ตัวแปรอยู่ที่ประชาชน ระบอบการปกครอง ความคิดความอ่านผู้คนในสังคม ระบบการศึกษา
ลองเทียบอังกฤษกับไทยดู
เด็กฝรั่งเรียนมัธยมก็รู้แล้วว่าเก่งหรือไม่เก่ง ถ้าเก่งก็ต่อมหาลัยเรียนด้านวิชาการ ถ้าไม่เก่งก็เรียนวิชาชีพ คนทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้างก็ร่ำรวยเป็นเศรษฐีได้ (เพราะค่าแรงกรรมกรในอังกฤษสูงมากๆ) ประเทศอังกฤษจึงมีแต่มหาลัยได้มาตรฐาน ไม่มีมหาลัยจ่ายเงินครบจบแน่ๆ ปัญหาเรื่องจ้างคนผิดคน (จ้างคนวุฒิสูงๆที่ไม่เก่งจริง) ให้ไปทำงานผิดตำแหน่งในอังกฤษจึงไม่มากเหมือนในไทย
เรื่องการศึกษาอังกฤษทัศนคติไม่เหมือนไทย คนที่เรียนไม่เก่ง แล้วเคยต้องไปเป็นกรรมกรหรือพนักงานขายของในร้าน ถ้าอยากกลับไปเรียนต่อรัฐบาลก็ให้ทุนสน้บสนุน ไม่ได้ให้ทุนแต่พวกหัวกะทิที่แข่งกันเป็นบ้าเป็นหลังเหมือนประเทศไทย ดังนั้นคนอังกฤษที่กลับไปเรียนต่อเรียนเพราะใจรักวิชาที่เรียนจริงๆ ไม่ได้เรียนเพื่อเอาวุฒิไปขึ้นเงินเดือนเหมือนคนไทยส่วนใหญ่
เด็กไทยเรียนมัธยมพอรู้แล้วว่าเก่งหรือไม่เก่ง แต่ถึงไม่เก่งก็ "ต้องเอาปริญญามาติดตัวให้ได้" เพราะ "เป็นกรรมกรในไทยไม่มีอนาคต" เนื่องจากสังคมไทยกดขี่แรงงาน ผลก็คือ ต้องมีมหาลัยจ่ายเงินครบจบแน่ๆผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดเพื่อรองรับเด็กเรียนไม่เก่งให้รอดพ้นจากการเป็นกรรมกร
และกติกาสังคมไทยคือ
"ว่าจ้างคนโดยจ่ายค่าตอบแทนตามวุฒิ ไม่ค่อยจะว่าจ้างตามความสามารถจริงๆ ที่ทดสอบกันจริงๆตอนสมัครงาน"
ดังนั้นในเมืองไทยคนไม่เก่งที่จบจากมหาลัยจ่ายเงินครบจบแน่ๆ ซึ่งเรียนจบมาบางคนจบปริญญาตรีปริญญาโทหรือปริญญาเอกหลายๆคนจริงๆแล้วความสามารถต่ำอยู่แค่ระดับมัธยมนั่นแหละหรือเผลอๆต่ำกว่านั้นซะอีก (คือหลายๆคนจบมาสูงๆแต่ความคิดความอ่านเลอะเลือนคิดอะไรสร้างสรรค์ไม่เป็น) ก็เข้าไปบริหารงานสำคัญๆของประเทศชาติ แทนที่จะไปเป็นกรรมกรเก่งๆ
ความแตกต่างอันนี้ ที่ว่าจ้างคนตามวุฒิไม่ได้จ้างตามความสามารถ (ไม่เหมือนคนอังกฤษที่กล้าเลือกตั้ง John Major ที่ไม่มีปริญญาเลยสักใบ ให้เป็นนายกได้ เพราะคนอังกฤษรู้จักประเมินความสามารถคนที่ผลของงาน) ทำให้ประเทศไทยกว่าจะเจริญตามอังกฤษทันคงใช้เวลานับร้อยๆปี!
แก้ไขเมื่อ 14 พ.ค. 55 00:41:00
จากคุณ |
:
fortuneteller
|
เขียนเมื่อ |
:
14 พ.ค. 55 00:38:39
|
|
|
|