื่อ จิตวิญญาณ หลักการต่างๆ ที่คนรุ่นบิดาอาจารย์ได้เรียนและสอนต่อๆกันมา กลายเป็นภูมิความรู้อันคร่ำครึ หาประโยชน์อันใดมิได้หน่ะครับ
คนรุ่นใหม่ในจีนตอนนั้นส่วนมาก จึงพยายามขวนขวายที่จะแสวงหาความรู้หรือวิชาการใหม่ๆ ที่เห็นว่าจะเท่าทันโลกตะวันตกกันอย่างมากครับ ก่อให้เกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มแนวคิดเก่า ที่ถูกมองว่าระบบเดิมๆของจีนนั้นไม่มีเสถียรภาพและกำลังจะตาย กับแนวคิดใหม่ ที่ตอนนั้นก็มีหลากหลายสาย ท่ามกลางกระแสท่วมท้นของเสรีนิยม ทุนนิยม สังคมนิยม อนาธิปไตย ฯลฯ ที่กำลังโลดแล่นไปทั่วโลก
3. ตอนนั้นแม้ราชสำนักชิงจะพยายามปฏิรูปในหลายๆด้านเพื่อตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้ทันนั้น ปัญญาชนผู้รักชาติจำนวนมากก็พากันลงกันความเห็นว่า ระบอบจักรพรรดินั่นแลคือตัวถ่วงความเจริญของประเทศชาติครับ
ปัญญาชนจำนวนมากเลยพากันไม่เอาระบอบจักรพรรดิและต้องการให้ปฏิวัติประเทศไปสู่การปกครองแบบใหม่ที่ไม่ต้องมีโอรสสวรรค์เป็นผู้นำอีกแล้ว
4. ปัญหาสำคัญในตอนนั้นของต้าชิง นอกจากการคลังที่ว่างเปล่า หนี้สินรุงรัง และการโกงกินไปทุกระดับแล้ว ยังมีอีกปัญหาที่ทำให้ต้าชิงไปไม่รอด นั่นก็คือการหวงแหนอำนาจครับ
ซูสีไทเฮาเชื่อเสมออย่างที่พระนางเคยเชื่อว่า อำนาจอันชอบธรรมในการปกครองจงหยวน เป็นอำนาจที่ฟ้าประทานให้สกุลอ้ายซินเจี๋ยหรอและราชวงศ์ อำนาจนี้จะไม่แบ่งให้ใครเด็ดขาด
และพอซูสีไทเฮาสิ้นพระชนม์ไป เหล่าผู้สำเร็จราชการทั้ง ชุนชินอ๋อง, ชิ่งอ๋อง, หลงหยู่ไทเฮา ก็พยายามกันเต็มที่ที่จะปกป้องอำนาจอันเบ็ดเสร็จของราชสำนักเอาไว้ต่อไปครับ ซึ่งมันผิดไปจากความต้องการของประชาชนหัวใหม่จำนวนมาก ที่เห็นว่าราชสำนักควรปล่อยวางอำนาจ หรือไม่ก็ควรจะออกไปให้พ้นๆเสีย
แก้ไขเมื่อ 17 พ.ย. 54 13:51:55
จากคุณ |
:
อุ้ย (digimontamer)
|
เขียนเมื่อ |
:
17 พ.ย. 54 13:50:26
|
|
|
|
 |