 |
ขอบคุณนะคะทีเรียกว่าพี่ เพราะยังไม่ค่อยอยากแก่เหมือนกัน ที่จริงน่าจะเป็นป้าได้แล้วค่ะ ถ้าถามว่ายากไหม จะบอกว่าไม่ยากก็ดูจะไม่ตรงกับความจริงสักเท่าไร แต่ก็อยู่ในวิสัยที่สามารถจะทำได้ ในเทอมแรกที่เข้าเรียนมีคนสมัครเข้าที่สาขานี้ทั้งหมด 18 คน แต่เทอมถัดไปเหลือแค่ 8 คน ซึ่งสามในแปดจะเป็นคนที่มุ่งหมายจะเรียนการละคร ในสมัยนั้นธรรมศาสตร์จะแยกสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษแยกออกมาจากสาขาอังกฤษเลย แต่วิชาการละครจะรวมอยู่ในภาษาและวรรณคดีอังกฤษด้วย ดังนั้น นักศ๊กษาที่ต้องการเอกด้านการละครก็จะเลือกเอกอยู่ในภาษาและวรรณคดีอังกฤษ เดี๋ยวนี้ไม่ทราบว่าแยกอย่างไรแล้วค่ะ ระบบของธรรมศาสตร์ถ้าเรียนวรรณคดียุคไหนก็จะต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์และปรัชญาของยุคนั้นในวิชานั้นไปด้วย เนื่องจากเอกอังกฤษรับนักศึกษาจำกัด ดังนั้นนักศึกษาส่วนหนึ่งที่ผิดหวังจากการเลือกเอกอังกฤษก็จะมาเลือกเอกวรรณคดีแทน ทั้งๆที่จริงแล้วจุดประสงค์ของสาขาวิชาไม่เหมือนกันเลย การเรียนเอกอังกฤษเป็นการเรียนเรื่องภาษา ซึ่งมีกฏระเบียบของทางภาษาที่ค่อนข้างแน่นอน แต่จุดประสงค์ของวิชาวรรณคดีเป็นการเรียนรู้ในด้านวัฒนธรรม อารยธรรม ปรัชญา ประวัติศาตร์ของแต่ละยุค และนำสิ่งเหล่านี้มาวิเคราะห์ว่าเหตุใด ตัวละคร หรือเรื่องราวต่างๆต้องดำเนินไปเช่นนั้น ดังนั้นเมื่อคนที่ต้องการเรียนทางด้านภาษาอย่างเดียวมาเจอเช่นนั้นเข้า เขาก็อาจจะคิดว่าไม่ใช่สำหรับเขา อีกทั้งการเรียนที่ค่อนข้างจะหนักหน่วงเรื่องการอ่านมาก ทำให้นักศึกษาส่วนหนึ่งที่ไม่ชอบการอ่านต้องถอนตัวไปเรียนสาขาอื่นดีกว่า ตอนที่เรียนรุ่นนั้นจึงเหลือแค่แปดคนในเทอมถัดมา และมีแค่สี่คนเท่านั้นที่ตั้งใจมาตั้งแต่ต้นว่าต้องการเรียนวรรณคดี อีกคนมาจากคนที่อยากเรียนอังกฤษแต่ชอบอ่านพอมาเรียนแล้วติดใจ ส่วนอีกสามคนมุ่งหวังด้านการละครอยู่แล้ว เพราะยุคนั้นละครธรรมศาสตร์ก็ดังไม่เบา ช่วงนั้นอาจาร์ยที่ดูแลเรื่องการละครคือ อาจารย์มัทนี รัตนิน นักศึกษาทั้งหมดก็มาจากพื้นฐานภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันพอสมควร บางคนมาจากโรงเรียนฝรั่งที่การอ่านเป็นเรื่องง่ายๆ ในขณะที่บางคนเองก็ยากลำบากทีเดียว แต่ทุกคนมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือรักการอ่านและมีสิ่งที่ต้องขอใช้ภาษาอังกฤษนิดหนึ่งนะคะ ว่ามี appreciation ต่อความงดงามของภาษา และสนุกสนานไปกับการเรียนรู้เค้าโครงเรื่องต่างๆ เหล่านี้มันเลยทำให้เรื่องยากๆกลายเป็นความท้าทายไป ดังนั้นถ้ามีใจแบบนี้ไม่ต้องกลัวยากค่ะ สามารถฝ่าฟันไปได้ แต่ขอรับรองได้ว่าว่าเรียนหนัก อย่างเช่นถ้าลงห้าวิชาวรรณคดีก็แปลว่าต้องอ่านหนังสือให้จบประมาณหนึ่งเรื่องต่อวิชาต่ออาทิตย๋หรือถ้าเบาหน่อยก็หนึ่งเรื่องต่อสองอาทิตย์ ดังนั้นเฉลี่ยแล้วก็ประมาณ 4-5 เรื่องต่ออาทิตย์ แถมยังไม่ใช่ภาษาเราอีก ศัพท์บางตัวยังไม่รู้จักเลย ดังนั้นเฉลี่ยแล้วต้องพยายามอ่านให้ได้วันเรื่องหรือค่อนเรื่อง ไม่ทราบว่าเดี๋ยวนี้ยังเจออบ่างนี้อยู่ไหม แต่คนที่เรียนเอกอังกฤษก็ต้องถูกบังคับเลือกให้เรียนบางวิชาของวรรณคดีนะคะ เพราะมันเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้เข้าใจภาษาของเขาได้อย่างถ่องแท้ ถ้าไม่มีพื้นฐานทางวรรณคดีของเขาบ้างเลย จำได้ว่าหนังสือเล่มหนึ่งที่ทุกคนต้องอ่านก็คือ Greek Mythology พวกเอกวรรณคดีจะสนุกมาว่าอ๋อไอ้นี่มันมีที่มาที่ไปอย่างนี้นี่เอง Cupid เป็นลุกของ Venus นะ แต่พวกเพื่อนเอกอังกฤษก็จะบ่นว่าเมื่อไรจะอ่านจบเสียที ไม่ใช่ว่าเรียนวรรณดคีเก่งกว่านะคะ แต่มันอยู่ที่ความชอบ ส่วนที่จะเลือกเรียนอะไรดีระหว่างเอกอังกฤษกับเอกวรรณคดีเพื่อให้มีภาษีดีต่อการสมัครเรียนต่อโท มันขึ้นอยู่กับว่าหนูจะไปเลือกเรียนโททางไหน ถ้าจะเลือกโทภาษาอังกฤษ เลือกเรียนเอกอังกฤษเลยก็ไม่เสียหายอะไร จะได้ไม่หนักมาก แต่ถ้าอยากเรียนโทในสาขาอื่นๆอย่างเช่น วรรณคดี, Reading, วรรณกรรมสำหรับเด็ก, ปรัชญา ประวัติศาสตร์ หรือแม้กระทั่งเทววิทยา (น่าเรียนจริงๆนะคะแต่บังเอิญไม่มีโอกาส) เลือกเรียนวรรณคดีน่าจะดีกว่าเพราะเวลาไปเรียนต่อเราจะได้มีพื้นฐานทางอารยธรรมเขาพอสมควร และรู้จักนักประพันธ์หรือกวีที่สำคัญของเขา ไม่ใช่รู้จักแต่เชคสเปียร์ มิฉะนั้นแล้วเราจะตามเขายากมาก จริงอยู่มี่ว่าเด็กฝรั่งเองก็ไม่ได้รู้วรรณคดีลึกซึ้งอะไรมากนัก แต่เด็กฝรังที่เลือกเข้ามาโทวิชานี้เขาต้องรู้ดีทีเดียว แล้วหนูจะสู้เขาไหวหรือถ้าหนูกระโดดไปจากเอกอังกฤษ ถ้าเขาพูดถึง Zeus หนูก็ต้องรู้แล้วว่าอีกชื่อคือ Jupiter. ถ้าเขาเปรียบเทียบถึงเคนกับเอเบลหนูต้องรู้ว่าหมายถึงอะไร ถ้าเขาพูดว่า Don't feed the troll หนูต้องเข้าใจว่าหมายความว่าอย่างไร ซึ่งของเหล่านี้ไม่มีการสอนในเอกอังกฤษแต่จะได้จากการอ่านวรรณคดีในยุคต่างๆ เป็นต้น ที่พูดถึงเรื่อง Don't feed the troll เพราะเมื่อกี้นี้เพิ่งดูหนังเรื่อง Caster ตัวเอกพูดประโยคนี้ แต่คนแปลดันไปแปลว่า อย่าให้อาหารสัตว์ ซึ่งวลีนี้มีหลายความหมาย ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถ้าเรามีพื้นฐานมาบ้างว่า Troll คืออะไร เราก็จะสามารถเลือกแปลได้ในความหมายที่ถูกต้อง ดังนั้นถ้ารักการอ่านและชอบวิเคราะห์ ค้นคว้า ไม่ต้องกลัวค่ะ ถึงจะยากเราจะรู้สึกว่ามันท้าทายมากกว่า ชีวิตช่วงที่ดีที่สุดช่วงหนึ่งก็ตอนเรียนนี่แหละค่ะ เพราะได้อ่านทั้งวันทั้งคืน ได้ไปค้นต่อว่าเรื่องนี้หรือวลีนี้มันมีที่มาที่ไปอย่างไร ได้ช่วยๆกันกับเพื่อนถกว่าทำไมตีความไม่เหมือนกัน เวลาเรียนและสอบก็จะไม่เหมือนกับการเรียนวรรณคดีไทยที่มีแต่ท่อง (เดี๋ยวนี้ยังเป็นอย่างนี้หรือเปล่าไม่ทราบนะคะ) เวลาสอบจะหนักไปในทางวิเคราะห์ ซึ่งจะต้องเอาสภาพสังคมในยุคนั้น ปรัชญาความเชื่อแบบตะวันตก จิตวิทยามาประกอบกันจึงจะทำให้วิเคราะห์ได้ ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่คิดว่าได้เยอะมากๆเลยคือสอนให้รู้จักคิด ให้มีตรรกกะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาใช้กับชิวิตจริงและชีวิตการงานได้
จากคุณ |
:
kaan
|
เขียนเมื่อ |
:
11 เม.ย. 55 11:06:53
A:61.90.52.196 X: TicketID:193843
|
|
|
|
 |