 |
1. รัฐบาลก๊กมินตั๋งที่นานกิงไม่ยอมรับสภาพการยึดครองของรัฐบาลทหารญี่ปุ่นที่มีต่อดินแดนตรงนั้นครับ และยิ่งไม่ยอมรับการมีอยู่ของประเทศแมนจูกั๋ว ซึ่งนั่นก็คือ รัฐบาลก๊กมินตั๋งมองว่า ญี่ปุ่นเข้าไปยึดครองดินแดนของจีนโดยมิชอบครับ และได้ยื่นคำร้องต่อสันนิบาติชาติ จนทางสันนิบาติชาติมีมติประนามญี่ปุ่นและยื่นข้อเรียกร้องให้ญี่ปุ่นถอนทหารออกไปจากแมนจูกั๋วครับ (แน่นอนว่าญี่ปุ่นไม่ทำตาม และถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของสันนิบาติชาติเป็นการตอบโต้)
ตรงนี้เองทำให้นานาประเทศมหาอำนาจ อย่างสหรัฐกับอังกฤษ ไม่ยอมรับว่าการยึดครองแมนจูเรียของญี่ปุ่นมีผลในทางนิตินัยครับ แมนจูเรียยังคงเป็นดินแดนใต้อธิปไตยของสาธารณรัฐจีน (ในทางนิตินัย) และยิ่งไม่ยอมรับการตั้งรัฐบาลแมนจูกั๋วอีกด้วย ตรงนี้เองทำให้รัฐของแมนจูกั๋วจวบจนถึงปี 1944 ก็มีเพียงทางญี่ปุ่นเอง และประเทศเล็กๆอีกไม่กี่แห่งที่ยอมรับในสภาพเอกราชของแมนจูกั๋วครับ
สถานะของแมนจูกั๋วในปี 1933 เลยคล้ายๆกับหลายๆเขตยึดครองที่กระจัดกระจายในจีน เช่น มองโกลเลียกับทิเบต (ที่พยายามแยกตัวเป็นเอกราชมาตั้งแต่ปี 1913), โซเวียตแห่งเจียงซี ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนก่อตั้งเป็นเขตอิสระอยู่, หนิงเซี่ย-กานซู ที่ขุนศึกสกุลหม่าแบ่งกันปกครอง, ซินเจียง-อุยเกอร์ รวมไปถึงไชนีสเตอร์กิส ที่โซเวียตยึดครองบางส่วน หรือตั้งเป็นเขตอิทธิพล, หรือเขตยึดครองของขุนศึกทั่วจีนครับ
ทางรัฐบาลก๊กมินตั๋งยังคงอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนทั้งหลาย ที่เป็นอาณาเขตดั้งเดิมของต้าชิงในปี 1911 ต่อเนื่องมาเรื่อยๆครับ โดยก๊กมินตั๋งไม่ยอมรับการเป็นอิสระของรัฐใดๆ ที่ตั้งอยู่บนดินแดนดั้งเดิมของต้าชิงเลย
2. แมนจูเรียกว้างใหญ่ก็จริงครับ แต่ประชากรเบาบางครับ มีแค่ราวๆ 30 ล้านคนเอง (แค่ 1/2 ของญี่ปุ่นทั้งประเทศ) ญี่ปุ่นพยายามเข้าไปสร้างอุตสาหกรรมหนักและส่งคนเข้าไปบุกเบิกพื้นที่ทางเกษตรในแมนจูกั๋วครับ แต่ทว่าก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของกองทัพญี่ปุ่น เพราะขาดแคลนแรงงาน, ชาวบ้านส่วนมากก็ต่อต้าน, รัฐบาลของแมนจูกั๋วก็อยู่ใต้การบังคับของกองทัพกวานตง
แม้แมนจูเรียจะมีถ่านหิน, ข้าวสาลี, ถั่วเหลือง และน้ำมันอยู่ แต่ก็ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงกองทัพญี่ปุ่นในสงครามหน่ะครับ ชาวแมนจูกั๋วต้องทำงานหนักมากเพื่อส่งกำลังบำรุงให้กับกองทัพญี่ปุ่น
3. ประมาณ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตรครับ
4. ตอนปลายสงครามโลก เมื่อโซเวียตประกาศสงครามกับญี่ปุ่น ก็ส่งกองทัพบุกแมนจูกั๋วครับ ซึ่งแน่นอนว่ากองทัพกวานตงและกองทัพของแมนจูกั๋วเอง ไม่สามารถต้านทานการบุกของโซเวียตได้ จึงพ่ายแพ้อย่างรวดเร็วครับ และโซเวียตก็ยึดครองดินแดนนี้ได้เบ็ดเสร็จในเดือนพฤษภาคมปี 1945 ครับ ในช่วงแรกๆนี่ โซเวียตตั้งรัฐบาลชั่วคราวของแมนจูเรียขึ้นมาก่อน เพื่อปกครองเขตยึดครองนี้
ต่อมาในวันที่ 14 สิงหาคม 1945 ทางรัฐบาลก๊กมินตั๋งและโซเวียตก็ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยแมนจูเรียกัน โดยโซเวียตจะคืนแมนจูเรียแก่สาธารณรัฐจีนครับ ทว่าทางรัฐบาลก๊กมินตั๋งจะยอมให้โซเวียตใช้ประโยชน์ในสาธารณูปโภคหรือฐานทัพเดิมของกองทัพญี่ปุ่นได้เป็นเวลา 30 ปี รวมไปถึงสัมปทานในทางรถไฟสายฉางชุนอีกด้วย (ก็คือยอมให้แมนจูเรียเป็นเขตอิทธิพลของโซเวียตนั่นแล)
หลังจากนั้นโซเวียตก็ค่อยๆถอนทหารออกไปจากแมนจูเรียจนหมดในช่วงกลางปี 1946 ครับ และโอนการดูแลแมนจูเรียคืนให้ฝ่ายก๊กมินตั๋ง แต่บางพื้นที่ก็กลายเป็นเขตปฏิบัติการของกองทัพปลดปล่อยประชาชนไปครับ
5. ญี่ปุ่นเปิดแนวรบไปกว้างขวางมากครับ และกระทำอย่างเร่งด่วน จนกำลังการผลิตในแมนจูเรีย ที่แม้จะมีทรัพยากรมาก แต่ผลิตเอามาป้อนกองทัพไม่ทันครับ อุตสาหกรรมหนักในแมนจูเรียนั้น ญี่ปุ่นพึ่งจะเข้าไปเริ่มต้นอย่างเร่งด่วนได้ในราวๆปี 1935-38 เองครับ กำลังการผลิตยังมีไม่มากพอ ชาวบ้านก็ไม่ให้ความร่วมมือ แรงงานจำนวนไม่น้อยถูกบังคับมาทำงานอย่างหนัก การต่อต้านมีอยู่เนืองๆ กองทัพกวางตงต้องใช้กำลังบีบบังคับหรือเรียกเก็บภาษีอย่างหนักจากประชาชนอย่างสม่ำเสมอ
ชาวนาจำนวนมากในแมนจูเรีย ไม่มีข้าวขาวกิน เพราะต้องส่งไปป้อนให้กับกองทัพญี่ปุ่นครับ พวกเขาปลูกข้าวขาว แต่ต้องไปกินลูกเดือย หัวมัน และเม็ดเกาเหลียงแทน
จากคุณ |
:
อุ้ย (digimontamer)
|
เขียนเมื่อ |
:
8 ธ.ค. 54 06:13:48
|
|
|
|
 |