 |
คุณวังเหนือ เข้ามาตอบแล้ว
ผมขอสรุปโดยย่อ อ้างอิงจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีดำที่ ๑๙๗/๒๔๘๒ คดีแดงที่ ๒๗๘/๒๔๘๒ ความแพ่งระหว่าง กระทรวงการคลัง โจทก์ สมเด็จพระปกเกล้าฯ ที่๑ และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ที่๒ จำเลย วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๑๔๘๒
คือ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้จำเลย ต้องทรงจ่ายเงินให้โจทก์ตามฟ้อง (หกล้านกว่าบาท) แต่ทว่า ทรัพย์สินของจำเลย มีไม่ถึง จึงตัดสินให้ อายัดทรัพย์สินทั้งหมดของจำเลย ซึ่งรวมไปถึงวังสุโขทัย(ซึ่งรัฐบาลประมาณมูลค่าไว้สามล้านบาท) ด้วย
และหลังจากนั้น ก็ได้มีการประมูลขายทอดตลาดพระราชทรัพย์ที่ถูกยึดมาหลายรายการ โดยการขายถูกประกาศและจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๘ ถึงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๔๘๕ (อ้างจากประกาศขายทอดตลาดกองบังคับคดีทางแพ่ง ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ สารกิจปรีชาหัวหน้ากองบังคับคดีทางแพ่ง ) รายการทรัพย์ที่ถูกขายในครั้งนั้น ขอยกตัวอย่างบางชิ้นจากที่ขายเฉพาะในวันที่ ๘ มกราคม อาทิเช่น ๑. ขันทองลายพระพุทธรูป หนักประมาณ ๖๕๕ กรัม ๑ ขัน, ๒. พานลาวทอง หนักประมาณ ๕๔๕ กรัม ๑ พาน, ๓. กะโถนทองคำลงยาปากกะจับ หนักประมาณ ๒๖๕ กรัม ๑ ใบ, ๔. ขันทองคำลงยามีพานทองคำลงยารอง หนักประมาณ ๔๘๕ กรัม ๑ ที่, ๕. กล่องหมากทองคำหลังมีตราจุลจอมเกล้า จ.ป.ร.ประดับเพ็ชร์ ๑ ดวง หนักประมาณ ๘๘ กรัม รวม ๒ สิ่ง, ๖. พานทองคำลงยามีโถปริก ๗, ปริกทองคำลงยา ๑ หนักประมาณ ๑,๑๗๕ กรัม ๑ ที่, ๗. พานทองคำลงยากลีบบัวลายเทพพนม หนักประมาณ ๑,๒๘๕ กรัม ๑ พาน, ๘. หีบบุหรี่ทองคำรูปสี่เหลี่ยมมีประดับพลอยสีต่างๆ ทั่วทั้งหีบ มีเท้าสี่เท้า หนักประมาณ ๑,๔๘๐ กรัม
ฯลฯ
จากคุณ |
:
Diwali
|
เขียนเมื่อ |
:
26 มี.ค. 55 23:04:37
|
|
|
|
 |