อัฐกระดาษ ธนบัตรแบบแรกต้นรัชกาลที่ ๕
|
 |
อัฐกระดาษ ถือกำเนิดขึ้นในต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ พ.ศ. ๒๔๑๗
คัดจากราชกิจจานุเบกษา ฉบับ จ.ศ. ๑๒๓๖ วันอาทิตย์ เดือน ๘ สองหน ขึ้น ๖ ค่ำ ปีจอฉศก แผ่นที่ ๑๐
การเรื่องที่ทำอัฐกระดาษนี้ เดิมที่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำอัฐด้วยสังกะสี ดีบุก ใช้ต่างเบี้ยหอยแปดอันต่อเฟื้องอย่างหนึ่ง สิบหกอันต่อเฟื้อง ครั้นมาภายหลังให้ทำทองแดงอีกสองย่างขนาดใหญ่ เรียกว่า ซีก สองอันต่อเฟื้อง อย่างเล็กเรียกว่า เสี้ยวสีอันต่อเฟื้อง
จนมาสมัยรัชกาลนี้เมื่อแรกบรมราชาภิเษก ได้ประกาศอัตราการแลกไว้ดังนี้ โสฬสละสิบเบี้ย, แปดสิบอันต่อเฟื้อง อัฐลดลงอันละยี่สิบเบี้ย สี่สิบอันต่อเฟื้อง ซีกลดลงอันละร้อยเบี้ย เป็นแปดอันต่อเฟื้อง เสี้ยวลดลงเป็นอันละห้าสิบเบี้ย สิบหกอันต่อเฟื้อง
ต่อมาประชาชนลดราคากันเองเหลือ อัฐหนึ่งราคาสิบเบี้ย แปดสิบอันต่อเฟื้อง โสฬศละห้าเบี้ย ร้อยหกสิบอันต่อเฟื้อง แต่ซีก เสี้ยวนั้นหมดไป เมื่อราคาลงเช่นนี้การปลอมแปลงเงินก็หยุด แต่ราษฎรเห็นว่าราคาถูก ก็ยุบเอาโลหะทองแดง ดีบุกไปใช้ หรือทำเป็นแท่งไปขายได้กำไร เบี้ยอัฐ เบี้ยฬศ เบี้ยซีก เบี้ยเสี้ยว ก็หมดไปจากท้องตลาด
อีกทั้งประชาชนได้ใช้เงินกระเบื้องที่ได้จากโรงบ่อน ซึ่งทำด้วยกระเบื้องเคลือบเขียนอักษรจีน โดยขุนพัฒนายบ่อนต่าง ๆ เป็นผู้ทำขึ้น เมื่อขุนพัฒไม่สามารถประมูลโรงบ่อนได้ กระเบื้องเหล่านี้ก็หมดความหมาย ไม่สามารถนำใช้แลกเปลี่ยนแทนเงินได้
จากคุณ |
:
หนุ่มรัตนะ
|
เขียนเมื่อ |
:
16 เม.ย. 55 15:08:58
|
|
|
|