 |
แต่หากย้อนมาดูประเทศไทย
ข้าวจัดเป็นสินค้าที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ ในปี ค.ศ. 2010 ประเทศไทยส่งออกข้าวมีมูลค่าสูงถึง 5,399 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งในตลาดโลกร้อยละ 47.41 เป็นอับดับ 1 ของโลก ข้าวมีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ30.8 ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร และคิดเป็นร้อยละ3.3 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมด และข้าวยังเป็นอาหารหลักของคนไทย รวมทั้งเป็นแหล่งรายได้ให้กับชาวนาไทยกว่า 3.7 ล้านครัวเรือน
(ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้า, 2554)
การพัฒนากลไกตลาดข้าว ให้มีความเข้มแข็งเพื่อใช้เป็นฐานในการรองรับตลาดข้าวเสรีก็ถูกทำลายด้วยนโยบายประกันรายได้ขั้นต่ำ และนโยบายการรับจำนำข้าวซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้อยู่ในรัฐบาลปัจจุบัน โดยการรับจำนำข้าวนั้นใช้วิธีรับซื้อข้าวจากเกษตรกรโดยให้ราคาข้าวขาวตันละ 15,000 บาท ข้าวหอมมะลิ 20,000 บาท และข้าวเหนียว 18,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงมากและแพงกว่าราคาตลาดเกือบเท่าตัว ทำให้ราคาส่งออกข้าวของประเทศไทยแพงกว่าประเทศอื่นๆ อีกทั้งราคารับจำนำข้าวที่แพงยังนำไปสู่การลักลอบนำเข้าข้าวเปลือกซึ่งด้อยคุณภาพเพื่อมาสวมสิทธิทำให้เกิดความเสียหายอีกด้วย
นอกจากนี้นโยบายดังกล่าวยังทำร้ายเกษตรกรไทยและโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรในระยะยาว กล่าวคือนโยบายรับจำนำข้าวก็มีช่องว่างที่ทำให้โรงสีบางโรงโกงรัฐบาล ด้านนโยบายประกันรายได้ เกษตรกรบางคนก็โกงรัฐบาล นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างนิสัยขี้เกียจให้กับเกษตรกรบางคนที่ขี้เกียจอยู่แล้วให้ขี้เกียจมากขึ้นอีก ไม่สนใจที่จะพัฒนาอาชีพของตนเอง ปลูกพืชแล้วปล่อยตามยะถากรรม ไม่ดูแลรักษาผลผลิต ในขณะที่ประเทศเวียดนาม กัมพูชา พม่า และลาว ไม่มีนโยบายด้านราคา แต่มีมาตรการส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาเช่าพื้นที่ทำนาในประเทศของตน
ด้านงบประมาณการวิจัยข้าว งบประมาณในการวิจัยของไทยอยู่ในระดับต่ำโดยคิดเป็นร้อยละ 0.25 ต่อ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยในปี ค.ศ.2011 งบประมาณด้านการการวิจัยของ ญี่ปุ่นอยู่ที่ 3.3 เกาหลีใต้อยู่ที่ 3.0 สิงคโปร์อยู่ที่ 2.2 จีนอยู่ที่ 1.4 อินเดียอยู่ที่ 0.9 และ มาเลเซีย อยู่ที่ 0.69 ต่อ GDP
จากตัวเลขกรมการข้าวในปี ค.ศ 2010 ปรากฏว่างบวิจัยของไทยอยู่ที่ 175,194,200 บาท และหากรวมงบประมาณวิจัยจากแหล่งอื่นๆ อีกรวมแล้วไม่เกิน 200 ล้านบาท หากเทียบกับเวียดนามในปี ค.ศ 2010 รัฐบาลเวียดนามประกาศเพิ่มงบประมาณวิจัยข้าวทุกๆด้านเป็นเงินถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นมูลค่าประมาณ 3,000 ล้านบาท เพื่อแย่งชิงโอกาสในการเปิดตลาดข้าวเสรีให้เป็นของเวียดนาม (สมพร อิศวิลานนท์, 2553)
จากคุณ |
:
atk
|
เขียนเมื่อ |
:
3 มิ.ย. 55 16:19:14
|
|
|
|
 |