 |
คนไทยสมัยโบราณ อ่านออกเสียงทับศัพท์ไม่ได้อย่างยุคนี้
สมัยแฝดอินจัน ฮันเตอร์ ยังเรียกว่า หันแตร
ยอห์น ครอว์เฟิด คนไทยเรียก การะฝัด
เพราะสำเนียงไม่คุ้นกับคนไทย และส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ การจะเทียบเสียงตามอักขรวิธี ก็ไม่มีทำอย่างเป็นระบบ
ขนาดอาขยาน ก ไก่ ข ไข่ เพิ่งมีเมื่อร้อยปีนี้เองเพื่อส่งเสริมให้คนไทย อ่าน ออก เขียนได้ เพราะชายชาวบ้านเรียนเขียนอ่าน จากวัด ตอนบวชเรียน สึกไปก็ลืมหมด ไม่มีเรื่องให้ใช้ มีนำสวด พิธีกรรมไม่ลืม เพราะจัดประจำ
พอเพิ่งเจอต่างชาติมาติดต่อ ไม่ทราบการออกเสียง จึงเทียบเสียงให้สื่อสารกันเองให้ง่ายที่สุด
ตัวอย่าง
คำว่า "ขนมจีน" ไม่ใช่อาหารจีน แต่คำว่า "จีน" ที่ต่อท้ายขนมนี้สันนิษฐานกันว่าน่าจะมาจากมอญซึ่งเรียกขนมจีนว่า "คนอมจิน" หมายถึง "สุก 2 ครั้ง"
พิศาล บุญปลูก ชาวไทยเชื้อสายรามัญผู้สนใจศึกษาอาหารและวัฒนธรรมมอญกล่าวว่า " จริง ๆ แล้ว ขนมจีนเป็นอาหารของคนมอญหรือรามัญ คนมอญเรียกขนมจีนว่า คนอมจิน
คนอม หมายความว่าจับกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน จินแปลว่าทำให้สุก"[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ "คนอม" นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะใกล้เคียงกับคำไทย "เข้าหนม" แปลว่าข้าวที่นำมานวดให้เป็นแป้งเสียก่อน ซึ่งภายหลังกร่อนเป็น "ขนม"
จริง ๆ แล้ว ขนม ในความหมายดั้งเดิมจึงมิใช่ของหวานอย่างที่เข้าใจในปัจจุบัน ขนม หรือ หนม ในภาษาเขมร หรือ คนอม ในภาษามอญหมายถึงอาหารที่ทำจากแป้ง
ดังนั้นขนมจีน จึงน่าจะเพี้ยนมาจาก คนอมจิน ซึ่งทำให้เกิดสมมุติฐานตามมาอีกว่า ดั้งเดิมทีเดียวขนมจีนเป็นอาหารมอญ แล้วจึงแพร่หลายไปสู่ชนชาติอื่น ๆ ในสุวรรณภูมิตั้งแต่โบราณกาล จนเป็นอาหารที่ทำง่ายและมีความนิยมสูง สามารถหาทานได้ทั่วไป
http://th.wikipedia.org/wiki/ขนมจีน
ชื่อจีน ที่เรียกกันต้องแผลงมาแน่นอน เพียงแต่แผลงมาจากภาษาใด ในเอกสารเก่าๆมักเรียกว่ากรุงจีน ไม่ระบุชื่อเมือง จึงน่าจะใช้มานานมาก
แต่บัญชีจิ้มก้องมี อยุธยา(เสียนหลอ)ในรายชื่อด้วย สมัยสุโขทัยมีการจิ้มก้องไม่ได้ระบุเมือง
ยุคที่เก่าและมีหลักฐาน คือสมัยสุริยวรมัน ยุคนครวัด โจวต้าก่วน ชาวต้าหมิง ได้เดินทางพำนักในพระนคร และเขียนบันทึกไว้
http://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=534548625&Ntype=120
ทําไมคนไทยถึงเรียกประเทศไชน่า ว่า จีน เรียกเจแปน ว่า ญี่ปุ่น เรียก เมียนม่าร์ ว่า พม่า เรียก แกมโบเดียน ว่า กัมพูชา เรียกฟรานซ์ว่าฝรั่งเศส
ตอบ เริ่มจากชาติแรก การเรียก ไชน่า-China ว่า จีน มีคำอธิบายจากนักเขียน-นักแปล โชติช่วง นาดอน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีน ว่า ชาวไทยในแหลมทองรู้จักคำว่าจีนมานานแล้ว ในโคลงเรื่อง ท้าวฮุ่งหรือเจือง ตอนที่กล่าวถึงดินแดนต่างๆ ก็แยกชัดเจนระหว่างจีนกับฮ่อ และสำหรับชาวไทย ใช้คำ จีน-Cina-Chine-China แพร่หลายมากที่สุด
ตำราเรียนและหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป เขียนตามสมมติฐานที่ว่า ชื่อประเทศจีน มาจากชื่อรัฐ ฉิน ของจิ๋นซีฮ่องเต้ (ฉินสื่อหวง) สำหรับชื่อที่ต่างชาติเรียกจีน ว่า จีน มาจากคำ จีนะ ซึ่งพบในอักษรสันสกฤตโบราณด้วย
อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ เรียกจีนว่า จีนะ แล้วแพร่หลายถึงยุโรป กระทั่งเรียกประเทศจีนว่า China สืบเนื่องมาถึงทุกวันนี้ ขณะที่เอกสารของกรีกและโรมัน มีคำเรียกประเทศจีนอีกคำหนึ่งว่า Serice อธิบายกันว่าหมายถึงประเทศแห่งผ้าไหม และเรียกชาวจีนว่า Seree
ส่วนกลุ่มประเทศมุสลิมยุคนั้นเรียกจีนว่า Temghaj, Tomghaj, Tohgaj ซึ่งเชื่อว่ามาจาก สกุลของฮ่องเต้ราชวงศ์เป่ยเว่ย (ค.ศ.386-534) ที่ภาษาจีนเรียกว่าถาป๋า
2.เรียก เจแปน-Japan ว่า ญี่ปุ่น เว็บไซต์อุทยานการเรียนรู้ต้นแบบ (TK Park) มีข้อมูลว่า คำว่า ญี่ปุ่น ไทยรับจากคนจีน
เช่น ภาษาแต้จิ๋ว เรียกว่า หยิบปึ้ง ภาษากวางตุ้งเรียก ยาตปุน ภาษาฮกเกี้ยนเรียก ยิต-ปุน ยังมีเรียก ยื่อเปิ่น ด้วย คนไทยฟังไม่ชัดเลยมาเป็นญี่ปุ่น ส่วนคำว่า เจแปน พวกโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายทางเอเชียตอนแรกๆ เรียกตามภาษาจีนท้องถิ่นโดยเพี้ยนเป็น จาปอง
3.เรียก เมียนมาร์-Myanmar ว่า พม่า ราชบัณฑิตยสถานอรรถาธิบายว่า พม่าเปลี่ยนชื่อประเทศอย่างเป็นทางการมาแล้วหลายครั้งหลังจากได้รับเอกราช พ.ศ.2491 ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า The Union of Burma คือ สหภาพพม่า
จนถึง พ.ศ.2503 ได้เปลี่ยนใช้ว่า The Socialist Republic of the Union of Burma ราชบัณฑิตยสถานและกระทรวงการต่างประเทศจึงกำหนดชื่อเรียกเป็นภาษาไทยว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า โดยที่พม่าใช้ชื่อนี้จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2531 ก่อนเปลี่ยนกลับไปใช้ The Union of Burma
กระทั่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็น The Union of Myanmar คำว่า Myanmar เมื่อถอดอักษรโรมันเป็นอักษรไทย ออกเสียงตามตัวเขียนว่า มยันมาร์ หรือ มยันม่าร์ แต่พม่าไม่มีเสียงพยัญชนะ ร และ ง ถ้าคำใดมี ร และ ง จะออกเสียงเป็น ย และ น แทน เช่น ร่างกุ้ง เป็น ยานกูน หรือ อิระวดี เป็น อิยาวดี เป็นต้น
คำ Myanmar ถอดตามตัวเป็นอักษรไทยเป็น มรันมา ขณะที่เจ้าของภาษาออกเสียงฟังได้ทั้ง เหมี่ยนหม่า และเมียนม่า กรณีนี้กระทรวงการต่างประเทศหารือกับราชบัณฑิตยสถานว่าสมควรจะกำหนดการเรียกชื่อประเทศพม่าที่ได้เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการนี้อย่างไร ราชบัณฑิตยสถานโดยคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยเห็นว่า คนไทยรู้จักและมีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับประเทศนี้ในชื่อว่า พม่า มาแต่โบราณกาล จึงเห็นควรให้เรียกชื่อนี้อย่างเป็นทางการว่า สหภาพพม่า ตามที่เคยใช้มาแต่เดิม
4.เรียก แกมโบเดีย-Cambodia ว่า กัมพูชา อาจารย์ศานติ ภักดีคำ ภาคภาษาไทยและภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อธิบายว่า เราเรียกชื่อประเทศเพื่อนบ้านเราตามเอกสารโบราณสมัยอยุธยา ซึ่งก็มีการบันทึกว่ากรุงกัมพูชาแล้ว เพราะฉะนั้นถึงแม้ปัจจุบันชื่อจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรในภาษาอังกฤษ แต่ประเทศกัมพูชาที่ไทยเรียกก็จะคงอ่านตามรูปคำเขียนโบราณที่มีบันทึกอยู่ในอดีตที่เราคุ้นเคย
5.เรียก ฟรานซ์-France ว่า ฝรั่งเศส โดยที่ ฝรั่งเศส เรียกประเทศตัวเองว่า ฟร้องซ์ คนฝรั่งเศสผู้ชายหรือภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า ฟรองเซส์ (เพศหญิง เรียก ฟรองแซส Francaise) คำเรียก ฝรั่งเศส ของเราออกตามเสียงอ่านแบบฝรั่งเศส
จากคุณ |
:
ต็กโกวคิ้วป้าย
|
เขียนเมื่อ |
:
22 พ.ค. 55 14:55:41
|
|
|
|
 |