 |
วิจัยเรื่องการแปลเราว่าไม่ควรไปยึดติดกับผลงานนักแปลคนเดียวนะ
บางคนทำ terminology project เราว่ามันน่าเบื่อมากๆ ไม่รู้จะทำไปทำไมกัน ถ้าตัวเองไม่ได้ทำงานแปลเฉพาะทางเป็นอาชีพ แล้วอีกอย่างหนึ่ง dictionaries ศัพท์หมวดดีๆก็มี google ก็หาได้
ทำไมไม่ลองทำอะไรแปลกๆใหม่ๆเช่น "วิธีเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการแปล"
^ ด้วย critical thinking เราค้นพบความลับว่าที่นักแปลหน้าใหม่ถึงเก่งอังกฤษมากๆ แต่แปลไทยเป็นอังกฤษแล้วออกมาเละไม่เป็นภาษาคน ก็เพราะว่า "ไม่รู้ว่าคนไทยส่วนใหญ่เขียนภาษาไทยในเรื่องที่มันเป็นไปไม่ได้ และนักแปลต้องแก้ตรรกะที่ชำรุดของคนเขียนภาษาไทย"
งานวิจัยด้านการแปลควรมีวัตถุประสงค์คือ "ปรับปรุงการเรียนการสอนการแปล และช่วยนักแปลพัฒนาทักษะการแปล"
จะยกตัวอย่าง critical thinking ที่เราทำงานวิจัยเป็นการส่วนตัวโดยไม่ได้รับปริญญา ให้ดู
นักแปลหลายๆคนคิดว่าเวลาแปลจากอังกฤษเป็นไทยจะมีความเสี่ยงในแปลผิดเพราะอ่านภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องได้ง่ายกว่าแปลไทยเป็นอังกฤษ แต่จริงๆแล้วเวลาแปลไทยเป็นอังกฤษก็มีทางแปลผิดเพราะโดนภาษาไทยหลอกเอาได้มากพอๆกันนั่นแหละ
เราหา classic examples มาให้ศึกษากันเล่นๆ (ข้อความนี้คัดมาจากการทำงานแปลจริง)
Source text (ภาษาต้นทาง): การสอบสวนชันสูตรพลิกศพเป็นความตายมิได้เป็นผลแห่งการกระทำผิดทางอาญา เห็นควรดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรคแรกต่อไป
This is a verbatim translation (นี่เป็นการแปลตรงตัว) Target text (ภาษาปลายทาง): Investigation autopsy are death not caused by criminal acts. Should proceed according to Criminal Procedure Code of Thailand, Section 150, First Paragraph in due course.
อ่านไม่รู้เรื่อง ใช่มะล่ะ .....จริงๆแล้วประโยคภาษาไทยก็ผิดพลาดในเชิงตรรกะ แต่นักแปลแกล้งโง่เองนั่นแหละ (คือแกล้งแปลตรงตัวตามภาษาไทย ทำให้นอกจากจะอ่านไม่รู้เรื่องแล้วยังกลายเป็นสร้าง syntactic errors in the writing of second language learners เหมือนๆที่นักแปลก๋วยเตี๋ยวเรือ (นักแปลก๋วยเตี๋ยวเรือคือนักแปลงานด่วนคิดค่าแปลถูกแล้วแปลลวกๆ) ชอบแปลมาเพราะรีบทำจำนวนหน้าจนพลิกตำราภาษาอังกฤษไม่ทันนั่นแหละ
The influence of the Thai language is so great, hence the English translation has turned out to be absolute nonsense.
เนื่องจาก "การสอบสวนชันสูตรพลิกศพ" ไม่ใช่ "เป็นความตาย" คนเขียนพูดโกหก แต่คนไทยหลายๆคน ไม่มีใครท้วงติงเพราะต่างก็บิดสมองทำความเข้าใจประโยคแบบนี้มาตั้งแต่เล็กจนโต ...ดังนั้นประโยคภาษาไทยที่มี inconsistencies คนไทยยังถือว่ามี consistencies
Try again (ลองใหม่) Source text (ภาษาต้นทาง): การสอบสวนชันสูตรพลิกศพเป็นความตายมิได้เป็นผลแห่งการกระทำผิดทางอาญา เห็นควรดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรคแรกต่อไป
Target text (ภาษาปลายทาง): The investigation and (ภาษาไทยตกคำว่า "และ") autopsy revealed that (ภาษาไทยตกคำว่า "แสดงให้เห็นว่า") such death was not caused by any criminal acts. It is therefore appropriate that the case be dealt (ภาษาไทยคำว่า "เห็นควรดำเนินการ" มีความเลอะเลือนอยู่ในตัว) with pursuant to Paragraph One, Section 150, Criminal Procedure Code of Thailand.
ตกลงเป็นอันว่า translation from Thai into English มักลงเอยด้วยการ"แปลง" เพราะถ้าไม่ "แปลง" บางทีเคราะห์หามยามซวย (ไม่รู้ใครซวย) เจอเอกสาร 500 หน้า มีแต่ประโยคที่คน (ไทย) เขียนพูด "โกหก" หรือพูดเรื่องที่ "เป็นไปไม่ได้" หน้าละ 2-3 ประโยค (ความถี่ขนาดนี้นับว่าเป็นเรื่องปกติของการเขียนหนังสือของคนไทยทั่วๆไป) ....หากนักแปลๆจบโดยไม่แปลง ผลงานแปล (translation) ต้องเอาไปทิ้งถังขยะสถานเดียว....!!!
จากคุณ |
:
fortuneteller
|
เขียนเมื่อ |
:
30 เม.ย. 55 17:04:07
|
|
|
|
 |