อำนาจคุมหัวเมืองมีมากขนาดไหน เอาเป็นว่าหลังจากนั้นตำแหน่งเจ้าเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดถูกเปลี่ยนยกเซตครับ
พงศาวดารหลายฉบับมักกล่าวว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีถูกตัดพระเศียรมากกว่าสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ความเป็นจริงคือขุนนางในตอนนั้นโดนจับประหารจำนวนมาก ถ้าไม่ประหารก็โดนเปลี่ยนตำแหน่งจำนวนมาก ระดับสูงถึงกลางโดนเปลี่ยนเกือบหมด
นอกจากนี้กรมพระราชวังบวรยังได้ "...ดำรัสว่าปรึกษาราชการแผ่นดินด้วยกันแล้ว เสด็จออกจากเฝ้า ให้ตำรวจไปจับข้าราชการทั้งปวง บรรดาที่มีความผิดขุ่นเคืองกับพระองค์มาแต่ก่อน ให้ประหารชีวิตเสียสิ้นทั้งแปดสิบคนเศษ..." ขุนนางที่เข้าด้วยกรมขุนอนุรักษ์สงครามประมาณ ๔๐ คนก็ถูกประหาร แล้วก็พรรคพวกของพระยาสรรค์อีก รวมขุนนางเชื้อพระวงศ์ที่ถูกประหารคราวนั้นประมาณ ๑๕๐ ครับ
สันนิษฐานว่ายังมากมายกว่าสงครามกลางเมืองสมัยเจ้าฟ้าอภัยรบกับพระเจ้าบรมโกศ(ซึ่งกล่าวว่าเป็นสงครามกลางเมืองที่นองเลือดที่สุดสมัยอยุทธยา)เสียอีก เพราะยังมีขุนนางที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายพระเจ้าบรมโกศรอดชีวิตจำนวนมาก
จากนี้จะขอนำเสนอรายชื่อขุนนางที่แต่งตั้งใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ครับ
ขุนนางวังหลวง
ตรัสเอาพระอักขรสุนทรเสมียนตรา ในกรมมหาดไทย ข้าหลวงเดิมซึ่งมีความชอบได้เสด็จพระราชดำเนอนไปงานพระราชสงครามหลายครั้ง แลทำราชการสนองพระเดชพระคุณ ต่างพระเนตรพระกรรณ์มิได้มีความผิด เปนเจ้าพระยารัตนาพิพิธ ที่สุมหนายก (ก็คงเป็นข้าเดิมในสมัยที่ ร.๑ ทรงเป็นเจ้าพระยาจักรีอยู่ เลยได้เลื้อนเป็นสมุหนายกแทน ร.๑)
ตรัสเอาพระทุกขราฎเมืองพิศณุโลกย์(หม่อมปิ่ล) บุตรพระยากระลาโหมคลองแกลบ(กลาโหมสมัยพระเจ้าเอกทัศ เป็นคนสกุลบุนนาค) มีความชอบ ได้ทำศึกสงครามด้วยพระองค์แต่ก่อนมามิได้คิดแก่ชีวิตว โปรดให้เปนเจ้าพระยามหาเสนา ที่สมุหพระกระลาโหม (คนเก่าเป็นพวกพระยาสรรค์ มียศพระยา ถูกประหาร)
ตรัสหลวงอินทราธิบดีศรีราชรองเมือง(เจ้ากรมกองตระเวนขวา สังกัดนครบาล) ได้ทำราชการสงครามหลายครั้งมีความชอบ เปนคนเก่า(หมายความว่าเป็นขุนนางสมัยอยุทธยา)รู้ธรรมเนียมในกรมพระนครบาล โปรดให้เปนเจ้าพระยายมราช(เสนาบดีกรมนครบาล)
ตรัสว่าหม่อมปิ่น มีความชอบได้โดยเสด็จพระราชดำเนอน ทำการสงครามหลายครั้ง ต้องศาสตราวุธข้าศึกแล้วสื่อสอนชวนนายทับนายกองตีเอากรุงธนบูรีได้ มีความชอบมาก โปรดให้เปนพระยาพลเทพ(เสนาบดีกรมนา)
ตรัสเอาพระยาธรรมาธิบดีแผ่นดินกรุงธนบูรี(เสนาบดีกรมวัง ชื่อบุญรอด) บุตรพระยามณเฑียรบาลกรุงเก่า ซึ่งมีความชอบได้โดยเสด็จพระราชดำเนอนไปการสงคราม แลสัตยซื่อรักใคร่ในพระองค์ รู้ขนบธรรมเนียมในกรมวัง จะยกไปกรมอื่นไม่ได้ โปรดเลื่อนขึ้นเปนเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์
ตรัสเอาพระยาพิพัฒโกษา(ปลัดทูลฉลองกรมคลัง) แผ่นดินกรุงทนบูรีชื่อสน เปนเจ้าพระยาพระคลัง(เสนาบดีกรมคลัง)
ตรัสเอาพระยาตักโตโหรแผ่นดินกรุงธนบูรี ซึ่งได้โดยเสด็จพระราชดำเนอนไปงานพระราชสงครามหลายครั้ง ทั้งมีความสัตยซื่อสุจริตในพระองค์มีความชอบ โปรดให้เปนเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช(เป็นตำแหน่งเสนาบดีผู้ใหญ่ คนเก่าเดิมเป็นพระยาธิเบศบริรักษ์สมัยอยุทธยา ไปเป็นทูตที่เมืองจีนอยู่ตอนนั้น)
แล้วได้ตั้งตำแหน่งทุกขราฎหัวเมืองปากใต้ฝ่ายเหนือด้วยทั้งสิ้น ตรัสเอสหลวงสรวิชิต[ชื่อหน] ซึ่งมีความชอบนำเอาข้อราชการในกรุงธนบูรี ออกไปกราบทูลให้ทราบถึงด่านพระจาฤกษ์(ชายแดนเขมร) โปรดให้เปนพระยาพิพัฒโกษา ภายหลังได้เปนที่เจ้าพระยาพระคลัง(เจ้าพระยาพระคลัง(หน))
ตรัสเอานายบุณนาคแม่ลา(ไม่เกี่ยวอะไรกับคนสกุลบุนนาคนะครับ) ซึ่งเปนต้นคิดปราบจุลาจลในกรุงธนบูรีมีความชอบ เปนเจ้าพระยาไชยวิชิตรผู้รักษากรุงเก่า
ตรัสเอาหลวงชณะซึ่งร่วมคิดด้วยนายบุญนาค ช่วยปราบจุลาจลมีความชอบ เปนพระยาสรรค์บูรี(แทนพระยาสรรค์ที่ถูกประหาร)
ตรัสเอาหลวงสุระ ซึ่งมีความชอบร่วมคิดด้วยหลวงชณะ เปนพระยาสิงหราชเดโช(เจ้ากรมอาสาเดโช เทียบเท่าจุตสดมภ์ของทหาร)
ตรัสเอานายแสง ซึ่งมีความชอบได้ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือลับ ได้ทรงพะดำริห์รักษาพระองค์ เปนพระยาทิพโกษา(ขุนนางในกรมคลัง)
ตรัสเอานายหงเสมียรเปนคนเก่า(รับราชการสมัยอยุทธยา) ซื่อสัตยสุจริต รู้ขนบธรรมเนียมราชการใช้สอยได้ดังพระไทย เปนพระพิพิธไอยสูริย์จางวางชาวที่ พระราชทานเด็กจุ้ยให้เปนภรรยา
ตรัสเอาพระยาราชนิกูล(ปลัดทูลฉลองกรมมหาไทย) ซึ่งมีความสวามิภักดิในพระองค์ เปนพระยามหาอำมาตย์(เจ้ากรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ คนเก่าเป็นพวกกรมขุนอนุรักษ์สงครามหลานพระเจ้ากรุงธนบุรี ถูกประหาร)
ตรัสเอาขุนไชยเสนี(สมุหบัญชีกรมอาสาจามขวา)ข้าหลวงเดิม เปนพระยาราชนิกูล
ตรัสเอาพันพุทธอณุราช(หัวพันกรมมหาดไทย) เปนพระยาราชสุภาวดี(เจ้ากรมพระสุรัสวดีกลาง)
ตรัสเอาเสมียรพูนข้าหลวงเดิม เปนพระยาประชาชีพ
ตรัสเอานายบุญจัน บ้านถลุงเหล็กข้าหลวงเดิม เปนพระยากำแพง (สมุหพระคชบาลขวา)
ตรัสเอาพระยาอินทร์อัคราชปลัดเก่าเมืองนครศรีธรรมราช เปนพระยาราชวังเมือง(สมุหพระคชบาลซ้าย)
ตรัสเอาพระยาเจ่งรามัญ เปนพระยามหาโยธา(เจ้ากรมอาสามอญ) ว่ากองมอญทั้งสิ้น
ตรัสเอาขุนโลกย์ทีป(เจ้ากรมโหรหลัง) ซึ่งได้ถวายพระยากรณ์ไว้แต่เดิม ว่าจะได้ราชสมบัตินั้น มีความชอบให้เปนพระโหราธิบดี(เจ้ากรมโหรหน้า)
ตรัสเอาขุนไชยโยคเปนขุนโลกทีป
ตรัสเอาหลวงพิเรนทร์ ซึ่งเปนข้าหลวงเดิมได้โดยเสด็จพระราชดำเนอนงานพระราชสงครามหลายครั้ง เปนพระยาท้ายน้ำ(เจ้ากรมอาสาท้ายน้ำ เทียบเท่าจุตสดมภ์ของทหาร)
ตรัสเอาหลวงภักดีภูธร ซึ่งมีความชอบเปนนายทับนายกองต้องสาตรวุธฆ่าศึก เปนพระยารามกำแหง(เจ้ากรมอาสาขวา)
ตรัสเอาหลวงภักดีสงคราม ซึ่งมีสวามิภักดิ์ โดยเสด็จพระราชดำเนิรงานพระราชสงครามทุกครั้ง เปนพระยาพิไชยรณฤทธิ์(เจ้ากรมเขนทองขวา)
ตรัสเอาหลวงสัจจา ซึ่งมีความชอบได้โดยเสด็จพระราชดำเนิรงานไปงานพระราชสงคราม มิได้ท้อแก่ข้าศึก เปนพระยาวิชิตรณงค์(เจ้ากรมเขนทองซ้าย คนเก่ายศเป็นพระ พวกพระยาสรรค์ ถูกประหาร)
ตรัสเอาหลวงพิไชยณรงค์ ซึ่งเปนคนสัตยซื่อสุจริตในพระองค์เปนพระพิไชยสงคราม(เจ้ากรมอาสาซ้าย)
ตรัสเอาหม่อมบุญนาค(ต้นตระกูลบุนนาค) บุตรพระยาจ่าแสนยากรณ์ครั้งกรุงเก่า มิได้คิดเข้ามาทำราชการหายศบันดาศักดิ์ พึ่งแต่พระเดชพระคุณให้ใช้สรอยอยู่ลับๆ ได้ตามเสด็จไปการพระราชสงครามทุกครั้ง มีความชอบ ตั้งให้เปนพระยาอุไทยธรรม(เจ้ากรมเครื่องต้น) ภายหลังได้เปนที่สมุหพระกระลาโหม
ตรัสเอาหม่อมบุญมา บตรพระยาจ่าแสนยากรณ์ พี่หม่อมบุญนาคแต่ต่างมารดา เปนที่พระยาตะเกิ้ง(จางวางซ้าย กรมพระแสงปืน)ก็ได้เปนที่สมุหพระกระลาโหม
ตรัสเอาหลวงกลางเปนคนสวามิภักดิ์ในพระองค์มาช้านานมีความชอบ ให้เปนพระยาราชสงคราม(จางวางกรมทหารในกลาง)
ตรัสเอาขุนปอ้งพลขันธ์ เปนพระยาจุฬาราชมนตรี(เจ้ากรมท่าขวา ผู้นำมุสลิม)
ตรัสเองนายอยู่ช่างทอง เปนพระศรีไกรลาศ (เจ้ากรมช่างเงิน)
ตรัสเอาขุนกลาง(ขุนนางที่วิเสศ สังกัดกรมกองตระเวนซ้าย)ผู้มีความชอบ ได้โดยเสด็จพระราชดำเนิรไปงานพระราชสงครามได้ต่อรบด้วยข้าศึกเปนหลายครั้ง แลมีความสัตยซื่อมาก เปนพระยาอไภยรนฤทธิ์(จางวางกรมพระตำรวจซ้าย)
ตรัสเอาขุนจุ้ย เปนข้าหลวงเดิมมาช้านาน เปนพระยาอนุชิตราชา(จางวางกรมพระตำรวจขวา)
ให้ขุนยกรบัตร ซึ่งมีความชอบ ได้โดยเสด็จพระราชดำเนิรไปงานพระราชสงคราม เปนพระยารัตนมณเฑียร
ให้หลวงอินทร์ เปนพระยาเพชรพิไชย (จางวางกรมล้อมพระราชวัง คนเก่าเป็นพวกกรุมขุนอนุรักษ์สงคราม ถูกประหาร)
ให้หมื่นชำนิ(เจ้ากรมม้าต้นขวา) เปนพระยาศรีสุริยพาหะ(เจ้ากรมพระอัศวราช)
ให้พระราชประสิทธิ์ เปนพระยาศรีพิพัฒ(เจ้ากรมพระคลังสินต้า)
ให้นายบุนจัน เปนพระยาวิชิตภักดี จางวางพระคลังในซ้าย
ให้หลวงพลเผ่นทยาน เปนพระอินทรเดช(เจ้ากรมพระตำรวจนอกซ้าย)
(พระราชรินทร์ เจ้ากรมตำรวจนอกขวาคนเก่าก็ถูกประหารเพราะเป็นพวกกรมขุนอนุรักษ์สงคราม แต่ไม่มีกล่าวในที่นี้)
ให้นายปานเสมียร เปนพระเทพวรชุน (ปลักทูลฉลองกรมพระกลาโหม)
ให้นายด้วง เปนพระสมบัติธิบาล (เจ้ากรมพระคลังในขวา)
ให้นายทองสุกเปนพระเสนาภิมุข (เจ้ากรมอาสาญี่ปุ่น)
ให้นายทองดีเปนจมื่นศรีสรลักษณ์(จางวางกรมมหาเล็ก) ภายหลังได้เปนที่ธรรมา
ให้หมื่นศรีเสนาเปนจมื่นไววรนารถ(จางวางกรมมหาเล็ก)
ให้หลวงรามเปนพระกำแหง (พระยากำแหงสงครามคนเก่า ถูกประหารพร้อมกรมขุนอินทรพิทักษ์)
ให้หมื่นไชยเสนีเปนหลวงราชนิกุล
ให้นายสาเสมียรเปนพระราชรองเมือง (อินทราธิบดีศรีราชรองเมือง? เจ้ากรมกองตระเวนขวา)
ให้นายสุดใจเปนพระพิเรนทรเทพ(เจ้ากรมตำรวจใหญ่ขวา)
ให้นายบุญเรืองเปนพระมหาเทพ(เจ้ากรมตำรวจในซ้าย คนเก่าเป็นพวกกรมขุนอนุรักษ์สงคราม ถูกประหาร)
ให้หมื่นสนิทเปนพระมหามลตรี(เจ้ากรมตำรวจในขวา)
ให้หลวงวังเปนพระจันทราทิตย์(เจ้ากรมพระสนมขวา)
ใหหลวงพิไชย(พิไชยมนตรี? เจ้ากรมม้าแซงในขวา)เปนพระยาจ่าแสน (เจ้ากรมมหาไทยฝ่ายภะลำพัง)
ให้ขุนสุทธิรักษเปนหลวงเทพสมบัติ (ขุนนางกรมเครื่องต้น)
ให้หลวงสนิทเปนหลวงราชวงษา (พนักงานเครื่องเบ็ดเสร็จ กรมเครื่องต้น)
ให้รองจ่าเปนหลวงอินทรมนตรี
ให้นายสุดเปนหมื่นทิพรักษา (ขุนนางกรมนา)
ใหหมื่นช่มเปนหมื่นราชาบาล (ปลัดกรมพระตำรวจนอกซ้าย)
ให้นายมูลเปนหมื่นราชามาตย์ (ปลัดกรมพระตำรวจในซ้าย)
แก้ไขเมื่อ 25 ธ.ค. 54 22:28:39
แก้ไขเมื่อ 25 ธ.ค. 54 22:24:22
แก้ไขเมื่อ 25 ธ.ค. 54 17:43:01
แก้ไขเมื่อ 25 ธ.ค. 54 16:07:12
แก้ไขเมื่อ 25 ธ.ค. 54 15:58:06
แก้ไขเมื่อ 25 ธ.ค. 54 14:33:12