 |
ขอแชร์ความคิดเห็นสักหน่อยนะคะ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่สนใจภาษาอังกฤษบ้าง
คือ ปัญหาของคนไทยเราส่วนใหญ่ในการใ้ช้ภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาในชีวิตประจำวันอยู่ที่วิธีการคิดของเรา นั่นก็คือ เราคิดเป็นภาษาไทยแล้วก็พยายามจะเรียบเรียงประโยคที่คิดนั้นออกมาเป็นภาษาอังกฤษ
เมื่อแปลทื่อๆแบบนั้นออกมา ถ้าคำๆนั้นมีคำที่ตรงกันในภาษาอังกฤษก็แล้ว แต่ถ้าบังเอิญมันไม่มี เราก็จะติดกึกๆกักๆอยู่เช่นนั้น เหมือนเราต่อเศษผ้าให้ออกมาเป็นผืนผ้าห่ม คนทำมีผ้า มีด้าย มีเข็ม แต่เอามันมาต่อกันไม่ได้เพราะเย็บผ้าไม่ชำนาญ สนเข็มไม่ถูก ต่อผ้าไม่ตรง ฯลฯ
ดังนั้น จึงอยากจะบอกว่า การใช้ภาษาอังกฤษนั้น บางครั้งต้องไม่คิดมากเกินไป และต้องหัดคิดแบบฝรั่ง
คิดแบบฝรั่งคืออย่างไร ก็คือ ภาษาอังกฤษ มันไม่เพียงแปลจากข้างหลังไปข้างหน้าอย่างเดียว มันยังแปลโดย "การกระทำ" และ "การถูกกระทำ" ด้วย แต่ภาษาไทย แปลจากข้างหน้าไปข้างหลัง แถมการกระทำหรือถูกกระทำ จะทำโดยการเติมคำขยาย
ภาษาไทยมีคำเชื่อม คำขยายเยอะ และจริงๆแล้วคำเชื่อมและคำขยายเหล่านั้นมันจะกลายเป็นคำฟุ่มเฟือยเมื่อเราเอาภาษาไทยมาแปลเป็นภาษาอังกฤษแบบคำต่อคำ พยางค์ต่อพยางค์ เผลอๆ พาลทำให้ทั้งคนแปลและคนอ่าน มีทั้งเข้าใจผิดและไม่เข้าใจ
พูดแล้วอาจจะทำให้งง ดิฉันขอยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น คำว่า scare
ถ้าเราพูดว่า ฉันกลัวเธอ, เธอทำให้ฉันกลัว ภาษาอังกฤษคือ I scare!, You scare me. ฉันน่ากลัว ภาษาอังกฤษคือ I am scary หรือ I look scary. และ ถ้าเราพูดว่า "ฉันทำให้เธอกลัวฉันหรือ? ฉันน่ากลัวหรือ? เธอกลัวฉันหรือ? ประโยคภาษาอังกฤษ ก็จะพูดว่า Did I scared you? Am I scary?.... Do you scared of me?
จะเห็นได้ว่า คำเพียงคำเดียว คือ "scare" เมื่ออยู่ต่างกรรม ต่างวาระ ความหมายเปลี่ยนไป ซึ่งตรงกันข้ามกับภาษาไทยที่เราใช้วิธีเติมคำขยายลงไปเพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นผู้กระทำ หรือถูกกระทำ เช่น นายแดง "ถูกฆ่า" Deang was killed หรือ Deang being killed นายแดงฆ่ามด = Deang killed an ant. หรือ Ant was killed by Deang ...
ดังนั้น ถ้าหากว่าเราจะใช้ภาษาอังกฤษ เราจึงจำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาิติของรูปประโยคของภาษานั้นๆด้วย ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของรูปประโยคของภาษา เราจะมองภาษานั้นได้อย่างทะลุได้มากขึ้น และ ลดความสับสนในการใช้ของเราเองได้ค่ะ
จากคุณ |
:
น้องแมวดอย
|
เขียนเมื่อ |
:
7 ม.ค. 55 22:28:37
|
|
|
|
 |