ภาษาวรรณกรรมยากๆนี่เราว่าถ้าจะอ่านให้เข้าใจมันต้องใช้ dictionaries อังกฤษ-อังกฤษเล่มใหญ่ๆ อย่างเช่น Oxford English Dictionary ฉบับสมบูรณ์ที่ถ้าเป็นหนังสือกระดาษพิมพ์ออกมาได้ขนาดใหญ่เท่าสมุดโทรศัพท์ 23 เล่ม (ใช้เวลาสร้าง 200 ปี) หรือ Unabridged Webster's Dictionary อะนะ
^ แต่ dictionaries พวกนี้ใช้เป็น software ราคาถูกกว่าหนังสือกระดาษมากๆ และถ้าหาเป็น software มันมีแหล่ง download ของฟรีด้วย
เพราะ dictionaries ที่สมบูรณ์มากๆพวกนี้จะให้คำศัพท์ย้อนยุคไปตั้งหลายร้อยปี หรือบางเล่มที่พัฒนามากๆจะให้ศัพท์ทั้งย้อนยุคกับสมัยใหม่ที่ไฮเทคมากๆ เช่น Encarta
เรายังมองไม่เห็นเลยว่าพจนานุกรมอังกฤษ-ไทยเล่มไหนจะช่วยให้ใครอ่านวรรณกรรมได้แตกฉาน เหตุผลง่ายก็คือ dictionaries คนไทยทำ มันจุคำศัพท์ไม่มากพอ! เนื่องจากเวลาคนไทยทำ dictionary เล่มใดเล่มหนึ่งขึ้นมา จะมี lexicographer (คนทำดิก) แค่คนเดียวฉายเดี่ยว แต่เวลาฝรั่งทำ dictionary ขึ้นมา จะใช้ lexicographers นับร้อยๆคน กรณี Oxford English Dictionary เล่มสมบูรณ์แบบสุดๆ ใช้ lexicographers นับเป็นพันๆคน...เราว่าเผลอๆใช้หลายหมื่นคนด้วย! ดังนั้นข้อมูลเพียบพร้อมต่างกันไกลลิบลับ
ขึ้นชื่อว่าการอ่านวรรณกรรมแล้วภาษาอังกฤษควรดีเยี่ยมระดับทิ้งสื่อการสอนภาษาไทยได้แล้ว และ grammar ควรดีเยี่ยมด้วย เพราะบ่อยครั้ง grammar ไม่ดีอ่านวรรณกรรมไม่รู้เรื่อง ยิ่งใครจะเป็นครูสอนวรรณกรรมหรือเขียนบทความเรื่องการอ่านวรรณกรรมแต่ดันเขียนภาษาอังกฤษผิดเพียบ มันคงสอนอะไรดีๆลึกๆไม่ได้หรอก...ทักษะทุกอย่างมันจะต้องไปด้วยกัน
แก้ไขเมื่อ 13 พ.ค. 55 22:18:58
แก้ไขเมื่อ 13 พ.ค. 55 21:22:51
จากคุณ |
:
fortuneteller
|
เขียนเมื่อ |
:
13 พ.ค. 55 21:18:38
|
|
|
|