Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
นักวิชาการด้านจีนควรพูดอย่างไรจึงจะไม่เรียกว่านักวิชาเกิน ติดต่อทีมงาน

นักวิชาการด้านจีนควรพูดอย่างไรจึงจะไม่เรียกว่านักวิชาเกิน
วันนี้ไปฟังบรรยายระดับนานาชาติเรื่องภาษาจีนในบทบาทของวรรณกรรม การศึกษา วัฒนธรรม(จำชื่อเต็มไม่ได้)ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ฉันคิดว่าวิทยากรทุกท่านมีความรู้แน่นเพียบ และเตรียมตัวมาดี มีความตั้งใจและความพยายามที่จะนำเสนอบทความทางวิชาการ งานวิจัย ของตนเองทุกคน
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่นักวิชาการแต่ละท่านคำนึงถึงน้อยไปหน่อยก็คือ การนำเสนอผลงานวิชาการอย่างไรให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายๆภายในระยะเวลาจำกัด 30 นาที โดยที่ฉันรู้สึกว่ามีนักวิชาเกินหลายท่านที่กำลังนำเสนองานวิชาเกินอยู่
***วิทยาเกินบางท่านยังไม่ทันเริ่มพูดหัวข้อของตนเองก็พูดว่าหัวข้อตนเองน่าเบื่อ ฟังแล้วจำเจ เพราะเป็นเรื่องของการวิจัยระบบคำภาษาจีนกับภาษาไทย ท่านตำหนิเรื่องของเวลาจำกัด 2-3 ครั้ง ท่านจึงพูดภาษาจีนเป็นน้ำไหลไฟดับเร็วเหมือนจรวดแบบไม่ต้องหายใจ ทำให้ฉันในฐานะผู้ฟังนึกถึงตอนเรียนหนังสือแล้วถูกอาจารย์อัดความรู้จนมึนหัวจนไม่อยากจะฟังบรรยายช่วงต่อไป ฉันรู้ดีว่าท่านเก่งและตั้งใจมากๆแต่อยากให้ท่านย่อยและสรุปประเด็นที่จะพูดให้อยู่ภายในเวลา30นาที ท่านรู้มาก่อนแล้วว่ากำหนดให้พูด30นาที ท่านก็น่าจะไปสรุปเนื้อหาที่จะพูดให้พอดีๆกับเวลาที่กำหนด
*** วิทยาเกินบางท่านก็บอกว่าหัวข้อวิจัยของตนเองคูจ้าว(จำเจ)และอู๋เหลียว(น่าเบื่อ)ให้ผู้ฟังรับรู้ทั้งๆที่ยังไม่ได้เริ่มพูด ฉันคิดว่าหน้าที่ของวิทยากร/นักวิชาการทั้งหลายควรทำความรู้ที่จำเจยากๆและน่าเบื่อให้เข้าใจง่ายๆมากกว่าที่จะมาทำให้สิ่งที่เข้าใจยากๆให้เข้าใจยากขึ้นไปอีก ผลลัพธ์ก็คือความน่าเบื่อที่ตามมาให้กับผู้ฟัง
***วิทยาเกินบางท่านก็นำเสนองานวิชาการแบบฝอยมากไปหน่อย เกินเวลาไปมาก จนต้องชูป้ายบอกเวลาเตือนอยู่นานสองนาน วิทยาเกินบางท่านก็ตั้งใจทำ power point มาแต่ก็เต็มไปด้วยตัวหนังสือเล็กและยั้วเยี้ยไปหมด ฉันว่าควรทำแบบเป็นข้อๆแล้วพูดแบบสรุปประเด็นน่าจะเหมาะสมกว่า
***ประสบการณ์ที่ฉันได้ไปฟังบรรยายครั้งนี้ก็คือ
1.หากมีโอกาสฉันจะเลือกพูดแบบคุยกับผู้ฟังมากกว่าที่จะมานั่งอ่านเอกสารให้ฟัง
2.ฉันจะใช้วิธีการพูดแบบสรุปประเด็น พูดภาษาไทยประมาณ 20 นาที ภาษาจีน 10 นาที
3.ฉันจะนำเสนองานวิจัยแบบบูรณาการมากกว่าที่จะนำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวกับภาษาเพียงอย่างเดียว เพราะฉันสังเกตว่างานวิจัยภาษาจีนโดยตรงที่มีลักษณะการเปรียบเทียบภาษาจีนและภาษาไทย ในเรื่องของเสียง คำชนิดต่างๆ สำนวน วรรณยุกต์ ไวยากรณ์ วากยสัมพันธ์ ผู้ฟังงานวิจัยลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะจำกัดเพียงผู้ที่เรียนทางด้านภาษาศาสตร์/ภาษาจีนมาโดยตรงเท่านั้น ผู้ที่ไม่เข้าใจภาษาจีนหรือผู้ที่เข้าใจภาษาจีนเพียงเล็กน้องคงไม่ประสงค์ที่จะฟังมากนัก เพราะงานวิจัยลักษณะนี้ฟังเข้าใจยากเนื่องจากเกี่ยวกับวิชาการทางภาษาศาสตร์เพียงอย่างเดียวขาดการบูรณาการเข้ากับศาสตร์ด้านอื่นๆ จึงทำให้งานวิจัยลักษณะนี้มีขอบเขตแคบ ง่ายต่อการถูกจับผิดของคนจีนเจ้าของภาษา (คนไทยที่เรียนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศจนถึงระดับดุษฎีบัณฑิตย่อมรู้ดีว่าเรียนจนตายภาษาจีนก็แตกฉานสู้คนจีนเจ้าของภาษาไม่ได้ ดังนั้นงานวิจัยที่มีแต่ศาสตร์ของภาษาจีนเพียงอย่างเดียวจึงง่ายต่อการถูกจับผิดโดยคนจีนเจ้าของภาษา ฉันแอบได้ยินคนจีนที่มาร่วมนั่งฟังงานนี้บอกว่าข้อมูลคำเปรียบเทียบภาษาจีนและไทยบางคำนำเสนอไม่ถูกต้องด้วย)
สุดท้ายนี้ขอบคุณค่ะ ที่จัดให้มีงานนี้ขึ้นมา ทำให้ฉันได้ทราบว่าข้อควรหลีกเลี่ยงสำหรับนักวิชาเกินว่ามีอะไรบ้าง

จากคุณ : คุ้มค่าที่ได้ไปฟังบรรยาย
เขียนเมื่อ : 3 พ.ค. 55 18:34:04 A:202.151.46.78 X: TicketID:355138




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com