 |
แปลบ่อยๆหัดเรียบเรียงประโยคบ่อยๆ ถ้าจะขยับไปทำงานเขียนก็คงได้
แต่นักเขียนเก่งๆที่ไม่เคยทำงานแปลมาก่อน อยู่ดีๆมาเริ่มแปลก็ลำบากเหมือนกัน เพราะทักษะการแปลมันมีรายละเอียดปลีกย่อยหยุมหยิม ให้ปวดหัว มากๆ
จากสถิติที่เรารวบรวมในการแปลอังกฤษ-ไทย กับ ไทย-อังกฤษ มาหลายปี นะ พบอะไรที่น่าทึ่งมากๆ นั่นก็คือ
เวลาแปลอังกฤษเป็นไทย เรารู้สึกเหมือนกับว่าพยายามเรียนรู้ให้เท่าทันคนเขียน เพราะโครงสร้างภาษาอังกฤษมันแข็งแรงกว่าโครงสร้างภาษาไทยมากๆ บางทีจะสื่อให้ครบถ้วนตามต้นฉบับไม่ขาดไม่เกินกลายเป็นโครงสร้างภาษาไทยพังทลายกลางคัน "ทำไม่ได้" ต้องซอยออกไปเป็นประโยคเล็กๆน้อยๆกระจุยกระจาย และตรรกฝรั่งเจ้าของภาษาที่เขียนหนังสือหรือเอกสารอย่างเป็นทางการ เราหาข้อบกพร่องไม่ค่อยจะเจอ ถ้าเราไม่เข้าใจกลายเป็นว่า "เราต้องพยายามเรียนรู้ตามคนเขียน"
แต่ในทางกลับกันเวลาแปลไทยเป็นอังกฤษ เรามีความรู้สึกเหมือนกับว่า ต้องเอาประโยคที่กระจุยกระจายมาสลับตำแหน่ง และเรียงเป็นประโยคยาวๆ ซึ่งต้องใช้ punctuation ให้แข็งแรงเพื่อประโยคมันจะได้ไม่ดูทื่อๆเหมือนแปลเรียงตัวมา เท่านั้นไม่พอ ยังต้องไปตามแก้ไขข้อผิดพลาดในเชิงตรรกะ (logical flaws) ให้คนเขียนภาษาไทยตั้งมากมาย ซึ่งข้อผิดพลาดเหล่านั้นถ้าอ่านผ่านๆตาจะมองไม่เห็นแต่ถ้าเริ่มลงมือแปลมันจะสร้างปัญหาอย่างแรงเพราะ "มันทำให้สร้างประโยคภาษาอังกฤษไม่ได้" คนที่เขียนภาษาอังกฤษเก่งระดับเทพถ้าไปเจอภาษาไทยปราบเซียนแบบนี้แปลออกมาก็ภาษาอังกฤษอ่านไม่รู้เรื่อง แต่นักแปลที่ชำนาญมากๆจะแก้ logical flaws ของคนเขียนภาษาไทยได้ก่อนที่จะแปลเป็นอังกฤษ
จะให้ดู classic example ซึ่งเราเอามาจากงานแปลจริงๆที่เคยทำเมื่อหลายปีมาแล้ว จะเห็นได้ว่าภาษาไทยแบบนี้ถ้านักแปลไม่เป็นนกรู้ แปลออกมาภาษาอังกฤษก็อ่านไม่เป็นภาษาคน
ตกลง สิ่งที่จะจัดการกับ inconsistencies แบบนีได้ มันไม่ใช่ทักษะการเป็นนักเขียน แต่มันเป็นวิชา logic
Source text (ภาษาต้นทาง): การสอบสวนชันสูตรพลิกศพเป็นความตายมิได้เป็นผลแห่งการกระทำผิดทางอาญา เห็นควรดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรคแรกต่อไป
This is a verbatim translation (นี่เป็นการแปลตรงตัว) Target text (ภาษาปลายทาง): Investigation autopsy are death not caused by criminal acts. Should proceed according to Criminal Procedure Code of Thailand, Section 150, First Paragraph in due course.
อ่านไม่รู้เรื่อง ใช่มะล่ะ .....จริงๆแล้วประโยคภาษาไทยก็ผิดพลาดในเชิงตรรกะ แต่นักแปลแกล้งโง่เองนั่นแหละ (คือแกล้งแปลตรงตัวตามภาษาไทย ทำให้นอกจากจะอ่านไม่รู้เรื่องแล้วยังกลายเป็นสร้าง syntactic errors in the writing of second language learners เหมือนๆที่นักแปลก๋วยเตี๋ยวเรือชอบแปลมาเพราะรีบทำจำนวนหน้าจนพลิกตำราภาษาอังกฤษไม่ทันนั่นแหละ
The influence of the Thai language is so great, hence the English translation has turned out to be absolute nonsense.
เนื่องจาก "การสอบสวนชันสูตรพลิกศพ" ไม่ใช่ "เป็นความตาย" คนเขียนพูดโกหก แต่คนไทยหลายๆคน ไม่มีใครท้วงติงเพราะต่างก็บิดสมองทำความเข้าใจประโยคแบบนี้มาตั้งแต่เล็กจนโต ...ดังนั้นประโยคภาษาไทยที่มี inconsistencies คนไทยยังถือว่า (จริงๆแล้วต้องพูดว่า "หลงคิดว่า") มี consistencies
Try again (ลองใหม่) Source text (ภาษาต้นทาง): การสอบสวนชันสูตรพลิกศพเป็นความตายมิได้เป็นผลแห่งการกระทำผิดทางอาญา เห็นควรดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรคแรกต่อไป
Target text (ภาษาปลายทาง): The investigation and (ภาษาไทยตกคำว่า "และ") autopsy revealed that (ภาษาไทยตกคำว่า "แสดงให้เห็นว่า") such death was not caused by any criminal acts. It is therefore appropriate that the case be dealt (ภาษาไทยคำว่า "เห็นควรดำเนินการ" มีความเลอะเลือนอยู่ในตัว นักแปลจึงต้องทำให้มันหายเลอะเลือน) with pursuant to Paragraph One, Section 150, Criminal Procedure Code of Thailand.
ตกลงเป็นอันว่า translation from Thai into English มักลงเอยด้วยการ"แปลง" เพราะถ้าไม่ "แปลง" บางทีเคราะห์หามยามซวย (ไม่รู้ใครซวย) เจอเอกสาร 500 หน้า มีแต่ประโยคที่คน (ไทย) เขียนพูด "โกหก" หรือพูดเรื่องที่ "เป็นไปไม่ได้" หน้าละ 2-3 ประโยค (ความถี่ขนาดนี้นับว่าเป็นเรื่องปกติของการเขียนหนังสือของคนไทยทั่วๆไป) ....หากนักแปลๆจบโดยไม่แปลง ผลงานแปล (translation) ต้องเอาไปทิ้งถังขยะสถานเดียว....!!!
^ การเขียนประโยคภาษาไทยในลักษณะที่ พอคิดลึกๆ (แบบที่ทำให้ดูใน classic example ข้างบนนี้) แล้ว "มันเป็นไปไม่ได้ เพราะผิดหลักเหตุผล" เป็นศัตรูตัวฉกาจของนักแปลไทยเป็นอังกฤษ หรือนักแปลไทยเป็นภาษาอื่น เพราะว่าขนาดคนมีชื่อเสียงดังๆและมีความรู้สูงๆก็เขียนภาษาไทยหลุดๆแบบนี้กันมากมาย (นับจากสถิติที่เจอมาในการแปลไทยเป็นอังกฤษเกินกว่า 15 ปี) ในขณะที่เราหาภาษาอังกฤษหลุดๆแบบนี้ไม่ค่อยจะเจอเลย (จริงๆแล้วไม่เคยเจอเลยในเอกสารที่เป็นทางการ!)
ดังนั้น หนึ่งในทักษะการแปลไทยเป็นอังกฤษ ก็คือ "จับผิดภาษาไทย"
เอามาจากกระทู้เก่าอันนี้ http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/06/K9353525/K9353525.html
แก้ไขเมื่อ 25 พ.ค. 55 16:41:14
จากคุณ |
:
fortuneteller
|
เขียนเมื่อ |
:
25 พ.ค. 55 16:33:32
|
|
|
|
 |